ข้ามไปเนื้อหา

สถานีรถไฟเชียงใหม่

พิกัด: 18°47′01″N 99°01′01″E / 18.78365°N 99.01688°E / 18.78365; 99.01688
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สถานีเชียงใหม่)
เชียงใหม่

Chiang Mai
สถานีระดับที่ 1
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ถนนเจริญเมือง ตำบลวัดเกต อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
พิกัด18°47′01″N 99°01′01″E / 18.78365°N 99.01688°E / 18.78365; 99.01688
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม
สาย
ชานชาลา4
ทางวิ่ง7
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ที่จอดรถมีบริการ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี1222 (ชม.)
ประเภทสถานีระดับที่ 1
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ1 มกราคม พ.ศ. 2464 (104 ปี)
สร้างใหม่พ.ศ. 2488; 80 ปีที่แล้ว (2488)
ชื่อเดิมสถานีป๋ายราง
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
สารภี สายเหนือ สถานีปลายทาง
เชียงใหม่
Chiang Mai
กิโลเมตรที่ 751.42
สารภี
Saraphi
−8.64 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายเหนือ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีรถไฟเชียงใหม่ (อังกฤษ: Chiang Mai Railway Station) ตั้งอยู่ที่ ถนนเจริญเมือง ตำบลวัดเกต อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 751.424 กิโลเมตร เป็นสถานีรถไฟปลายทางชั้น 1 ของทางรถไฟสายเหนือ ใช้สัญญาณแบบ ตัวย่อของสถานีคือ ชม.

ประวัติ

[แก้]

สถานีรถไฟเชียงใหม่ก่อสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 และเปิดเดินรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2464 โดยเส้นทางช่วงปางยาง - อุโมงค์ขุนตาน - เชียงใหม่ ซึ่งมีระยะทาง 72 กิโลเมตร และเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายเหนือ มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นผู้บัญชาการ และมีนายช่างชาวเยอรมัน เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง

หลังจากที่ทางรถไฟสายเหนือสร้างมาถึงเชียงใหม่ ทำให้การเดินทางจากกรุงเทพขึ้นมาเชียงใหม่ใช้เวลาไม่นานเหมือนแต่ก่อน ผู้คนจำนวนมากหันมาใช้บริการของรถไฟจึงทำให้แต่ละขบวนแออัดไปด้วยผู้โดยสาร จนบางครั้งต้องออกแรงปีนขึ้นไปนั่งบนหลังคาก็มี หลังจากนั้นทางมณฑลพายัพจึงได้สร้างสถานีรถไฟประจำเชียงใหม่ขึ้น ชาวบ้านเรียกสถานีนี้ว่า “สถานีป๋ายราง” หมายถึงที่สิ้นสุดของรางรถไฟ หลังการก่อสร้างสถานีรถไฟเชียงใหม่เสร็จก็ได้มีพิธีเปิดทำการเดินรถไฟสายเหนือขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2464

อาคารสถานีรถไฟเชียงใหม่หลังแรก สร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว ถือได้ว่าเป็นอาคารที่สวยงามมาก เพราะเป็นประตูผ่านเข้าออกระหว่างเชียงใหม่กับต่างจังหวัดที่มีคนใช้กันมากที่สุด สถานีรถไฟเชียงใหม่หลังแรกนี้เคยถูกใช้เป็นที่รับเสด็จ ฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินประพาสมณฑลพายัพ

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สถานีรถไฟเชียงใหม่หลังนี้ ถูกเครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดพังพินาศไปพร้อมกับชีวิตคนนับร้อย รวมทั้งอาคารบ้านเรือน โกดังเก็บสินค้าที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงราบเรียบไปหมดเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2486 หลังจากสถานีเชียงใหม่ถูกระเบิด ทางราชการต้องประกาศงดใช้สถานีรถไฟแห่งนี้ไปหลายปี ผู้โดยสารที่เดินทางโดยรถไฟต้องไปขึ้นลงที่สถานีป่าเส้า จังหวัดลำพูนแทน ต่อมาเมื่อสงครามสงบแล้วจึงได้สร้างสถานีรถไฟขึ้นมาใหม่ในที่เดิมในปี พ.ศ. 2488 และเปิดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2491 และใช้มาจนถึงปัจจุบัน [1]

ตารางเวลาการเดินรถ

[แก้]
ณ วันที่ 19 มกราคม 2566

เที่ยวไป

[แก้]
ขบวนรถ ต้นทาง เชียงใหม่ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ดพ9 กรุงเทพอภิวัฒน์ 18.40 ปลายทาง เชียงใหม่ 07.15
ดพ13 กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.05 ปลายทาง เชียงใหม่ 08.40
ด51 กรุงเทพอภิวัฒน์ 22.30 ปลายทาง เชียงใหม่ 12.10
ท407 นครสวรรค์ 05.00 ปลายทาง เชียงใหม่ 14.35
ดพ7 กรุงเทพอภิวัฒน์ 09.05 ปลายทาง เชียงใหม่ 19.30
ร109 กรุงเทพอภิวัฒน์ 14.15 ปลายทาง เชียงใหม่ 04.05
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

เที่ยวกลับ

[แก้]
ขบวนรถ ต้นทาง เชียงใหม่ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ร102 เชียงใหม่ 06.30 ต้นทาง กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.25
ดพ8 เชียงใหม่ 08.50 ต้นทาง กรุงเทพอภิวัฒน์ 18.55
ท408 เชียงใหม่ 09.30 ต้นทาง นครสวรรค์ 19.55
ด52 เชียงใหม่ 15.30 ต้นทาง กรุงเทพอภิวัฒน์ 05.10
ดพ14 เชียงใหม่ 17.00 ต้นทาง กรุงเทพอภิวัฒน์ 06.10
ดพ10 เชียงใหม่ 18.00 ต้นทาง กรุงเทพอภิวัฒน์ 06.50
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

แผนผังสถานี

[แก้]
----------------|----------|----------|----------|----------|------ รางหลีก ------|----------|----------|----------|----------|----------------
----------------|----------|----------|----------|----------|------ รางหลีก ------|----------|----------|----------|----------|----------------
----------------|----------|----------|----------|----------|------ รางหลีก ------|----------|----------|----------|----------|----------------
ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร,

อาคารพักผู้โดยสาร,

ร้านอาหาร

------------|----------|----------|----------|------------|----------|----------|----------|------------ มุ่งหน้า สารภี
ชานชาลาเกาะกลาง 3-4
------------|----------|----------|----------|------------|----------|----------|----------|------------ มุ่งหน้า สารภี
ชานชาลาเกาะกลาง 2
-----|----------|----------|----------|----------|------ รางหลีก ------|----------|----------|----------|----------|-----
-----|----------|----------|----------|----------|------ รางหลีก ------|----------|----------|----------|----------|-----
ชานชาลาเกาะกลาง 1
-----|----------|----------|----------|----------|------ รางหลีก ------|----------|----------|----------|----------|-----

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-20. สืบค้นเมื่อ 2019-01-03.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]