ข้ามไปเนื้อหา

สถานีรถไฟกัมบีร์

พิกัด: 6°10′36″S 106°49′50″E / 6.176716°S 106.830508°E / -6.176716; 106.830508
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กัมบีร์
ชานชาลาสถานีรถไฟกัมบีร์
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งจัตุรัสเมอร์เดกา จาการ์ตา  อินโดนีเซีย
พิกัด6°10′36″S 106°49′50″E / 6.176716°S 106.830508°E / -6.176716; 106.830508
เจ้าของบริษัท รถไฟอินโดนีเซีย จำกัด
ชานชาลาชานชาลาเกาะกลาง 2 แห่ง
ทางวิ่ง4
โครงสร้าง
ที่จอดรถมี
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีGMR
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการค.ศ. 1884
สร้างใหม่ประมาณ ค.ศ. 1990
ภาพมุมสูงของสถานีรถไฟกัมบีร์ มองจากอนุสาวรีย์แห่งชาติ

สถานีรถไฟกัมบีร์ (อินโดนีเซีย: Stasiun Gambir; ตัวย่อ: GMR) เป็นสถานีรถไฟในตำบลกัมบีร์ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของจัตุรัสเมอร์เดกา สถานีรถไฟแห่งนี้สร้างในยุคอาณานิคมดัตช์ และได้รับการบูรณะในคริสต์ทศวรรษ 1990

สถานีรถไฟกัมบีร์เป็นสถานีปลายทางของรถไฟระหว่างเมืองบนเกาะชวา และมีรถไฟฟ้าชานเมืองวิ่งผ่าน 2 สาย ได้แก่ สายสีน้ำเงินและสายสีแดง โดยทั้งสองสายไม่หยุดรับ-ส่งผู้โดยสารที่สถานีนี้ สถานีรถไฟกัมบีร์จะให้บริการเฉพาะรถไฟชั้น 1 และชั้น 2 เท่านั้น ส่วนรถไฟชั้น 3 และชั้น 2 บางขบวน ให้บริการที่สถานีรถไฟปาซาร์เซอเน็น

ประวัติ

[แก้]
ภาพถ่ายทางอากาศของสถานีรถไฟกัมบีร์ ใน ค.ศ. 1940

ในช่วง ค.ศ. 1871–1884 สถานีรถไฟกัมบีร์มีสถานะเป็นที่หยุดรถเล็ก ๆ ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจัตุรัสเมอร์เดกา[1] ต่อมาได้สร้างสถานีรถไฟแห่งใหม่แทนที่ที่หยุดรถแห่งเดิม โดยสถานีรถไฟแห่งใหม่ มีสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิก ต่อมา ค.ศ. 1928 ได้รับการปรับปรุงสถาปัตยกรรมเป็นแบบอลังการศิลป์ ใน ค.ศ. 1990 ได้รับการปรับปรุงสถาปัตยกรรมเป็นแบบโจโกล ซึ่งมีหน้ามุขเป็นสีเขียว ทำด้วยเซรามิก

ชื่อของสถานี

[แก้]
  • ที่หยุดรถไฟโกนิงส์ไปลน์ (ค.ศ. 1871–1884)
  • สถานีรถไฟแว็ลเตอเฟรเดิน (ค.ศ. 1884–1937)
  • สถานีรถไฟบาตาฟียาโกนิงส์ไปลน์ (ค.ศ. 1937–1949)
  • สถานีรถไฟกัมบีร์ (ค.ศ. 1949–ปัจจุบัน)

ตัวอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวก

[แก้]

อาคารสถานีรถไฟกัมบีร์มีทั้งหมด 3 ชั้น

  • ชั้นที่ 1 ประกอบไปด้วยแผงเช่า ร้านอาหาร ตลาดเล็ก ที่จำหน่ายบัตรโดยสาร ที่ตรวจบัตรโดยสาร
  • ชั้นที่ 2 ประกอบไปด้วยที่พักผู้โดยสาร แผงขายอาหาร ร้านกาแฟ ร้านค้า
  • ชั้นที่ 3 ประกอบไปด้วยชานชาลาเกาะกลาง 2 แห่ง รองรับทางรถไฟ 4 ทาง

