สมชาย วิษณุวงศ์
สมชาย วิษณุวงศ์ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 กันยายน พ.ศ. 2488 อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2548–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–2561) พลังประชารัฐ (2561–2566) ภูมิใจไทย (2566–ปัจจุบัน) |
พลเอก สมชาย วิษณุวงศ์ (เกิด 8 กันยายน พ.ศ. 2488) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี สังกัดพรรคพลังประชารัฐ ปัจจุบันสังกัดพรรคภูมิใจไทย
ประวัติ
[แก้]พล.อ.สมชาย เกิดเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2488 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 5[1] และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า[2]
การทำงาน
[แก้]พล.อ.สมชาย เริ่มรับราชการทหารที่ศูนย์สงครามพิเศษ ลพบุรี เคยเป็นนายทหารประจำตัว พลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร จนได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งสูงสุดคือ ที่ปรึกษาพิเศษสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย และก่อนเกษียณจากราชการในปี 2548[1] เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก ต่อมาได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน และย้ายไปอยู่พรรคเพื่อไทย ภายหลังการยุบพรรคพลังประชาชน
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 3 ในนามพรรคเพื่อไทย ต่อมาย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ[1] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562
พล.อ.สมชาย ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24 และประธานคณะกรรมาธิการการทหารในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25[3] และเป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการใช้กัญชา กัญชง และกระท่อมอย่างเป็นระบบ[4]
นอกจากนั้น พล.อ.สมชาย ยังเป็นอดีตประธานกรรมการบริษัททีไอจีเอ จำกัด (TIGA Co., Ltd.) หรือเรียกโดยย่อว่า ไทก้า เป็นบริษัทตัวแทนลิขสิทธิ์ในประเทศไทย
ปัจจุบันเขาสังกัดพรรคภูมิใจไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 ศึกคนกันเอง "กำนันเซี้ย" ชน "เสี่ยฮุก"จาก คมชัดลึก
- ↑ 2.0 2.1 2.2 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
- ↑ กมธ.ทหารร่อนจม.เรียกด่วน'บิ๊กแดง-ผวจ.-แม่ทัพภาค 2'แจงเหตุกราดยิงโคราช
- ↑ ประธานกรรมาธิการวิสามัญกัญชาฯ ร่วม 8 วิสาหกิจชุมชนกับ 8 รพ.สต.ที่กาญจนบุรี ปลูกกัญชาต้นแรกที่เมืองกาญจน์ ฝากประชาชนหากปลูกต้องศึกษาให้ดีก่อน ส่วนที่กัญชาเข้าไปอยู่ในตลาดหุ้นเป็นเรื่องที่ดี[ลิงก์เสีย]
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่ธันวาคม 2024
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2488
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอไทรโยค
- ทหารบกชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดกาญจนบุรี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- นักการเมืองพรรคพลังประชารัฐ
- นักการเมืองพรรคภูมิใจไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมทหาร
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.