สมภพ จันทรประภา
สมภพ จันทรประภา (14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 – 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530) เป็นอดีตข้าราชการพลเรือนชาวไทย เป็นอดีตรองอธิบดีกรมศิลปากร และผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ประวัติ
[แก้]สมภพ จันทรประภา เกิดวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 จบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วเข้าทำงานในกองวิชาการเหมืองแร่ กรมโลหกิจ กระทรวงอุตสาหกรรม ก่อนโอนมารับราชการที่กระทรวงศึกษาธิการ และตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการคือตำแหน่งผู้ตรวจราชการ[1]
สมภพเป็นผู้ประพันธ์ประพันธ์กลอนสุภาพ ๔ บท จากพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่สมาชิกสภานิติบัญญัติที่เข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทอดพระเนตรแล้ว ทรงเกิดแรงบันดาลพระราชหฤทัยที่จะทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เราสู้ และแต่งหนังสือ "สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ " พระประวัติของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
สมภพ จันทรประภา ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 ต่อมาปี พ.ศ. 2558 กระทรวงวัฒนธรรมได้ยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น "บูรพศิลปิน" สาขาวรรณศิลป์[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2520 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[5]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[7]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
- ↑ วธ.ยกย่องเชิดชูเกียรติ 'บูรพศิลปิน' ผู้ล่วงลับ 187 ราย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๔๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒๐๓, ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๖๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๕๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙, ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๑๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2462
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2530
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสถาน
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเพลงพระราชนิพนธ์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.3
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญราชรุจิ
- นิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย