สปีชีส์เฝ้าระวัง
สปีชีส์เฝ้าระวัง (อังกฤษ: sentinel species) คือ สิ่งมีชีวิตซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่ถูกใช้เพื่อตรวจจับภัยอันตรายต่อมนุษย์ โดยเตือนก่อนจะเกิดอันตราย เป็นคำที่มักถูกใช้กับภัยทางสิ่งแวดล้อม สัตว์บางชนิดสามารถใช้เพื่อเฝ้าระวังได้เพราะว่าพวกมันอาจตอบสนองต่อภัยอันตรายบางอย่างได้เร็วกว่ามนุษย์ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน[1] คนได้สังเกตสัตว์เพื่อเป็นสัญญาณภัยที่ใกล้เข้ามาเป็นเวลานานแล้ว โดยมีการใช้พืชและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เพื่อสิ่งนี้เช่นกัน
ตัวอย่างในประวัติศาสตร์
[แก้]มีตัวอย่างนับไม่ถ้วนของผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมสัตว์ ที่ต่อมาถูกนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ ตัวอย่างแบบดั้งเดิมได้แก่ "นกคีรีบูนในเหมืองถ่านหิน" ความคิดให้นำนกคีรีบูนหรือสัตว์เลือดอุ่นชนิดอื่นเข้าไปในเหมืองเพื่อตรวจจับคาร์บอนมอนอกไซด์ถูกเสนอโดย John Scott Haldane เป็นคนแรกในค.ศ. 1913 หรือหลังจากนั้น[2][3][4] ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักขุดเหมืองถ่านหินนำนกคีรีบูนเข้าไปในเหมืองถ่านหินเพื่อเป็นสัญญาณเตือนของก๊าซพิษ โดยเฉพาะคาร์บอนมอนอกไซด์[5] ด้วยความที่นกไวต่อก๊าซพิษมากกว่า ทำให้พวกมันป่วยก่อนนักขุดเหมืองซึ่งมีโอกาสหนี หรือใช้เครื่องช่วยหายใจ
ในเมืองมินะมะตะวัง ประเทศญี่ปุ่น แมวมักมีอาการ "ไข้แมวเต้น" ก่อนมนุษย์จะได้รับผลกระทบจากการกินปลาที่ปนเปื้อนสารปรอท[6] ตั้งแต่ค.ศ. 1939 สุนัขถูกพบว่ามีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมทอนซิลมากกว่ามนุษย์เมื่อถูกเลี้ยงในเมือง[6] หลายงานวิจัยพบโอกาสเกิดโรคในสัตว์สูงขึ้นเมื่ออยู่กับควันบุหรี่[6] โรคยูโช (Yushō disease) ถูกพบในลักษณะคล้ายกัน เมื่อสัตว์ปีกเริ่มตายในระดับที่น่าตกใจเนื่อจากพิษโพลีคลอริเนตไบฟีนิล (polychlorinated biphenyl) หรือ พีซีบี หลังจากมีคนได้รับผลกระทบประมาณ 14,000 คน
ลักษณะ
[แก้]การเฝ้าระวังโดยสัตว์ต้องมีการตอบสนองต่ออันตรายที่สงสัยซึ่งสามารถวัดได้ ซึ่งอาจเป็น การตายของสัตว์ การหายไป หรือลักษณะอื่น ๆ[1]: 34 หลายสปีชีส์เหล่านี้มักไม่อยู่ในรายชื่อสายพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์และสามารถถูกนำมาใช้ได้ไม่ยาก[7]
ยกตัวอย่างเช่น ผึ้งมีความไวต่อมลพิษทางอากาศ[1]: 35 ทั้งค้างคาวและนกนางแอ่นถูกใช้ในลักษณะคล้ายกันเพื่อเฝ้าดูการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงด้วยความที่พวกมันกินแมลงเป็นอาหารและอาจได้รับผลกระทบจากสารเคมี[1]: 35 ในทางคล้ายกัน สัตว์น้ำ หรือสัตว์ที่กินสัตว์น้ำเป็นหาการถูกใช้เป็นสปีชีส์เฝ้าระวังเรื่องมลพิษทางน้ำ
บางสปีชีส์อาจแสดงผลกระทบของสารปนเปื้อนก่อนมนุษย์เนื่องจากขนาด อัตราการขยายพันธุ์ หรือ การเข้าถึงสารปนเปื้อนที่มากกว่า[7]
การประยุกต์เฉพาะ
[แก้]ก๊าซพิษ
[แก้]นกคีรีบูนถูกใช้ในเหมืองถ่านหินเพื่อสำรวจคาร์บอนมอนอกไซด์ ด้วยความที่นกมีขนาดเล็ก มีอัตราการหายใจและเมแทบอลิซึมสูงเมื่อเทียบกับคนขุดเหมือง ดังนั้นนกจึงตายก่อนเป็นสัญญาณเตือนให้คนขุดเมืองรีบหาทางป้องกัน
มลพิษทางอากาศและน้ำ
