สมพร ยกตรี
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
อาจารย์สมพร ยกตรี (6 สิงหาคม พ.ศ. 2479 - 12 สิงหาคม พ.ศ. 2551) เป็นผู้ก่อตั้งภาควิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปัจจุบัน ร่วมกับรองศาสตราจารย์ศิริชัย หงษ์วิทยากร และอาจารย์โสภณ มงคลวัจน์ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2479 ท่านเป็นผู้ริเริ่มโครงการ 80 พรรษา 8 พรรณไม้หมายเมือง และไม้หมายทาง ตลอดชีวิตการทำงานทุ่มเทให้กับการสอนในวิชาชีพภูมิทัศน์ รวมทั้งด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จนเป็นที่ยอมรับ และได้รับการขนานนามว่าเป็น "เก๊าไม้ ล้านนา"[1]
ประวัติ
[แก้]นายสมพร ยกตรี มีตำแหน่งสุดท้ายเป็นอาจารย์ระดับ 7 บิดาชื่อนายคำแสน ยกตรี มาราดาชื่อนางเต่า ยกตรี เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้อง 6คน[2][3][4]
การศึกษา
[แก้]- 2515 วิทยาศาสตร์บัณฑิต(ศึกษาศาสตร์เกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- 2504-2505 ประโยคมัธยมกสิกรรม วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่
- 2498-2500 ประโยคอาชีวขั้นสูง แผนกเกษตร วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่
- 2491-2497 มัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 6 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
- 2486-2490 ประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาล 2 จังหวัดเชียงใหม่
ประวัติการทำงาน
[แก้]- 2501 บรรจุเข้ารับราชการ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501
- 2522-2526 หัวหน้าภาควิชาตกแต่งบริเวณและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- 2523 หัวหน้าสาขาวิชาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เกียรติประวัติ และผลงาน
[แก้]ผลงานทางวิชาการ
[แก้]- "หมอต้นไม้ และ แนวคิดเกี่ยวกับต้นไม้ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้" บทความในหนังสือ "เก๊าไม้แม่โจ้"[4]
- "การศึกษาความหลากหลายของพรรณไม้ในพื้นที่ป่าบ้านโป่ง" รายงานประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 3, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.[5]
ผลงานด้านอื่น ๆ
[แก้]- 2550 โครงการ80 พรรษา 8 พรรณไม้หมายเมือง และไม้หมายทาง[1][6][7]
- ก่อตั้งภาควิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในปัจจุบัน)[2][3][4]
- 2540 ถวายงานพันธุกรรมพืช โครงการส่วนพระองค์ โครงการแม่แรม อำเภอแม่ริม
- 2535 จัดถวายงานภูมิทัศน์พระตำหนักดอยตุง
- 2524 จัดสร้างอนุสาวรีย์สี่แยกผู้ใช้แรงงาน
- 2521-2524 ก่อตั้งภาควิชาวางผังและตกแต่งบริเวณ
- 2522 ปรับปรุงศาลเจ้าแม่โจ้
- 2521 สวนรวมพรรณไม้แม่โจ้ (สวนป่าบุญศรี ณ วังซ้าย)
ถึงแก่กรรม
[แก้]ถึงแก่กรรมในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2551
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]ตลอดชีวิตของท่านได้ทำผลงานเป็นที่ประจักษ์ และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้[3][4]
- 2511 บช เบญจมาภรณ์ช้างเผือก
- 2519 จม จัตรุถาภรณ์มงกุฎไทย
- 2520 รัตนาภรณ์ พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์
- 2522 จช จัตรุถาภรณ์ช้างเผือก
- 2524 ตม ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
- 2526 จม จักรพรรดิมาลา
- 2527 ตช ตริตาภรณ์ช้างเผือก
- 2532 ทม ทวิติยาภรณ์มงกุฎไทย
- 2536 ทช ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-08. สืบค้นเมื่อ 2009-01-03.
- ↑ 2.0 2.1 http://www.landscape.mju.ac.th[ลิงก์เสีย]
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 อนุสรณ์พิธีพระราชทานเพลิงศพ นายสมพร ยกตรี(ท.ช.)"เก๊าไม้ แม่โจ้", 17 สิงหาคม 2551
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 ชมรมศิษย์เก่าภูมิทัศน์,เก๊าไม้ ล้านนา,หนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ อาจารย์สมพร ยกตรี ,2540
- ↑ "ฐานข้อมูลการเกษตรของประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-10-01.
- ↑ รวบรวมพันธุ์ไม้ท้องถิ่นปลูกถวาย ‘พ่อหลวง’,หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
- ↑ 8 พรรณไม้หมายทาง คืนอดีตให้ชุมชนเชียงใหม่,บทความ,หนังสือพิมพ์ฟิวเจอร์ไทยนิวส์ ,ปีที่ 1 ฉบับที่ 9 ประจำวันที่ 16-31 สิงหาคม 2550
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- รายการอสมท.เพื่อชุมชน หัวข้อไม้หมายเมือง ออกอากาศวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ เก็บถาวร 2009-01-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน