ข้ามไปเนื้อหา

สนามกีฬาสรทาร วัลลภภาอี ปเฏล (อะห์มดาบาด)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนามกีฬาสรทาร วัลลภภาอี ปเฏล
สนามกีฬานวรงคปุระ
แผนที่
ที่อยู่ประเทศอินเดีย
ที่ตั้งนวรงคปุระ อะห์มดาบาด
เจ้าขององค์การเทศบาลอะห์มดาบาด
ผู้ดำเนินการองค์การคริกเก็ตคุชราต
ความจุ50,000
การก่อสร้าง
สถาปนิกชาลส์ คอรเรีย
การใช้งาน
ทีมคริกเก็ตคุชราต
รัฐบาลรัฐคุชราต

สนามกีฬาสรทาร วัลลภภาอี ปเฏล (อังกฤษ: Sardar Vallabhbhai Patel Stadium) เป็นสนามกีฬาในย่านนวรงคปุระ ในนครอะห์มดาบาด รัฐคุชราต ประเทศอินเดีย เป็นที่จัดการแบ่งขันวันเดย์อินเทอร์เนชั่นนาลครั้งแรกในอินเดีย สนามกีฬาเป็นขององค์การเทศบาลอะห์มดาบาด และใช้งานสำหรับการแข่งกีฬาคริกเก็ตเป็นหลัก

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ในต้นทศวรรษ 1950s แคว้นบอมเบย์ได้มอบที่ดินมูลค่า 67,000 ตารางเมตร (80,000 ตารางหลา) ให้กับสโมสรคริกเก็ตอะห์มดาบาด เพื่อใช้สร้างบ้านสโมสรและสนามแข่ง สโมสรคริกเก็ตได้ส่งมอบงานนี้ต่อยังองค์การเทศบาลอะห์มดาบาด (AMC)[1] เศฐ จินุภาอี จุมันภาอี (Sheth Chinubhai Chimanbhai) ผู้นำอุตสาหกรรมและนายกเทศบาลอะห์มดาบาดในเวลานั้น ได้ว่าจ้างชาลส์ คอเรีย เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบสนามกีฬาและอาคารสโมสร โดยมีวิศวกรโครงสร้าง มเหนทร ราช (Mahendra Raj) เป็นวิศวกรที่ปรึกษาโครงการ[2]

การก่อสร้างเริ่มต้นในปี 1959 แต่เนื่องด้วยปัญหาทางการเงิน สนามกีฬาก่อสร้างเสร็จเพียงบางส่วนในปี 1966 โดยมีหลังคาคลุมแค่ศาลาฝั่งใต้ ต่อมาสแตนด์โดยรอบสนามกีฬาจึงสร้างแล้วเสร็จภายในทศวรรษ 1980s[2][3]

สนามกีฬานี้จัดวันเดย์อินเทอร์เนชั่นนาล (ODI) ครั้งแรกที่แข่งในประเทศอินเดียในปี 1981[3] ซึ่งอินเดีย แข่งกับ อังกฤษ[4][2]

กระทั่งสนามกีฬาโมเตราเริ่มสร้างที่โมเตราในปี 1982 สนามกีฬาสรทาร วัลลภาอี ปเฏล ก็ไม่ได้ถูกใช้งานสำหรับการแข่งขันกีฬาคริกเก็ตนานาชาติอีก การแข่ง ODI ทั้งหมดและการแข่งเทสต์ของเมืองถูกย้ายไปตัดที่โมเตราทั้งหมด สนามกีฬาโมเตราสร้างขึ้นใหม่ในปี 2020 และเปลี่ยนชื่อเป็นสนามกีฬานเรนทร โมที[5]

สถาปัตยกรรม

[แก้]

สนามกีฬานี้มีขนาดพื้นที่ 67,000 ตารางเมตร และใช้รูปแบบโครงสร้างพับอย่างซับซ้อน (complex folded plate structural system) ถือเป็นอาคารแรกในอินเดียที่ใช้ระบบนี้ในการก่อสร้าง คานรับน้ำหนักหลังคารูปเพลตพับ (folded plate cantilever roof) เหนือศาลามีความกว้าง 20 เมตร ยาว 326 ฟุต ทำมาจากคอนกรีตเสริมเหล็กและถือว่ามีความยาวคานมากที่สุดในโลกในตอนปี 1963 ภายนอกเป็นโครงคอนกรีตรูปเรขาคณิต ซึ่งช่วยให้มีพื้นที่เปิดภายใต้ที่นั่งของผู้ชมในสนาม[2][6]

สนามกีฬานี้มีความจุที่นั่งอยู่ที่ 40,000 ถึง 50,000 คน[2][7] รวมถึงมีไฟส่องสว่างทั้งกลางวันและกลางคืน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "GlORIOUS PAST – Sports Club" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-10-16.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Sharma, Ritu (2023-10-08). "Know Your City: Built by Charles Correa, Ahmedabad's iconic Sardar Vallabhbhai Patel Stadium boasts of many firsts". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-10-16.
  3. 3.0 3.1 Trivedi, Tushar (2023-09-23). "Though Many Matches Were Played In The City, It Lacked A Good Stadium; As A Result The AMC In 1960-61 Planned To Built Its Own Stadium In Navrangpura". Ahmedabad Mirror (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-10-16.
  4. "Scorecard". Cricinfo.
  5. "Modern Marvel: World's largest stadium". YouTube. History TV18. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-08-28.
  6. "Ahmedabad: To revamp or raze, that's the only question for SVP stadium". The Times of India. 2023-08-25. ISSN 0971-8257. สืบค้นเมื่อ 2023-10-16.
  7. sportsclub[ลิงก์เสีย]