สถานีวอสตอค
สถานีวอสตอก ста́нция Восто́к | |
---|---|
ภาพถ่ายของสถานีวอสตอก | |
ที่ตั้งของสถานีวอสตอกในทวีปแอนตาร์กติกา | |
พิกัด: 78°27′50″S 106°50′15″E / 78.463889°S 106.83757°E | |
ประเทศ | รัสเซีย |
ที่ตั้ง | Princess Elizabeth Land ทวีปแอนตาร์กติกา |
บริหารโดย | Arctic and Antarctic Research Institute |
ก่อตั้ง | 16 ธันวาคม ค.ศ. 1957 |
ตั้งชื่อจาก | วอสตอค |
ความสูง | 3,489 เมตร (11,447 ฟุต) |
ประชากร | |
• ทั้งหมด | สูงถึง 25 คน |
เขตเวลา | UTC+6 |
Type | ทั้งปี |
ระยะเวลา | ทุกปี |
สถานะ | เปิดใช้งาน |
เว็บไซต์ | aari |
Vostok Skiway | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||
การใช้งาน | Private | ||||||||||
ที่ตั้ง | Princess Elizabeth Land | ||||||||||
เหนือระดับน้ำทะเล | 11,447 ฟุต / 3,489 เมตร | ||||||||||
พิกัด | 78°27′58″S 106°50′54″E / 78.466139°S 106.84825°E | ||||||||||
แผนที่ | |||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||
| |||||||||||
สถานีวอสตอค (รัสเซีย: ста́нция Восто́к, อักษรโรมัน: stántsiya Vostók) เป็นสถานีวิจัยในทวีปแอนตาร์กติกาของรัสเซีย (อดีตสหภาพโซเวียต) ที่ซึ่งสามารถตรวจวัดอุณหภูมิที่ต่ำที่สุดบนโลกเท่าที่เคยบันทึก โดยวัดได้ −89.2 องศาเซลเซียส (−128.6 องศาฟาเรนไฮต์; 184.0 เคลวิน)[2] สถานีดังกล่าวทำการวิจัยเกี่ยวกับการเจาะแกนน้ำแข็งและการวัดความเข้มข้นของสนามแม่เหล็ก วอสตอคหรือวัสตอค (เป็นภาษารัสเซียหมายถึง "ตะวันออก") ตั้งชื่อตามชื่อเรือของฟาเบียน ฟอน เบลลิงส์เฮาเซิน นักสำรวจทวีปแอนตาร์กติกา
รายละเอียด
[แก้]สถานีวิจัยวอสตอคตั้งอยู่จากขั้วโลกใต้ราว 1,300 กิโลเมตร บนใจกลางแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกตะวันออกภายในพื้นที่ออสเตรเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี แต่เนื่องจากออสเตรเลียเป็นประเทศผู้ลงนามในระบบสนธิสัญญาแอนตาร์กติก ทำให้ออสเตรเลียไม่ได้ใช้สิทธิ์ความเป็นอธิปไตยเหนือพื้นที่ดังกล่าว
สถานีวอสตอคตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณที่เหมาะสำหรับการสังเกตการเปลี่ยนแปลงทรงกลมสนามแม่เหล็กโลก การศึกษาอื่น ๆ เกี่ยวข้องกับธรณีฟิสิกส์ การแพทย์ วิชาการแผ่รังสีและภูมิอากาศวิทยา
สถานีดังกล่าวตั้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 3,488 เมตร (11,444 ฟุต) และเป็นหนึ่งในสถานีวิจัยที่ตั้งอยู่ห่างไกลที่สุดบนทวีปแอนตาร์กติกา[3] สถานีดังกล่าวได้รับเสบียงจากสถานีมีร์นืย ซึ่งตั้งอยู่บนชายฝั่งของทวีป[4] สถานีดังกล่าวมีนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรทำงานอยู่ 25 คนในฤดูร้อน แต่ในช่วงฤดูหนาว จำนวนผู้ที่ทำงานลดเหลือ 13 คน[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Vostok Skiway". Airport Nav Finder. สืบค้นเมื่อ 17 October 2018.
- ↑ Global Measured Extremes of Temperature and Precipitation. National Climatic Data Center. Retrieved on 21 June 2007.
- ↑ Winchester, Simon (2003). Extreme Earth. Collins. pp. 168–169. ISBN 0-00-716392-4.
- ↑ "Mirny Observatory". 14 July 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2015.
- ↑ "Russia abandons Ice Station Vostok". 4 March 2003 – โดยทาง news.bbc.co.uk.