สมองของอัลเบิร์ต ไอนสไตน์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สมองของนักฟิสิกส์ อัลเบิร์ต ไอนสไตน์ถูกวิจัยและคาดคะเนอย่างมาก สมองของไอนสไตน์ถูกนำออกมาภายในเจ็ดชั่วโมงครึ่งหลังการเสียชีวิตของเขา ด้วยเขามีชื่อเสียงเป็นอัจฉริยบุคคลชั้นนำคนหนึ่งแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 สมองของเขาจึงได้รับความสนใจ มีการนำลักษณะต่าง ๆ ในสมองทั้งที่ปกติและแปลกไปใช้สนับสนุนความคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประสาทกายวิภาคศาสตร์กับความฉลาดทั่วไปและทางคณิตศาสตร์ การศึกษาทางวิทยาศาสตร์เสนอว่าบริเวณที่เกี่ยวข้องกับการพูดและภาษานั้นเล็กกว่า ขณะที่บริเวณเกี่ยวกับจำนวนและการประมวลผลเชิงปริภูมินั้นใหญ่กว่า การศึกษาอื่น ๆ พบว่าสมองของไอนสไตน์มีจำนวนเซลล์เกลียมากกว่าปกติ[1]
ความเป็นไปของสมอง
[แก้]การชันสูตรศพของไอนสไตน์กระทำในห้องปฏิบัติการ ณ โรงพยาบาลปรินซ์ตัน โดยนักพยาธิวิทยาชื่อ โทมัส สต็อลทซ์ ฮาร์วีย์ ไม่นานหลังการเสียชีวิตของเขาใน ค.ศ. 1955 ฮาร์วีย์นำสมองออกและชั่งน้ำหนักสมอง จากนั้นนำไปห้องปฏิบัติการ ณ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย และผ่าสมองของไอนสไตน์เป็นหลายชิ้น สมองบางชิ้นนั้นถูกนำไปให้นักพยาธิวิทยาชั้นนำ เขาหวังว่าการแบ่งเปลือกสมองออกเป็นพื้นที่ตามลักษณะเซลล์ (Cytoarchitecture) จะให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์[2] ฮาร์วีย์ฉีดฟอร์มาลีน 50% ทางหลอดเลือดแดงคาโรติดใน แล้วแช่สมองทั้งก้อนในฟอร์มาลีน 10% ฮาร์วีย์ถ่ายรูปสมองหลายมุม จากนั้นเขาผ่าสมองเป็นประมาณ 240 บล็อก (แต่ละบล็อกขนาดประมาณ 18 ซม.3) และหุ้มแต่ละชั้นในวัสดุคล้ายพลาสติกที่เรียกว่า โคโลเดียน[3][4] ฮาร์วีย์ยังนำตาของไอนสไตน์ออกและมอบให้เฮนรี่ เอบรามส์ ซึ่งเป็นจักษุแพทย์ของไอนสไตน์[2] ยังมีการถกเถียงกันว่าสมองของไอนสไตน์ได้รับการอนุญาตจากเจ้าตัวขณะมีชีวิตหรือไม่ ก่อนจะถูกเก็บรักษา โรนัลด์ คลาร์ก เขียนในประวัตไอนสไตน์ใน ค.ศ. 1979 ว่า "เขายืนยันว่าสมองของเขาควรถูกวิจัยขณะร่างของเขาถูกเผา" ทว่างานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ชี้ว่า เรื่องนี้อาจไม่เป็นความจริง และสมองของเขาถูกนำออกมาและถนอมไว้โดยไม่ได้รับการยึนยอมจากทั้งไอนสไตน์และญาติสนิท ฮานส์ อัลเบิร์ต ไอนสไตน์ ซึ่งเป็นบุตรชายคนโตของเขา ได้ลงชื่อให้นำออกหลังจากเกิดเหตุการณ์ขึ้น แต่ยืนยันว่าสมองของพ่อเขาควรนำไปใช้สำหรับงานวิจัยที่จะได้ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์มีคุณภาพเท่านั้น[2]
