ข้ามไปเนื้อหา

สมาคมธรรมประทีป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมาคมธรรมประทีป หรือ ศูนย์ผู้ปฏิบัติธรรพุทธศาสนานิชิเร็นโชชู ประเทศไทย (อังกฤษ : Thailand Buddhist Nichiren Shoshu Association, Dharma Pradip Association) เป็น ศูนย์ผู้นับถือศาสนาและสมาคมผู้ปฏิบัติศาสนาพุทธนิกายนิชิเรนโชชู แห่งประเทศไทย ก่อตั้งโดย พิภพ ตังคณะสิงห์ ในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2514 โดยเป็นหนึ่งใน 6 องค์กรสมาคมผู้นับถือนิกายนิชิเรนโชชูในประเทศไทยที่ขึ้นตรงต่อวัดใหญ่ไทเซขิจิ ซึ่งสมาคมธรรมประทีปถือเป็นองค์กรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย (ไม่นับสมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย ที่ได้ถูกคว่ำบาตรจากทางวัดใหญ่) สมาคมนี้เป็นศูนย์ภาคีองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) อันดับที่ 109

การก่อตั้งสมาคม

[แก้]

พ.ศ. 2505 พิภพ ตังคณะสิงห์ ผู้อำนวยการและเจ้าของโรงเรียนสากลการบัญชี ได้สังเกตเห็นเพื่อนบ้านที่เป็นชาวต่างชาติเป็นชาวไต้หวันชื่อ มิสเตอร์พัว (พัวกิมจุง) และเพื่อนประมาณ 10 กว่าคน ซึ่งในขณะนั้นเป็นสมาชิกของสมาคมสร้างคุณค่า (โซคา งักไก) มักจะมารวมตัวกันเพื่อสวดมนต์ จึงเกิดความสงสัยและสอบถามรายละเอียด จนได้ทราบว่า เป็นการสวดมนต์ฝ่ายมหายาน เป็นศาสนาพุทธ อย่างไรก็ตามรายละเอียดนั้นไม่สามารถสื่อการกันได้มากนัก เนื่องจากมิสเตอร์พัวพูดภาษาอังกฤษไม่คล่องแคล่วนัก

ต่อมาได้พาชาวต่างชาติชาวอเมริกันมาขอพบพิภพ ตังคณะสิงห์ เพื่อเล่าความเป็นมาของ พุทธศาสนานิชิเร็นโชชู ให้อาจาร์ยฟัง ส่งผลให้อาจารย์เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับทราบเรื่องราวต่าง ๆ ของนิกายนี้ อย่างไรก็ตาม พิภพมิได้ตกลงปลงใจเชื่อในหลักคำสอนนี้ในทันที ในเวลาต่อมาได้ศึกษาหาความรู้จากหนังสือต่าง ๆ รวมถึงสอบถามจากพระเถระที่มีความรู้ แต่ก็ยังไม่กระจ่างจนในที่สุด พิภพจึงได้เข้าไปสืบค้นข้อมูลที่ หอสมุดแห่งชาติ และที่นี้นี่เองพิภพจึงได้พบรายละเอียดของนิกายนี้ พิภพจึงได้เริ่มปฏิบัติธรรมนิกายนิชิเร็นโชชูเป็นคนแรก และได้ทำการชักชวน คุณธนิษฐา พูลสมบัติ ผู้เป็นภรรยามานับถือด้วย ซึ่งถือเป็นศิษย์คนแรกของอาจารย์ ในเวลาต่อมาได้มีสมาชิกผู้นับถือมากขึ้น พิภพได้มีความคิดที่จะสร้างความเป็นผึกแผ่นของผู้นับถือจึงพยายามจะขอจดทะเบียนสมาคม จึงได้มีการเดินทางไปพบกับเพื่อนเก่าของพิภพ เช่น สัญญา ธรรมศักดิ์, สุนทร หงส์ลดารมภ์, ประดิษฐ์ ลีวีระวงศ์ และอีกหลายคน เนื่องจากในสมัยนั้นการจดทะเบียนสมาคมเป็นเรื่องยาก หากไม่มีบุคคลทางราชการรับรอง

สมาคมธรรมประทีปได้ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2514 จากนั้นการเผยแผ่ธรรมก็เริ่มขึ้นอย่างจริงจังและมีแบบแผน มีสมาชิกเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ดร. พิภพได้ปฏิเสธตำแหน่งนายกสมาคม และได้มอบตำแหน่งให้แก่นายประสิทธิ์ พรรณรัตน์ ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน

แน่นอนว่ามากคนก็มากความ ในภายหลังได้เกิดกรณีขัดแย้งกันระหว่าง พิภพและผู้ดูแลสมาชิกที่ส่งมาจากประเทศญี่ปุ่น (ยิมูโจ) ทำให้สมาชิก 8 เขตในสมัยนั้น (ทั้งหมดมี 9 เขต) ตัดสินใจแยกตัวออกมาก่อตั้งเป็นสมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย ส่งผลให้สมาคมธรรมประทีปต้องย้ายสำนักงานที่ตั้งมาอยู่ที่เขตคลองเตยและบางไผ่ตามลำดับ

คณะกรรมการบริหาร

[แก้]

คณะบริหารสมาคม

[แก้]
  • ประภาพร วณวิทย์ - นายกกรรมการ
  • อังสนา กอวีรสกุลชัย - อุปนายกและเหรัญญิก
  • พลัง จักรมงคลชัย - อุปนายก
  • ธนิษฐา พูลสมบัติ - เลขานุการ
  • นิพนธ์ จารึกสุวรรณ - ฝ่ายรายได้
  • ดรุณี ศรีชนะ - กรรมการ
  • ชินวัฒน์ ปิยะเวชการ - ฝ่ายสันทนาการและสังคมสงเคราะห์

คณะสงฆ์ที่รับผิดชอบ

[แก้]
  • พระคุณเจ้าชิวโดะ อิจิริ - หัวหน้าคณะ
  • พระคุณเจ้าเรียวจุ โฮริซาวา

ในอดีต

  • พระคุณเจ้าไดโดะ นากาโมโตะ - ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดของนิชิเร็นโชชู ในประเทศญี่ปุ่น
  • พระคุณเจ้าโคเมอิ ซาโตะ
  • "พระคุณเจ้าโชกุ คิมูระ"
  • "พระคุณเจ้าชินโดะ โนมูระ"
  • "พระคุณเจ้าชตสึ โนมูระ" - ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดในประเทศสิงคโปร์

ศาสนกิจผู้บรรยายธรรม

[แก้]
  • อังศนา งามศิลปเสถียร
  • นันทนา ชัยรัตนวัฒน์
  • พจนีย์ ชัยรัตนวัฒน์
  • ดรุณี ศรีชนะ
  • สุวัจชัย บุญศิริวิบูลย์

พิธีกรรม กิจกรรมของสมาคม

[แก้]

ในปัจจุบันสมาคมธรรมประทีป ตั้งอยู่ที่เลขที่ 50 ถนนเพชรเกษม แขวงปากคลอง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ซึ่งสมาชิกผู้นับถือจะมาทำกิจกรรมร่วมกันในทุก ๆ วันพฤหัสบดี เสาร์ และ อาทิตย์ โดยจะมีกิจกรรมหลัก ๆ ดังนี้

  • การสวดมนต์เย็น และศึกษาธรรม (วันเสาร์ 19.00 น. - 20.30 น.)
  • การสวดมนต์เช้า และศึกษาธรรม (วันอาทิตย์ 10.00 น. - 11.30 น.)
  • การสวดมนต์เพื่อสันติสุขโลก (วันพฤหัสบดี 19.00 น. - 20.30 น.)

