สมมุติ เบ็ญจลักษณ์
สมมุติ เบ็ญจลักษณ์ | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 ธันวาคม พ.ศ. 2509 อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี |
ศาสนา | อิสลาม |
พรรคการเมือง | ประชาชาติ |
คู่สมรส | รสนา เบ็ญจลักษณ์ |
สมมุติ เบ็ญจลักษณ์ (เกิด 30 ธันวาคม พ.ศ. 2509) กรรมการในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรไทย (รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี[1][2] เขาเคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนเดียวของพรรคภูมิใจไทยที่ชนะการเลือกตั้งในพื้นที่ภาคใต้ ในปี พ.ศ. 2554 ปัจจุบันสังกัดพรรคประชาชาติ
ประวัติ
[แก้]สมมุติ เกิดเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2509 ที่ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี เป็นบุตรของ แวซาเฮาะ กับ เจ๊ะลีเม๊าะ เบ็ญจลักษณ์ และเป็นหลานชายของวิไล เบญจลักษณ์ อดีต ส.ส. ปัตตานี 3 สมัย จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง สมรสกับรสนา เบ็ญจลักษณ์ (สกุลเดิม กาซอ) พยาบาลวิชาชีพ ประจำโรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี มีธิดา 3 คน[3]
การทำงาน
[แก้]สมมุติ ประกอบอาชีพทนายความ ต่อมาลงรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคราษฎร (เปลี่ยนชื่อเป็นพรรคมหาชน)[4] พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคมหาชน และ พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัคร สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
จนกระทั่งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ย้ายมาสังกัดพรรคภูมิใจไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี เขต 4 เป็นครั้งแรก และเป็น ส.ส.เพียงคนเดียวของพรรคภูมิใจไทย ที่ชนะการเลือกตั้งในพื้นที่ภาคใต้ โดยเป็น ส.ส.ที่ได้รับคะแนนเสียงน้อยที่สุดในประเทศ เพียง 21,510 คะแนน[5]
สมมุติ ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.จังหวัดปัตตานีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรรคประชาชาติ เป็น ส.ส.สมัยที่ 2
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2567 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พรรคประชาชาติพบปะผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น อ.แว้ง ‘ทวี’ ตั้งเป้าเป็นรัฐบาล แก้ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้
- ↑ “สมมุติ” ส.ส.ปัตตานี หารือเรื่องการจัดการศพมุสลิมผู้เสียชีวิตจากโควิด ให้รัฐปฏิบัติตามแนวทางอิสลามอย่างถูกต้อง
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายสมมุติ เบ็ญจลักษณ์[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[ลิงก์เสีย]
- ↑ เปิดตัว"แชมป์"ส.ส.คะแนนสูงสุด"ทะลุแสน" ปะทะ "2หมื่นกว่า" ก็เป็นผู้แทนฯได้
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๔, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2509
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเมืองปัตตานี
- ชาวไทยเชื้อสายมลายู
- มุสลิมชาวไทย
- ทนายความชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดปัตตานี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี
- พรรคมหาชน
- พรรคเพื่อแผ่นดิน
- นักการเมืองพรรคภูมิใจไทย
- พรรคประชาชาติ (พ.ศ. 2561)
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.