สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
สัญลักษณ์ของสมาคมภาษาไทย | |
ชื่อย่อ | สวสท. / RAST |
---|---|
ก่อตั้ง | 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 |
ประเภท | สมาคม |
ที่ตั้ง |
|
ภาษาทางการ | ภาษาไทย |
นายกสมาคม | จักรี ห่านทองคำ, HS1FVL |
สังกัด | IARU |
เว็บไซต์ | https://www.rast.or.th/ |
สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชุปถัมภ์ (อังกฤษ: Radio Amateur Society of Thailand under The Royal Patronage of His Majesty The King: RAST) เป็นองค์กรวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2506
ประวัติ
[แก้]สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นมาโดยบุคคล 6 ท่าน คือ
- พ.ท. กำชัย โชติกุล จเรทหารศูนย์การทหารปืนใหญ่ และหัวหน้าสถานีวิทยุศูนย์การบินทหารปืนใหญ่ ลพบุรี
- นายเสงี่ยม เผ่าทองศุข รองอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข
- นายโยนัส เอ็ดดี้ หรือ อมฤทธิ์ จิรา เจ้าของบริษัท ยี.ซีมอน เรดิโอ จำกัด
- นายโรเบิร์ต อี เลียว สถาบันค้นคว้าและวิจัยแสตนปอร์ด
- นายแฟรงค์ เอ. ฟิลิปส์ เจ้าหน้าที่คณะทูตทหารอเมริกัน
- ร.อ. เคนเนธ เอ็ม. ไอริช จูเนียร์ เจ้าหน้าที่คณะทูตทหารอเมริกัน
ได้ยื่นขอจดทะเบียนสมาคมตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 ใบอนุญาตเลขที่ ค. 99/2507 ต่อมาได้ยื่นขอจดทะเบียนนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต่อกรมตำรวจ เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2507 เป็นนิติบุคคลเลขที่ จ. 843 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 จากกองบังคับการตำรวจสันติบาล และได้รับการกำหนดให้เป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรตามประมวลรัษฎากร ลำดับที่ 555 เมื่อปี พ.ศ. 2547[1]
นับแต่ก่อตั้งได้เข้าเป็นสมาชิกของ สหภาพวิทยุสมัครเล่นสากลหรือ IARU แต่ยังมิได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่ได้รับอนุญาตให้มีกิจการวิทยุสมัครเล่นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย พนักวิทยุยังมิได้มีการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นอย่างถูกต้องในประเทศไทย
มีการพบปะสังสรรค์กันทุกสัปดาห์ที่โรงแรมโอเรียลเต็ล ในนามชื่อย่อ RAST มีจำนวนสมาชิกทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาร่วมเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังมิได้รับการรับรองจากหน่วยงานของทางราชการ เนื่องจากขณะนั้นประเทศไทยกำลังอยุ่ในสภาวะฉุกเฉินของสงครามเวียดนาม และการก่อการร้ายในประเทศไทย แต่การดำเนินงานของสมาคมคงเป็นไปอย่างปกติ ได้ย้ายสถานที่ประชุมจากโรงแรมโอเรียลเต็ลมาเป็นโรงแรม เอราวัณซึ่งเป็นโรงแรมของรัฐบาล ดำเนินการโดย พล.ท. เฉลิมชัย จารุวัสตร์ ซึ่งรู้จักคุ้นเคยกับ พ.อ. กำชัย เป็นอย่างดี
กิจการวิทยุสมัครเล่นในหลายสมัยที่ พ.อ. กำชัย ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมติดต่อกันเป็นเวลากว่าสิบปีดำเนินไปด้วยดี โดยมิได้รับการตำหนิหรือท้วงติงจากทางราชการที่เกี่ยวข้องแต่ประการใด ในระยะเวลานั้นทางสมาคมฯ ได้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุม SEANET ที่โรงแรมเอราวัณ ถึง 2 ครั้ง และงานสำคัญอื่นๆ เกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่นในภูมิภาคเอเชียอีกหลายครั้งอย่างต่อเนื่องด้วยความเรียบร้อยทุกประการ