[แก้]สัตว์หลายชนิดถูกใช้วัดมลพิษทางอากาศหลากหลายแบบ ตัวอย่างเช่น ผึ้งใช้วัดมลพิษทางอากาศ มอลลัสกา[8] เพื่อวัดคุณภาพน้ำในสายการผลิต และนกพิราบเพื่อวัดสารตะกั่วในอากาศ[1]: 35 ค้างคาวและนกนางแอ่นถูกใช้เพื่อเฝ้าระวังการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลง เนื่องจากการที่พวกมันกินแมลงเป็นอาหารและอาจได้รับผลกระทบจากสารเคมี [1]: 35
มลพิษดีดีทีทางน้ำถูกวัดในปลาจากรัฐแคลิฟอร์เนีย พีซีบีถูกวัดจากการวิเคราะห์ตับปลา[1]: 82 ความเข้มข้นของท็อกซาฟีน (Toxaphene) ถูกพบไกลจากพื้นที่ที่ถูกใช้ ผ่านการวิเคราะห์ปลาเทราท์ในเกรตเลกส์[1]: 85 หลักฐานเกี่ยวกับการกระจายของสารเคมีทางอากาศมีผลกระทบต่อข้อห้ามเกี่ยวกับการใช้ จระเข้ตีนเป็ดเคยถูกใช้เพื่อเตือนการปนเปื้อนในบ่อเก็บกักน้ำที่เมือง Centreville รัฐมิสซิสซิปปี[9]
โรคติดเชื้อ
[แก้]การค้นพบไวรัสเวสต์ไนล์ในซีกโลกตะวันตกถูกประกาศโดยการระบาดของโรคในนกกาและนกป่าชนิดอื่นๆ โรคได้แสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างเหตุการณ์เกี่ยวกับสุขภาพสัตว์และความเสี่ยงในมนุษย์ รวมไปถึง ฝีดาษลิง (Monkeypox) กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (โรคซาร์ส) และไข้หวัดนก ในขณะที่กาฬโรคระบาด หนูเริ่มตายก่อนมนุษย์
พิษในครัวเรือน
[แก้]สุนัขอาจสามารถเตือนเกี่ยวกับอันตรายของพิษสารตะกั่วในครัวเรือนได้ และมะเร็งบางชนิดในสุนัขและแมวถูกเชื่อมโยงกับการสัมผัสกับยาฆ่าแมลง ควันบุหรี่ และสารก่อมะเร็งอื่น ๆ
เหตุการณ์การก่อการร้ายชีวภาพ
[แก้]บางคนเชื่อว่าสัตว์สามารถเตือนเกี่ยวกับการก่อการร้ายที่ใช้อาวุธทางชีวภาพหรือทางเคมีได้ ด้วยความที่อาวุธทางชีวภาพส่วนใหญ่ล้วนเป็นโรคติดจากสัตว์ (zoonoses) สัตว์อาจเป็นสิ่งแรกที่มีอาการป่วย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 National Research Council (U.S.).
- ↑ Acott, C. (1999). "JS Haldane, JBS Haldane, L Hill, and A Siebe: A brief resume of their lives". South Pacific Underwater Medicine Society Journal. 29 (3). ISSN 0813-1988. OCLC 16986801. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-27. สืบค้นเมื่อ 2008-07-12.
- ↑ Boycott, A. E.; Damant, G. C. C.; Haldane, J. S. (1908). "Prevention of compressed air illness". J. Hygiene. 8 (03): 342–443. doi:10.1017/S0022172400003399. PMC 2167126. PMID 20474365. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-24. สืบค้นเมื่อ 2013-09-05.
- ↑ แม่แบบ:The Timetables of Science
- ↑ David A. Bengston, Diane S. Henshel, "Environmental Toxicology and Risk Assessment: Biomarkers and Risk Assessment", ASTM International, 1996, ISBN 0803120311, p 220.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Stephen J. Withrow, David M. Vail, Withrow and MacEwen's Small Animal Clinical Oncology, Elsevier: 2007, ISBN 0721605583, p. 73-4.
- ↑ 7.0 7.1 Arthur D. Bloom, Frederick de Serres, Ecotoxicity and Human Health: A Biological Approach to Environmental Remediation, CRC Press: 1995, ISBN 1566701414, page 76.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-13. สืบค้นเมื่อ 2017-03-01.
- ↑ Eugene Love Fair Jr. (May 28, 2013), "Christmas v. Exxon Mobil", Mississippi Court of Appeals, สืบค้นเมื่อ January 3, 2014More than one of
|accessdate=
และ|access-date=
specified (help)