ใน ค.ศ. 1978 สมองของไอนสไตน์ถูกนักข่าว สตีเฟน เลวีย์ ค้นพบอีกครั้ง ในความครอบครองของ ดร. ฮาร์วีย์[5] ส่วนของสมองถูกถนอมไว้ในแอลกอฮอล์ในขวดโหลเมสัน ขนาดใหญ่สองขวดในกล่องไซเดอร์เป็นเวลากว่า 20 ปี
ฮาร์วีย์เดินทางไปรัฐแคลิฟอร์เนีย และเข้าพบอีฟลิน ไอนสไตน์ ซึ่งเป็นหลานของไอนสไตน์ ขณะนั้นเธอเป็นหม้ายที่กำลังมีปัญหาด้านการเงิน เธอมองข้อเท็จจริงที่ฮาร์วีย์เก็บสมองของปู่เธอว่าเป็นเรื่องน่าขยะแขยง ทว่าเธอสนใจความลับที่อาจซ่อนอยู่ เธอเป็นบุตรบุญธรรมของฮานส์ อัลเบิร์ต และฟรีดา ภรรยาของเขา เธอได้ข่าวลือว่าเธออาจเป็นลูกของไอนสไตน์ ด้วยไอนสไตน์เคยมีความสัมพันธ์กับผู้หญิงหลายคน เธอคาดว่าเธอเองอาจเป็นผลของหนึ่งในความสัมพันธ์นี้ จนทำให้ไอนสไตน์ขอให้ฮานส์ อัลเบิร์ตรับเธอเป็นบุตรบุญธรรม หากแต่วิธีที่ฮาร์วีย์แช่สมองทำให้ไม่สามารถสกัดดีเอ็นเอออกมาได้ ทำให้ข้อสงสัยของเธอไม่เคยได้คำตอบ
ใน ค.ศ. 2010 ทายาทของฮาร์วีย์มอบสมองของไอนสไตน์ที่อยู่ในครอบครองทั้งหมด รวมถึงรูปถ่ายสมองทั้งก้อนทั้ง 14 รูป ซึ่งไม่เคยถูกเปิดเผยในสาธารณะมาก่อนให้กับพิพิธภัณฑ์สุขภาพและการแพทย์แห่งชาติ[6][7]
เมื่อไม่นานนี้ พิพิธภัณฑ์มึทเทอร์ ในฟิลาเดลเฟียได้สมองไอนสไตน์ 46 ส่วนเล็ก ใน ค.ศ. 2013 แผ่นบาง ๆ ซึ่งถูกวางบนแผ่นสไลด์กล้องจุลทรรศน์ ถูกนำออกตั้งโชว์อย่างถาวรที่ห้องแสดงผลงานศิลปะ[8]
การศึกษาทางวิทยาศาสตร์
[แก้]การชันสูตรศพ
[แก้]ฮาร์วีย์รายงานว่าไอนสไตน์ไม่มีแพริเอตทัลโอเพอร์คิวลัม (parietal operculum) ในทั้งสองซีกสมอง[9] ทว่าการค้นพบนี้ถูกโต้เถียง[10] รูปของสมองแสดงให้เห็นร่องด้านข้างทีถูกขยาย ในปีค.ศ. 1999 โดยทีมงาน ณ มหาวิทยาลัยเม็คมาสเตอร์ ใน แฮมิลตัน รัฐออนตาริโอ พบว่าส่วนของแพริเอตทัลโอเพอร์คิวลัมในรอยนูนสมองกลีบหน้าด้านล่าง (Inferior frontal gyrus) ในสมองกลีบหน้านั้นว่างอยู่ นอกจากนั้นส่วนนึงของขอบที่เรียกว่าร่องด้านข้าง (Sylvian fissure) ยังหายไป นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเม็คมาสเตอร์ได้พิจารณาว่าการว่างที่เกิดขึ้นอาจทำให้เซลล์ประสาทในส่วนนี้ของสมองสื่อสารกันได้ดีมากขึ้น "กายวิภาคสมองนี้...[การหายไปของร่องด้านข้าง]...อาจเป็นคำอธิบายว่าทำไมไอนสไตน์ถึงคิดแบบที่เขาคิด" ศาสตราจารย์ แซนดรา วิเทลซัน ซึ่งนำการวิจัยที่ตีพิมพ์ลงใน เดอะ แลนเซ็ต ได้กล่าวไว้ การศึกษานี้อยู่บนฐานของรูปถ่ายของสมองทั้งก้อนซึ่งถูกถ่ายไว้ในการชันสูตร ปี 1955 โดยฮาร์วีย์ ไม่ใช่จากการตรวจสอบสมองอย่างละเอียด ไอนสไตน์เองอ้างว่าเขาคิดผ่านการมองเห็นแทนที่คำพูด[11]