ที่ตั้ง
[แก้]ที่ทำการของนายกสมาคม 251/206 สัมมากร 58 ถนนรามคำแหง เขตสะพานสูง กทม 10240 หรือที่อยู่ที่ติดต่อทางไปรษณีย์ คือ ตู้ ปณ. 2008 กรุงเทพฯ 10501 (P.O.Box 2008 Bangkok 10501 Thailand)
โครงสร้าง
[แก้]สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้ระบุโครงสร้างขององค์กรไว้บนหน้าเฟสบุ๊กแฟนเพจ ประกอบไปด้วยส่วนงานดังนี้
- คณะกรรมการสมาคม
- คณะที่ปรึกษาสมาคม
- สำนักงานเลขาธิการ
- คลับสเตชั่น HS0AC
- AREC
- JAISAT
- สำนัก QSL
- YOTA
- วิเทศน์สัมพันธ์
- การศึกษา
คลับสเตชั่น HS0AC
[แก้]สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชุปถัมภ์ มีสถานีคลับสเตชั่นชื่อว่า HS0AC[2] ใช้ในการทดสอบสัญญาณ[3] การออกอากาศในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เช่น ในวันวิทยุสมัครเล่นโลก[4] และการแข่งขันระดับประเทศ การแข่งขันระหว่างประเทศในทุกความถี่ที่อนุญาตให้นักวิทยุสมัครเล่นได้ใช้งาน อาทิ CQ World Wide VHF Contest[5], CQ World Wide WPX Contest[6] การติดต่อทางไกล (DX) รวมถึงการฝึกฝนและพัฒนาสมาชิกนักวิทยุสมัครเล่นของสมาคม
เครือข่ายอาสาสมัครสื่อสารฉุกเฉิน AREC
[แก้]เครือข่ายอาสาสมัครสื่อสารฉุกเฉิน (Amateur Radio Emergency Communications: AREC) เป็นเครือข่ายในการสื่อสารของนักวิทยุสมัครเล่นในช่วงเวลาเกิดภัยพิบัติ โดยคณะกรรมการจะจัดทำแผนในการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ รวมถึงเป็นตัวกลางในการประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการบรรเทาช่วยเหลือภัยพิบัติเหล่านั้น และเตรียมความพร้อมนักวิทยุสมัครเล่นให้สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้ผ่านเครือข่ายสื่อสารฉุกเฉินของวิทยุสมัครเล่น
สำหรับความถี่ฉุกเฉินในการสื่อสารสากลที่สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยเตรียมพร้อมเฝ้าฟัง ย่าน HF คือ 7.128 MHz[7] และย่าน VHF คือ 145.000 MHz[8] เรียกขานสถานี HS0AC
ดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น JAISAT
[แก้]ดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น JAISAT ย่อมาจาก Joint Academy for Intelligent Satellites for Amateur Radio of Thailand-1[9] พัฒนาโดยวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ นักวิทยุสมัครเล่น ภายใต้การสนับสนุนจาก กสทช. ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศโดยจรวดโซยุส-2 (Soyuz-2) ในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เวลา 05:41:46 ตามมาตรฐานสากล (GMT)
สำหรับบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นของสมาคมฯ ประกอบไปด้วยจากดำเนินการสร้างดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นดวงต่อไป ตรวจสอบและรับรองให้กับผู้ร้องขอการใช้งานดาวเทียมเพื่อทวนสัญญาณและการสื่อสารอื่น ๆ สนับสนุนการพัฒนาด้านอวกาศและดาวเทียมให้กับนักวิทยุสมัครเล่นสมาชิกและในประเทศ
สำนักบัตรยืนยันการติดต่อ
[แก้]สำนักบัตรยืนยันการติดต่อ (QSL Bureau) มีหน้าที่ในการรับส่งบัตรยืนยันการติดต่อ ตรวจสอบการติดต่อสื่อสารในการขึ้นรางวัลให้กับนักวิทยุสมัครเล่น[10] (DXCC Checker) รวมถึงการเป็นผู้ประสานงานในการแข่งขันต่าง ๆ (Contest coordinator)
Youngsters On The Air: YOTA
[แก้]คณะกรรมการ Youngsters On The Air: YOTA ประเทศไทย มีหน้าที่ในการร่วมสนับสนุนเด็กและเยาวชนในการใช้งานและออกอากาศวิทยุสมัครเล่นผ่านการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันกับสถานศึกษา ให้ทดลองออกอากาศและใช้งานวิทยุสมัครเล่น รวมไปถึงการจัดสอบเพื่อเป็นพนักงานนักวิทยุสมัครเล่นร่วมกันกับสถานศึกษา เพื่อเสริมสร้างบุคลากรด้านการสื่อสารในกิจการวิทยุสมัครเล่นให้มากขึ้น
วิเทศน์สัมพันธ์
[แก้]ส่วนวิเทศสัมพันธ์ มีหน้าที่ในการร่วมประชุมกับสหภาพวิทยุสมัครเล่นนานาชาติ การเทียบใบอนุญาตนักวิทยุสมัครเล่นของต่างประเทศและของไทยว่าสามารถเทียบโอนได้เท่ากับขั้นใด คลาสใด การประสานงานกับสมาคมวิทยุสมัครเล่นต่าง ๆ ในต่างประเทศ และรับเรื่องร้องเรียนในกรณีระหว่างประเทศ
การศึกษา
[แก้]คณะกรรมการด้านการศึกษา จะดูแลในด้านของการฝึกอบรม การจัดสอบพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต่าง ๆ ของประเทศไทย และการสอบพนักงานวิทยุสมัครเล่นของสหรัฐอเมริกา (US Exam) เพื่อเทียบใบอนุญาต การเผยแพร่ความรู้ต่าง ๆ ในกิจการวิทยุสมัครเล่น สนับสนุนงานด้านวิชาการ และนวัตกรรมต่าง ๆ
คณะกรรมการ ปัจจุบัน
[แก้]สัญญาณเรียกขาน | ชื่อ-นามสกุล | ตำแหน่ง |
---|---|---|
HS1FVL | นายจักรี ห่านทองคำ | นายกสมาคม |
อดีตนายก
[แก้]สัญญาณเรียกขาน | ชื่อ-นามสกุล | ปี พ.ศ. |
---|---|---|
HS2JFW | นายพรชัย เสมแจ้ง | 2557 - 2559 |
HS1QVD | นายชัยยง ว่องวุฒิกำจร | 2549 - 2557 |
HS1YL | นางมยุรี โชติกุล | 2535 - 2549 |
HS1HB | นายวิกรม บุญยัษฐิติ | 2533 - 2534 |
HS1SS | นายศรีภูมิ ศุขเนตร | 2530 - 2531 |
HS1WB | นายจำนงค์ ภิรมย์ภักดี | 2527 - 2530 |
HS1KV | ดร.รชฎ กาญจนวนิช | 2526 - 2527 |
HS1NG | ดร.กัญจน์ นาคามดี | มิ.ย. - ธ.ค. 2525 |
HS1WR | พ.อ. (พิเศษ) กำชัย โชติกุล | 2510 - 2525 |
HS1HJA | นายสุรเดช วิเศษสุรการ | 2507 - 2510 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 259)
- ↑ "RAST - HS0AC Clubstation". www.rast.or.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-17. สืบค้นเมื่อ 2022-04-18.
- ↑ Cyber @net2010, Cat (2010-10-22). "....Madoo-Blog Thailand: สับสนกับวิทยุสมัครเล่น Byคุณ สับสน ณ ๑๐๐ วัตต์". ....Madoo-Blog Thailand.
- ↑ "วันวิทยุสมัครเล่นโลกวันที่ 18 เมษายน 2019". บริษัท เอ็ทมี่ เอเชีย จํากัด.
- ↑ "CQ World Wide VHF Contest". www.e21eic.net.
- ↑ NT5DX, HS7WMU also (2015-11-24). "เรื่องเล่าจาก E2A ริมเล เพชรบุรี". i am Watcharapath HS7WMU Ham Radio.
- ↑ "Report from Thailand / RAST will host the IARU Region 3 Conference 2021 online in September, etc.|Jul.2021 - Monthly FB NEWS". www.fbnews.jp.
- ↑ "กิจการวิทยุสมัครเล่น (Amateur Radio Service)". www.tapee.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-20. สืบค้นเมื่อ 2022-04-19.
- ↑ E20ae (วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2562). "ชมรมวิทยุสมัครเล่น E20AE Clubstation: ดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น JAISAT-1 ขึ้นสู่อวกาศ". ชมรมวิทยุสมัครเล่น E20AE Clubstation.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "กิจกรรมการพบปะสังสรรค์ประจำเดือนตุลาคม 2555 - RAST". sites.google.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-19. สืบค้นเมื่อ 2022-04-19.