สมคิด พงษ์อยู่
สมคิด พงษ์อยู่ ผู้ฝึกสอนฟันดาบเซเบอร์ทีมชาติไทย | |||||||||||||||
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เกิด | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2520 จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย | ||||||||||||||
กีฬา | |||||||||||||||
กีฬา | ฟันดาบสากล | ||||||||||||||
ผู้ฝึกสอน | เอเบอร์ฮาร์ด เมล | ||||||||||||||
กำลังฝึกสอน | วีระเดช โคธนี[1] ภัศรา มนูญญา วิชาดา รัตนากีรณวร[2] พรสวรรค์ เงินรุ่งเรืองโรจน์[2] บัณฑิตา ศรีนวลนัด[2] | ||||||||||||||
รายการเหรียญรางวัล
|
สมคิด พงษ์อยู่ (เกิด 28 ตุลาคม พ.ศ. 2520) เป็นทั้งลูกพี่ลูกน้องและผู้ฝึกสอนฟันดาบสากลให้แก่วีระเดช โคธนี[1] ผู้ซึ่งได้รับสองเหรียญทองแดงให้แก่ทีมชาติเยอรมนี ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 ที่ซิดนีย์[3]
ปัจจุบัน สมคิด พงษ์อยู่ ทำหน้าที่ช่วยเหลือสมาคมฟันดาบสมัครเล่นแห่งประเทศไทย โดยการเป็นผู้ฝึกสอนแก่นักฟันดาบสากลทีมชาติ[4]
ประวัติ
[แก้]สมคิด พงษ์อยู่ เติบโตขึ้นมาในฐานะยากจน เมื่อเขาอายุได้ 2 ขวบ มารดาของเขาได้เสียชีวิตลงเนื่องด้วยการคลอดน้องชาย จากนั้น เมื่อเขาอายุได้ 6 ขวบก็ได้ตามน้าของเขาไปอยู่ที่ประเทศเยอรมนีในฐานะบุตรบุญธรรม ซึ่งเขาเติบโตพร้อมกับวีระเดช โคธนี ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้อง
สมคิดเริ่มเรียนฟันดาบสากลเมื่ออายุได้ 13 ปี ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นที่ช้ามาก อีกทั้งเขาถูกจำกัดให้ออกจากการแข่งขันของเยอรมันเนื่องด้วยสถานะชาวไทย ส่งผลให้เขาหมดกำลังใจในการเข้าแข่งขัน และหันไปเป็นผู้ฝึกสอนฟันดาบให้แก่เยาวชนแทน
เมื่อ พ.ศ. 2537 เขาได้มีโอกาสเข้าแข่งขันในรายการไทยแลนด์โอเพ่นแอ็คทีฟครั้งที่ 3 ในฐานะชาวไทย ที่ซึ่งเขาได้ต่อสู้กับเกาหลีและฮังการี แล้วได้อันดับ 9 ในภายหลัง เขาจึงเป็นตัวแทนทีมชาติไทยในการเข้าแข่งขันกีฬาซีเกมส์ แต่แล้ว เขาก็พลาดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ เนื่องด้วยผู้ฝึกสอนของเขาที่มีชื่อว่า เอเบอร์ฮาร์ด เมล เกิดป่วยอย่างรุนแรงจนอาจถึงแก่ชีวิต สมคิดจึงรับหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนให้แก่ ปีเตอร์ คูลาสซา แทน แล้วปีเตอร์ก็ได้เป็นแชมป์ของเยอรมันในเวลาต่อมา หนึ่งเดือนหลังจากนั้น สมคิดก็ได้เป็นแชมป์ของประเทศไทย และมีโอกาสร่วมแข่งขันในรายการเวิลด์คัพ รวมถึงได้รับรางวัลเหรียญทองจากการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 1998 ที่กรุงเทพมหานคร ก่อนที่จะหันกลับไปเป็นผู้ฝึกสอนฟันดาบสากลดังเดิมในภายหลัง
เมื่อครั้งที่เอเบอร์ฮาร์ด เมล ลาออกจากการเป็นผู้ฝึกสอน สมคิดก็ได้รับหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนให้แก่วีระเดช โคธนี นักฟันดาบสองเหรียญทองแดงโอลิมปิก[3]
นอกจากนี้ สมคิดยังเป็นผู้ฝึกสอนทีมฟันดาบสากลหญิงทีมชาติไทย ที่เข้าแข่งขันในฟันดาบสากลเยาวชนชิงแชมป์เอเชียรายการ ดิเอเชียนจูเนียร์แอนด์คาเดตเฟนซิงแชมเปี้ยนชิพ 2012 โดยพวกเธอได้รับเหรียญเงินในประเภทเซเบอร์[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ง.ภ.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 วิลลี่ ย้ำชัดเลิกเล่นฟันดาบทีมชาติชัวร์ - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 ฟันดาบสาวไทยหยิบเพิ่มอีก 1 เงิน ยช.เอเชีย
- ↑ 3.0 3.1 Kurzmeldungen - DER FARANG - Zeitung für Urlauber und Residenten in Thailand (เยอรมัน)
- ↑ คนเก่า คนเก่ง. จอมดาบศิลปิน ‘วิลลี่’ วีระเดช โค๊ธนี. สปอร์ต คลาสสิค. บริษัท สยามพริ้นท์ จำกัด. ปีที่ 2 ฉบับที่ 24. 16 มิถุนายน -15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556. หน้า 31
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒๗, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๑
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สมคิด พงษ์อยู่