ข้ามไปเนื้อหา

สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ)
สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ
ชื่อย่อ
  • GA
  • UNGA
  • AG
ก่อตั้ง1945; 80 ปีที่แล้ว (1945)
ประเภทเสาหลัก
สถานะตามกฎหมายดำเนินการอยู่
สํานักงานใหญ่นครนิวยอร์ก สหรัฐ
Dennis Francis
องค์กรปกครอง
United Nations
เว็บไซต์un.org/ga
สมาชิกภาพและการเข้าร่วม

สองบทความที่เกี่ยวกับสมาชิกภาพและการเข้าร่วมสมัชชาใหญ่ โปรดดู:

สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (อังกฤษ: United Nations General Assembly) เป็นองค์กรที่มีอำนาจมากที่สุดและเป็นหนึ่งในเสาหลักของสหประชาชาติ เป็นเพียงองค์กรเดียวของสหประชาชาติที่ตัวแทนของแต่ละประเทศสมาชิกมีสิทธิและฐานะเท่าเทียมกัน สมัชชาใหญ่มีหน้าที่ตรวจสอบงบประมาณและการใช้จ่ายในโครงการของสหประชาชาติ แต่งตั้งสมาชิกไม่ถาวรในคณะมนตรีความมั่นคง รับรายงานจากทั่วทุกมุมโลกเพื่ออภิปรายและให้ความเห็น ตลอดจนจัดตั้งองค์กรลูกต่างๆมากมายของสหประชาชาติ[1] การประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งแรกมีขึ้นในวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 1946 ที่ศาลากลางนครเวสต์มินสเตอร์ในกรุงลอนดอนโดยมีสมาชิกเข้าร่วม 51 ประเทศ

สมัชชาใหญ่จะมีวาระการประชุมตามที่ประธานที่ประชุมหรือเลขาธิการสหประชาชาติได้เรียกประชุมตามขั้นตอนปีละหนึ่งครั้ง ซึ่งโดยมากจะเริ่มเปิดวาระการประชุมตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป ซึ่งจะหารือกันในหัวข้อหลักต่างๆไปจนถึงราวเดือนธันวาคม และหารือกันในหัวข้อย่อยตั้งแต่เดือนมกราคมไปจนกระทั่งสิ้นสุดทุกประเด็นตามที่ได้แถลงไว้ (ซึ่งส่วนมากมักจะจบก่อนเปิดวาระใหม่ไม่นาน) นอกจากนี้ อาจมีเปิดวาระการประชุมในกรณีพิเศษหรือกรณีฉุกเฉิน ซึ่งการประชุม, กลไก, อำนาจหน้าที่ และการลงคะแนนของสมัชชาใหญ่นั้น เป็นไปตามมาตรา 5 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ

การลงคะแนนของสมัชชาใหญ่เพื่อออกเป็นมติสมัชชาใหญ่ในหัวข้อสำคัญ ข้อแนะนำด้านสันติภาพและความมั่นคง ข้องบประมาณ การเข้าร่วมสหประชาชาติ การระงับหรือเพิกถอนสมาชิกภาพ จะต้องได้รับคะแนนเสียงในที่ประชุมไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดในที่ประชุม[2] ส่วนหัวข้อย่อยอื่นๆนั้นใช้เพียงคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกในที่ประชุม โดยที่ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศมีเพียงหนึ่งเสียงเท่านั้น สมัชชาใหญ่อาจให้ข้อแนะนำเรื่องใดๆก็ตามที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของสหประชาชาติ ยกเว้นอำนาจในดำเนินการรักษาสันติภาพและความมั่นคงซึ่งเป็นอำนาจของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ[3]

ปัจจุบัน สมัชชาใหญ่มีสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ ซึ่งกว่าสองในสามเป็นประเทศกำลังพัฒนา และมีผู้สังเกตการณ์ 2 ประเทศ คือ นครรัฐวาติกัน กับ รัฐปาเลสไตน์

คณะกรรมาธิการ

[แก้]

สมัชชาใหญ่มีคณะกรรมาธิการทั้งหมด 30 คณะ ซึ่งในจำนวนนี้เป็นคณะกรรมาธิการใหญ่ 6 คณะ โดยหกคณะใหญ่ดังกล่าวเรียงตามลำดับดังนี้:

  • คณะกรรมาธิการที่หนึ่ง: การลดอาวุธและความมั่นคงระหว่างประเทศ (DISEC)
  • คณะกรรมาธิการที่สอง: เศรษฐกิจและสังคม (ECOFIN)
  • คณะกรรมาธิการที่สาม: สังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม (SOCHUM)
  • คณะกรรมาธิการที่สี่: การเมืองและการปลดปล่อย (SPECPOL)
  • คณะกรรมาธิการที่ห้า: บริหาร การงบประมาณ และธุรการ
  • คณะกรรมาธิการที่หก: กฎหมาย

นอกจากนี้ยังมีอีกสองคณะกรรมาธิการที่มีความสำคัญแต่ไม่ได้ถูกจัดลำดับไว้ นั่นก็คือ:

  • คณะกรรมาธิการสาสน์ตราตั้ง – รับผิดชอบการแต่งตั้งนักการทูตของสหประชาชาติไปประจำตามพื้นที่ต่างๆ ประกอบด้วยสมาชิกจาก 9 ประเทศผัดเปลี่ยนกันทุกวาระ
  • คณะกรรมาธิการวิสามัญ – รับผิดชอบควบคุมจัดการการประชุมของสมัชชาใหญ่ให้ดำเนินการได้และเป็นไปอย่างเรียบร้อย ประธานและรองประธานคณะกรรมาธิการนี้คือประธานและรองประธานสมัชชาใหญ่

อ้างอิง

[แก้]
  1. General Assembly: Subsidiary organs at UN.org.
  2. Population, total | Data | Table. Data.worldbank.org. Retrieved on 12 July 2013.
  3. General Assembly of the United Nations. Un.org. Retrieved on 12 July 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]