สภาแห่งชาติเพื่อการคุ้มกันบ้านเกิดเมืองนอน
สถาปนา | 26 กรกฎาคม ค.ศ. 2023 |
---|---|
เขตอำนาจ | ไนเจอร์ |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
ฝ่ายบริหาร | |
ประธาน | อาบดูราอามาน ชียานี |
ที่ว่าการ | นีอาเม ไนเจอร์ |
สภาแห่งชาติเพื่อการคุ้มกันบ้านเกิดเมืองนอน (อาหรับ: المجلس الوطني لحماية الوطن; ฝรั่งเศส: Conseil national pour la sauvegarde de la patrie, CNSP) เป็นรัฐบาลทหารที่ปกครองประเทศไนเจอร์ หลังจากรัฐประหารในประเทศไนเจอร์ พ.ศ. 2566 ซึ่งโค่นล้มรัฐบาลของมุฮัมมัด บาซูม การยึดอำนาจรัฐบาลครั้งนี้นำไปสู่วิกฤตการณ์ไนเจอร์ พ.ศ. 2566[1]
การก่อตัว
[แก้]ในตอนเย็นของวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2566[2][3] อามาดู อาบดรามาน ประกาศออกทางโทรทัศน์ช่องเตเลซาแอลของรัฐเพื่ออ้างว่าประธานาธิบดีมุฮัมมัด บาซูม (ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกเจ้าหน้าที่อารักขาประธานาธิบดีควบคุมตัวที่บ้านพักอย่างเป็นทางการของเขาในกรุงนีอาเม) ถูกปลดออกจากอำนาจและประกาศการจัดตั้งรัฐบาลทหาร[2] อาบดรามานซึ่งมีเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบอีก 9 นายนั่งขนาบข้าง กล่าวว่ากองกำลังป้องกันและความมั่นคงได้ตัดสินใจที่จะโค่นล้มรัฐบาลของบาซูม "เนื่องจากสถานการณ์ด้านความมั่นคงที่เลวร้ายลงและการบริหารบ้านเมืองที่ไม่ดี"[4] นอกจากนี้ เขายังประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญของประเทศ ระงับสถาบันของรัฐ ปิดพรมแดนของประเทศ และประกาศเคอร์ฟิวทั่วประเทศตั้งแต่เวลา 22.00 น. ถึง 05.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นจนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม พร้อมกับเตือนไม่ให้ต่างชาติเข้ามาแทรกแซง[5][6]
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม อาบดรามานประกาศทางโทรทัศน์ว่ากิจกรรมทั้งหมดของพรรคการเมืองในประเทศจะถูกระงับจนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม[7] ผู้นำของกองทัพไนเจอร์ออกแถลงการณ์ที่ลงนามโดยอาบดู ซีดีกู อีซา เสนาธิการกองทัพ ประกาศการสนับสนุนรัฐประหารโดยอ้างถึงความจำเป็นในการ "รักษาความสมบูรณ์ของร่างกาย" ของประธานาธิบดีและครอบครัวของเขา และหลีกเลี่ยง "การเผชิญหน้าที่รุนแรง ... ที่อาจก่อให้เกิดการนองเลือดและส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประชากร"[8]
ตำแหน่งผู้นำ
[แก้]เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม อาบดูราอามาน ชียานี ผู้บัญชาการของทหารอารักขาประธานาธิบดีประกาศตนเป็นประธานสภาฯ ในการปราศรัยที่ช่องเตเลซาแอล เขากล่าวว่ารัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยง "จุดจบอย่างช้า ๆ และหลีกเลี่ยงไม่ได้" ของประเทศ และกล่าวว่าบาซูมพยายามซ่อน "ความจริงอันโหดร้าย" ของประเทศ ซึ่งเขาเรียกว่า "กองผู้เสียชีวิต ผู้พลัดถิ่น ความอัปยศอดสู และความคับข้องใจ" นอกจากนี้ เขายังวิพากษ์วิจารณ์ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงของรัฐบาลว่าไร้ประสิทธิภาพ แต่ไม่ได้ระบุระยะเวลาสำหรับการกลับคืนสู่การปกครองของพลเรือน[9][10][11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Niger soldiers announce coup on national TV". BBC News. 26 กรกฎาคม 2023.
- ↑ 2.0 2.1 Mednick, Sam (27 กรกฎาคม 2023). "Mutinous soldiers claim to have overthrown Niger's president". AP. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2023.
- ↑ "Coup d'Etat au Niger : Les militaires putschistes suspendent « toutes les institutions » et ferment les frontières". 20 minutes (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2023.
- ↑ Aksar, Moussa; Balima, Boureima (27 กรกฎาคม 2023). "Niger soldiers say President Bazoum's government has been removed". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กรกฎาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2023.
- ↑ "Soldiers in Niger claim to have overthrown President Mohamed Bazoum". Al-Jazeera. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2023.
- ↑ Peter, Laurence (27 กรกฎาคม 2023). "Niger soldiers announce coup on national TV". BBC. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2023.
- ↑ "Niger army pledges allegiance to coup makers". Aljazeera. 27 กรกฎาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2023.
- ↑ "Niger's army command declares support for military coup". France 24. 27 กรกฎาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2023.
- ↑ "Niger's General Abdourahamane Tchiani declared new leader following coup (state TV)". France 24. 28 กรกฎาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2023.
- ↑ "Niger coup: Abdourahmane Tchiani declares himself leader". BBC. 28 กรกฎาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2023.
- ↑ "Niger general Tchiani named head of transitional government after coup". Aljazeera. 28 กรกฎาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2023.