เซลล์เกลีย
[แก้]ในช่วงปี ค.ศ. 1980 - 1990 ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ศาสตราจารย์ มิเรียน ซี. ไดมอนด์ โน้มน้าวให้ โทมัส ฮาร์วีย์ ยอมยกตัวอย่างจากสมองของไอนสไตน์ให้ เธอได้เปรียบเทียบอัตราส่วนของเซลล์เกลียในสมองของไอนสไตน์กับสมองที่ถูกถนอมอื่น ๆ กว่า 11 คน (เซลล์เกลียช่วยสนับสนุนและให้สารอาหารแก่สมอง สร้างไมอีลิน และมีส่วนร่วมในการส่งสัญญาณ และยังเป็นตัวประกอบอื่น ๆ ของสมองนอกเหนือจากเซลล์ประสาท) ห้องปฏิบัติการของ ดร.ไดมอนด์ได้ตัดสมองไอนสไตน์เป็นส่วนบางๆ แต่ละแผ่นมีความหนาเพียง 6 มม. จากนั้นพวกเขาได้ใช้กล้องจุลทรรศน์เพื่อนับเซลล์ สมองของไอสไตน์นั้นมีจำนวนเซลล์เกลียต่อเซลล์ประสาทที่มากกว่าในทุกส่วนที่ศึกษา ทว่ามีแต่ในแถวอินทีเรียแพริเอตทัลซ้ายเท่านั้นที่ความแตกต่างนั้นมีนัยสำคัญทางสถิติ พื้นที่นี้เป็นส่วนหนึ่งของเปลือกสมองซึ่งเป็นส่วนของสมองสำหรับรวบรวมและสร้างข้อมูลจากหลายส่วนสมอง สภาพแวดล้อมที่กระตุ้นสามารถเพิ่มอัตราส่วนของเซลล์เกลีย และอัตราส่วนที่สูงอาจเกิดจากชีวิตของไอนสไตน์ที่ศึกษาปัญหาทางวิทยาศาสตร์ที่เต็มไปด้วยการกระตุ้น[12]
ข้อจำกัดที่ไดมอนด์ต้องยอมรับคือ การศึกษาของเธอนั้นประกอบด้วยสมองของไอนสไตน์เพียงหนึ่งก้อน เปรียบเทียบกับสมองของคนปกติอีก 11 ก้อน[2] ประเด็นอื่น ๆ ชี้ว่าเซลล์เกลียนั้นทำการแยกตัวตลอดเวลาขณะที่คนมีอายุมากขึ้น สมองของไอนสไตน์นั้นอายุ 76 ปี ขณะที่สมองที่โดนเปรียบเทียบนั้นมีอายุเฉลี่ยเพียง 64 ปี เท่านั้น นอกจากนี้ ข้อมูลของตัวอย่างสมองที่ถูกนำมาเปรียบเทียบนั้นมีน้อยมาก และส่วนใหญ่ขาดข้อมูล เช่น คะแนนไอคิว โรคทางสมอง หรือปัจจัยอื่น ๆ ไดมอนด์ยังยอมรับว่างานวิจัยซึ่งแย้งกับงานศึกษาของเธอได้ถูกละเลย[citation needed] สมองของเขาตอนนี้อยู่ที่ Mütter Museum ในเมืองฟิลาเดลเฟีย และ 2 จาก 140 ส่วนของสมองถูกยืมโดย British Museum.[13]
นักวิทยาศาสตร์กำลังสนใจความเป็นไปได้ของความแตกต่างภายนอกของโครงสร้างสมองที่จะส่งผลถึงความสามารถที่ต่างกัน[11]
การเชื่อมกันที่แข็งแรงกว่าระหว่างซีกสมอง
