สนามกีฬาคิม อิล-ซ็อง
สนามกีฬาคิม อิล-ซ็องมุมมองจากทางตะวันตก | |
ชื่อเดิม | Kirimri Stadium Moranbong Stadium |
---|---|
ที่ตั้ง | เปียงยาง เกาหลีเหนือ |
พิกัด | 39°2′37.4″N 125°45′27.7″E / 39.043722°N 125.757694°E |
ความจุ | 50,000 |
พื้นผิว | สนามหญ้าและลู่วิ่ง |
การก่อสร้าง | |
เปิดใช้สนาม | 2469 (ต้นฉบับ) 2512(ปัจจุบัน) |
ปรับปรุง | 2525 |
การใช้งาน | |
ฟุตบอลทีมชาติเกาหลีเหนือ ฟุตบอลหญิงทีมชาติเกาหลีเหนือ เปียงยาง ซิตี้ สปอรต์ คลับ คิกวังชา สปอรต์ คลับ |
สนามกีฬาคิม อิล-ซ็อง | |
โชซ็อนกึล | 김일성경기장 |
---|---|
ฮันจา | 金日成競技場 |
อาร์อาร์ | Gim Il-seong Gyeonggijang |
เอ็มอาร์ | Kim Il-sŏng Kyŏnggijang |
สนามกีฬาคิม อิล-ซ็อง(김일성경기장) เป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในเปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ
ประวัติ
[แก้]สนามกีฬาคิม อิล-ซ็องถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ. ศ. 2469 ในชื่อ Girimri Stadium (기림리공설운동장) สนามแห่งนี้มักใช้ในการจัดการแข่งขันฟุตบอลรายการ Kyung-Pyong Football Match ระหว่าง Kyungsung FC และ Pyongyang FC ในช่วง 1920s 1930s และ 1940s
หลังจากการแบ่งแยกเกาหลี สถานที่แห่งนี้มักถูกใช้ในการกล่าวสุนทรพจน์โดยนักการเมือง และเป็นที่จัดแถลงการของคิม อิล-ซ็องที่กลับจากการถูกเนรเทศเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2488
สนามกีฬาแห่งนี้ถูกทำลายเป็นอย่างมากในช่วงสงครามเกาหลีซึ่งส่วนมากเกิดจากการทิ้งระเบิดทางอากาศของสหรัฐ พอหลังจบสงครามก็ได้มีการสร้างใหม่ในปี พ.ศ.2512
สนามแห่งนี้ในสมัยก่อนมักถูกเรียกว่า "สนามโมเรียนบอง" (Moranbong Stadium) จนในเดือนเมษายน ปี พ.ศ.2525 ได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่เพื่อเป็นเกียรติแก่คิม อิล-ซ็อง และก็ได้ใช้จัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ฟุตบอลและเทศกาลอารีรังเรื่อยมาจนเปลี่ยนไปใช้สนามเมย์เดย์แทนในปี พ.ศ.2533
ปัจจุบัน
[แก้]ทุกวันนนี้สนามกีฬาคิม อิล-ซ็อง ยังใช้ในการแข่งขันทีมชาติ เช่น ฟุตบอลทีมชาติเกาหลีเหนือ ฟุตบอลหญิงทีมชาติเกาหลีเหนือ เปียงยาง ซิตี้ สปอรต์ คลับ และ คิกวังชา สปอรต์ คลับ
ในปี 2551 ในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือกระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้สนามนี้ได้เลือกให้เป็นสนามที่ในใช้การแข่งขัน แต่ต้องไปจัดที่เซี่ยงไฮ้แทนเมื่อเจ้าหน้าที่ในเกาหลีเหนือปฏิเสธที่จะอนุญาตให้มีการส่งเพลงชาติและธงชาติของเกาหลีใต้เข้าไปในสนามกีฬาคิม อิล-ซ็อง[1]
อีกทั้งยังใช้ในการจัดการแข่งขันเปียงยางมาราธอน โดยจะมีจุดเริ่มต้นและเส้นชัยที่สนามแห่งนี้[2]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Clash of North and South Koreas ends all square", The Telegraph, 10 September 2008
- ↑ Robert Willoughby: North Korea 2nd ed. Bradt Travel Guides, 2008
ดูเพิ่ม
[แก้]- Kim Il-Sung Stadium photo at WorldStadiums.com
- Kim Il-Sung Stadium on Google Maps