นอกเหนือจากนี้ยังมีพิธีกรรมต่าง ๆ ที่จะกระทำโดยพระสงฆ์ที่ถูกส่งมาจากวัดใหญ่ไทเซขิจิ ในประเทศญี่ปุ่น อาทิเช่น

โดยที่สมาคมธรรมประทีปนี้จะมี พระสงฆ์ นิกายนิชิเรนโชชู เดินทางมาจาก วัดใหญ่ไทเซขิจิที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นประจำเพื่อประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ

ภายในสมาคม

[แก้]

อาคารสมาคมธรรมประทีปมีทั้งหมด 4 ชั้น มีห้องพระที่ประดิษฐาน โงะฮนซน ทั้งหมด 3 ห้อง

ชั้น 1

[แก้]

ชั้น 1 ของสมาคมธรรมประทีป นั้นเป็นโรงอาหารห้องครัวและลานจอดรถ และมีบริการเครื่องดื่มให้แก่สมาชิก ส่วนนี้ยังเป็นจุดชุมนุมของสมาชิกอีกด้วย

ชั้นลอย

[แก้]

บริเวณชั้นลอยของสมาคมธรรมประทีปนั้น จะประกอบด้วย ห้องยุวชน ห้องธุรการ ซึ่งให้บริการสำหรับการรับบริจาคให้แก่สมาคม หรือการบริจาคให้แก่วัดใหญ่ไทเซขิจิ ที่ประเทศญี่ปุ่น รวมถึงยังมีการวางขายอุปกรณ์ เครื่องบูชาต่าง ๆ เช่น ตู้พระ(บุทสึดน, Altar) กระถางธูป เชิงเทียน เทียน ธูป รวมไปถึง คัมภีร์ และ ลูกประคำที่ใช้ในการสวดมนต์ด้วย ซึ่งลูกประคำทั้งหมดของสมาคมนั้นได้ผ่านพิธีเปิดเนตรจากวัดใหญ่ไทเซขิจิแล้วทั้งสิ้น โดยบทสวดมนต์นั้นจะมีวางขายเป็นภาษาไทย และภาษาจีน และยังมีวางจำหน่ายหนังสือธรรมต่าง ๆ ซึ่งประพันธ์โดย พิภพตังคณะสิงห์ อีกด้วย อาทิเช่น หนังสือประวัติของพระนิชิเร็นไดโชนินเป็นต้น ห้องธุรการยังเป็นจุดจำหน่ายจุลสารของสมาคมอีกด้วย ถัดจากห้องธุรการไปก็จะมีห้องพระชั้นลอย จำนวน 60 ที่นั่ง ซึ่งใช้ในการศึกษาธรรมของสมาชิกกลุ่มยุวชน และของสมาชิกกลุ่มก้าวหน้า

ชั้น 2

[แก้]

ชั้นสองนั้นประกอบได้ด้วย ห้องประชุมต่าง ๆ รวมถึงห้องเกี่ยวกับคณะบริหารของสมาคม และมีห้องน้ำและห้องครัวอีกด้วย เมื่อมีการประชุมของคณะกรรมการบริหาร หรือการประชุมผู้นำ 6 องค์กร ของนิชิเร็นโชชู ประเทศไทย ก็จะมีการจัดประชุมกันที่ชั้นนี้ และเมื่อพระสงฆ์เดินทางมาประกอบพิธีกรมต่าง ๆ ก็จะใช้ชั้นนี้เปนห้องรับรองพระสงฆ์อีกด้วย ในชั้น 2 นี้มีห้องพระชั้น 2 ซึ่งเป็นตู้พระขนาดใหญ่ทำจากไม้ และประดิษฐานโงะฮนซนของพิภพเป็นโงะฮนซนองค์แรกของประเทศไทย จารึกโดยประมุขสงฆ์ลำดับที่ 66 พระนิตตัสสึ โชนิน สังเกตด้านข้างของโงะฮนซน มีชื่อของพิภพอยู่ทางด้านซ้ายมือ

ชั้น 3

[แก้]