[แก้]งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารเบรน[14] ในเดือนกันยายน ปี 2013 วิเคราะห์เส้นใยก้อนใหญ่ซึ่งเชื่อมซีกสมองใหญ่ทั้งสองซีกและช่วยในการสื่อสารกันระหว่างซีกสมอง หรือ คอร์ปัส คาโลซัม ของไอนสไตน์ โดยใช้เทคนิคใหม่ที่สามารถวัดความหนาของเส้นใยได้ละเอียดยิ่งข้น โดยคอร์ปัส คาโลซัมของไอนสไตน์ถูกนำไปเทียบกับกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือสมองของผู้สูงอายุ 15 ก้อน และ สมองของคนอายุเท่ากับไอนสไตน์อีก 52 ก้อน ในปี 1905 ผลได้พบว่าสมองของไอนสไตน์มีการเชื่อมต่อระหว่างซีกสมองที่มากกว่าเมื่อเทียบกับทั้งกลุ่มที่มีอายุมากกว่าและน้อยกว่า[15]
บทวิจารณ์
[แก้]อคติที่เกิดจากการเลือกตัวอย่างอาจส่งผลกระทบต่อผลที่ถูกตีพิมพ์ ซึ่งแปลว่าผลที่แสดงความแตกต่างระหว่างสมองของไอนสไตน์และสมองของคนปกติ มีแนวโน้มที่จะถูกตีพิมพ์มากกว่า ขณะที่ผลที่แสดงว่าหลาย. ๆ ส่วนของสมองไอนสไตน์นั้นไม่ได้แตกต่างจากสมองอื่น ๆ นั้นอาจถูกละเลย นอกจากนี้เวลาทำการทดลอง นักวิจัยยังรู้อยู่ตลอดว่าสมองชิ้นไหนเป็นของไอนสไตน์และสมองชิ้นไหนเป็นกลุ่มควบคุม จึงเกิดความเป็นไปได้ที่จะมีอคติทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว และเป็นอุปสรรคต่อการทดลองแบบอำพราง
ในทางตรงข้าม นักประสาทวิทยาเทอเรนซ์ ไฮนส์ จากมหาวิทยาลัยเพซ ได้วิจารณ์งานวิจัยเหล่านี้ว่าเต็มไปด้วยข้อผิดพลาด ไฮนส์ยืนยันว่าสมองมนุษย์ทุกคนนั้นมีลักษณะพิเศษเฉพาะและแตกต่างกันในบางรูปแบบ ดังนั้น การสันนิษฐานว่าลักษณะพิเศษในสมองของไอนสไตน์นั้นเกี่ยวข้องกับความฉลาดของเค้านั้นในความเห็นของไฮนส์แล้วเป็นการสรุปนอกเหนือหลักฐาน เขายังแย้งอีกว่าการหาสหสัมพันธ์ระหว่างลักษณะสมองกับลักษณะเฉพาะอื่น ๆ ต้องการ การศึกษาสมองหลายก้อนที่มีลักษณะคล้ายกัน และการสแกนสมองของนักวิทยาศาสตร์หลาย ๆ คนดีกว่าการศึกษาจากสมองของอัจฉริยะเพียงหนึ่งหรือสองคน[12][16]
สมองของอัจฉริยะคนอื่น
[แก้]การถนอมสมองของอัจฉริยะนั้นไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่ สมองอื่นซึ่งถูกถนอมและเป็นที่ถกเถียงในลักษณะเดียวกันได้แก่สมองของนักคณิตศาสตร์ชาวเยอร์มัน คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ กว่าหนึ่งร้อยปีก่อนหน้า สมองของเขาถูกศึกษาโดยรูดอร์ฟ แว็กเนอร์ ซึ่งชั่งน้ำหนักสมองได้ 1,492 กรัม และวัดขนาดสมองใหญ่ได้ 219,588 ตารางมิลลิเมตร[17] นอกจากนั้นสมองของเขายังมีจำนวนรอยหยักเยอะ และถูกเสนอว่าเป็นเหตุผลที่ทำให้เขาเป็นอัจฉริยะ[18] นอกจากนี้ยังมีสมองของวลาดีมีร์ เลนินซึ่งถูกนำออกมาศึกษา[19] และคนจากกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันอย่างอิชิ สมองของเอ็ดเวิร์ด เอช. รูลลอฟฟ์ ซึ่งเป็นนักนิรุกติศาสตร์และอาชญากร ถูกนำออกมาหลังจากการตายของเขาในปี ค.ศ. 1871 ในปี 1972 สมองนี้ยังคงเป็นสมองที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองเท่าที่มีการบันทึก [20]
