ข้ามไปเนื้อหา

สถานีแผ่นดินไหว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีแผ่นดินไหว (อังกฤษ: seismic station) เป็นหน่วยปฏิบัติงานเฝ้าระวังปรากฏการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยทั่วไปแบ่งออกเป็นสามกลุ่ม คือ สถานีฐานชั้นหนึ่งบันทึกความรุนแรงของแผ่นดินไหวโดยประมาณในระยะไกล, สถานีฐานชั้นสองบันทึกความรุนแรงของแผ่นดินไหวในท้องถิ่นที่อยู่ห่างไกลทุกประเภท และสถานีภูมิภาคบันทึกแผ่นดินไหวในท้องถิ่น โดยสถานีแผ่นดินไหวชั้นหนึ่งและชั้นสองจะติดตั้งเครื่องตรวจแผ่นดินไหวในพื้นที่ที่เฝ้าระวังที่มีความไวสูง

ประเทศไทยเริ่มมีสถานีแผ่นดินไหวแห่งแรกที่เชิงดอยสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2506[1] ภายใต้การกำกับของกรมอุตุนิยมวิทยาด้วยความร่วมมือของสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ (United States Geological Survey: USGS) ปัจจุบัน สถานีแผ่นดินไหวเชียงใหม่ (Chiang Mai Seismic Station: CHTO) ถือเป็นสถานีแผ่นดินไหวที่มีมาตรฐานการปฏิบัติงานเทียบเท่าสถานีเครือข่ายตรวจวัดแผ่นดินไหวโลก (Global Seismograph Network) ปฏิบัติงานด้วยเครื่องตรวจแผ่นดินไหวแบบดิจิทัลออนไลน์ระบบไอริส (Incorporated Research Institutions for Seismology: IRIS) สามารถเฝ้าระวังเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นทั่วโลกผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ตามเวลาจริง (real time)

สถานีเครือข่ายตรวจวัดแผ่นดินไหวโลก จะมีเว็บไซต์ของสถานีต่าง ๆ ที่รายงานการตรวจวัดออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ตหลายเว็บไซต์

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "รู้จัก "สถานีตรวจแผ่นดินไหวเชียงใหม่"". ประชาไท. 2005-03-31.