ชั้น 3 ของสมาคมธรรมประทีปนั้นเป็นห้องพระใหญ่ ซึ่งสามารถจุจำนวนสมาชิกได้เกินกว่า 100 ที่นั่ง ห้องพระชั้น 3 นี้จะใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ทุกพิธีของสมาคม อาทิเช่น พิธีรับพระ-รับศีล พิธีแต่งงาน พิธีโทบะ หรือการสวดมนต์ปฏิบัติธรรมเช้า-เย็น รวมไปถึง การสวดมนต์เพื่อสันติสุขโลก(โชได) อีกด้วย และยังเป็นห้องสำหรับศึกษาธรรมอีกด้วย ในห้องพระชั้น 3 นี้มีตู้พระขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย รวมไปถึงโงะฮนซนองค์ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยประดิษฐานอยู่ (ไม่นับรวมสมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย) ภายในตู้พระ(บุตสึดัน, Altar) สีทองขนาดใหญ่ ทำจากทองคำเปลว ที่ทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในการเปิด-ปิดตู้พระด้วยรีโมทซึ่งผู้นำสวดจะเป็นผู้กดเพื่อเปิด-ปิด สมาชิกไม่มีสิทธิที่จะเปิด-ปิดด้วยตนเอง ด้วยเหตุผลที่ว่า โงะฮนซนจะต้องถูกเก็บรักษาอย่างดีภายในไคดันที่สะอาดบริสุทธิ์

ชั้น 4

[แก้]

ภายในชั้น 4 ของสมาคมธรรมประทีปนั้น จะเป็นห้องพักสำหรับรับรองสมาชิกที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด หรือสมาชิกที่มีความประสงค์จะพักที่สมาคมอาจด้วยเนื่องปัญหาด้านสุขภาพ หรือการเดินทาง

สิ่งพิมพ์ของสมาคม

[แก้]

สมาคมธรรมประทีปมีการตีพิมพ์จุลสารของสมาคม ซึ่งภายในจุลสารนั้นประกอบไปด้วยหลักธรรมของพระนิชิเรนไดโชนิน และ เกร็ดความรู้ต่าง ๆ รวมไปถึงตารางการศึกษาธรรมและกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมเพื่อแจ้งข่าวสารให้สมาชิกทราบถึงความเป็นไปของศาสนจักรและของสมาคม จุลสารธรรมประทีปนั้นจะมีจำหน่ายที่ ห้องธุรการชั้นลอย ของสมาคม และในเขตสาขาต่าง ๆ ของสมาคมทั้ง 5 เขต โดยจะออกวางจำหน่ายทุก ๆ 2 เดือน ปีละ 6 เล่ม โดยในอดีตจะมีชื่อเรียกจุลสารสมาคมว่า "บัวขาว"

การแบ่งกลุ่มสมาชิก

[แก้]

สมาชิกผู้ปฏิบัติธรรมของสมาคมธรรมประทีปถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

  • กลุ่มยุวชน - ประกอบด้วยเด็กและเยาวชน รวมถึงวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่อายุไม่มาก
  • กลุ่มก้าวหน้า - ประกอบด้วยสมาชิกผู้ใหญ่ชาย
  • กลุ่มราชพฤกษ์ - ประกอบด้วยสมาชิกผู้ใหญ่หญิง

เขตสาขาของสมาคม

[แก้]

สมาคมธรรมประทีปนั้นจะมีการแบ่งการดูแลสมาชิกเป็นเขต ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการดูแลจัดการสมาชิกและเผยแผ่ธรรม ซึ่งเขตสาขาเหล่านี้จะมีหัวหน้าเขตคอยดูแลสมาชิกในเขต และประสานงานระหว่างสมาชิกกับสมาคมในกรณีที่สมาชิกต้องการจะประกอบพิธีรับพระรับศีล หรือพิธีแต่งงาน รวมไปถึงพิธีต่าง ๆ และทุก ๆ สัปดาห์จะมีการประชุมศึกษาธรรม ณ เขตสาขาต่าง ๆ อีกด้วย โดยอาจาร์ยธรรมมะของสมาคมจะผลัดเปลี่ยนกันสอนธรรมตามสาขาต่าง ๆ

รายชื่อเขตสาขาที่มีการศึกษาธรรมวันพุธ

[แก้]

รายชื่อเขตสาขาที่มีการศึกษาธรรมวันอังคาร

[แก้]
  • เขตบางไผ่ - บริเวณบางไผ่ และกลุ่มเขตกรุงธนใต้

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]