ดูเพิ่ม
[แก้]- Relics: Einstein's Brain, a 1994 documentary by Kevin Hull
- Possessing Genius: The Bizarre Odyssey of Einstein's Brain, a 2001 book by Carolyn Abraham
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Fields, R. Douglas (2009).
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 NPR: The Long, Strange Journey of Einstein's Brain
- ↑ The Exceptional Brain of Albert Einstein – BIOQUANT LIFE SCIENCE เก็บถาวร 2013-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ "School of Education at Johns Hopkins University - Graduate Education: Why Einstein's Brain? by Marian Diamond". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-07. สืบค้นเมื่อ 2016-01-19.
- ↑ "StevenLevy.com » I Found Einstein's Brain". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-10. สืบค้นเมื่อ 2016-01-19.
- ↑ Falk, Dean, Frederick E. Lepore, and Adrianne Noe (2012), "The cerebral cortex of Albert Einstein: a description and preliminary analysis of unpublished photographs", Brain; 135: 11.
- ↑ Balter, Michael, "Rare photos show that Einstein's brain has unusual features เก็บถาวร 2013-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", The Washington Post, Tuesday, 27 November 2012; E6.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-07. สืบค้นเมื่อ 2016-01-19.
- ↑ Witelson, S. F.; Kigar, D. L.; Harvey, T. (1999).
- ↑ Falk, D.; Lepore, F. E.; Noe, A. (2012).
- ↑ 11.0 11.1 "Why size mattered for Einstein".
- ↑ 12.0 12.1 The strange afterlife of Einstein's brain
- ↑ Edmonds, Molly. (2008-10-27) Discovery Health "Marian Diamond and Albert Einstein's Brain".
- ↑ Men, W.; Falk, D.; Sun, T.; Chen, W.; Li, J.; Yin, D.; Zang, L.; Fan, M. (24 September 2013).
- ↑ "Einstein’s brilliance might have been due to strong brain hemisphere connection".
- ↑ The Tragic Story of How Einstein’s Brain Was Stolen and Wasn’t Even Special
- ↑ Donaldson, Henry H. (1891).
- ↑ Dunnington, 1927
- ↑ Gregory, Paul R. (2007-12-31).
- ↑ New York Times, Nov. 7, 1972, p. 37