นอกจากนี้ยังมีตู้เอทีเอ็ม ห้องน้ำ โทรศัพท์สาธารณะ และลิฟต์ ปรากฏในทุก ๆ ชั้นของสถานี และมีลานจอดรถแท็กซี่ทางด้านทิศตะวันออกของสถานี

เส้นทางที่ให้บริการ

[แก้]

รถไฟระหว่างเมือง

[แก้]
ขบวนรถไฟ จุดหมายปลายทาง
สายอาร์โกโบรโมอังเกร็ก สถานีรถไฟซูราบายาปาซาร์ตูรี จังหวัดชวาตะวันออก
สายอาร์โกดวีปังกา สถานีรถไฟโซโลบาลาปัน จังหวัดชวากลาง
สายอาร์โกจาตี สถานีรถไฟจีเรอบน จังหวัดชวาตะวันตก
สายอาร์โกลาวู สถานีรถไฟโซโลบาลาปัน จังหวัดชวากลาง
สายอาร์โกมูรียา สถานีรถไฟเซอมารังตาวัง จังหวัดชวากลาง
สายอาร์โกปาราฮียางัน สถานีรถไฟบันดุง จังหวัดชวาตะวันตก
สายอาร์โกซินโดโร สถานีรถไฟเซอมารังตาวัง จังหวัดชวากลาง
สายบางุนการ์ตา สถานีรถไฟซูราบายากูเบ็ง จังหวัดชวาตะวันออก
สายบีมา สถานีรถไฟซูราบายากูเบ็ง จังหวัดชวาตะวันออก
สายรถด่วนจีเรอบน สถานีรถไฟจีเรอบน จังหวัดชวาตะวันตก
สายกาจายานา สถานีรถไฟมาลัง จังหวัดชวาตะวันออก
สายปูร์โวจายา สถานีรถไฟจีลาจัป จังหวัดชวา
สายเซิมบรานี สถานีรถไฟซูราบายาปาซาร์ตูรี จังหวัดชวาตะวันออก
สายตักซากา สถานีรถไฟยกยาการ์ตา เขตการปกครองพิเศษยกยาการ์ตา
สายเตอกัลบาฮารี สถานีรถไฟเตอกัล จังหวัดชวาตะวันออก

มีรถไฟฟ้าชานเมือง กาเอร์เอ็ล โกมูเตอร์ไลน์ วิ่งผ่านสถานีรถไฟกัมบีร์อยู่ 2 สาย คือ

นับตั้งแต่ ค.ศ. 2013 รถไฟฟ้าชานเมืองยกเลิกการหยุดรับ-ส่งผู้โดยสารที่สถานีรถไฟกัมบีร์ เนื่องจากมีปริมาณรถไฟระหว่างเมืองมากแล้ว ผู้โดยสารชานเมืองสามารถลงที่สถานีรถไฟจูวันดาหรือสถานีรถไฟกนดังดียา แล้วต่อรถโดยสารมายังสถานีรถไฟกัมบีร์ได้

การเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น

[แก้]

รถโดยสารประจำทาง ดัมรี

[แก้]

รถโดยสารประจำทางของบริษัท ดัมรี สายสถานีรถไฟกัมบีร์–ท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตา ให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 1.00–21.00 น.[2] ค่าโดยสาร 25,000 รูเปียะฮ์

รถโดยสารประจำทางทั่วไป

[แก้]

รถโดยสารของมายาซารีบักตี

[แก้]
  • สาย AC63 (ปาซาร์บารู – เบอกาซี)
  • สาย AC116 (เซอเน็น – โปริซปลาวัด)
  • สาย P7 (ปูโลกาดุง – โกรกล)
  • สาย P14 (ตานะฮ์อาบัง – ตันจุงปรียก)
  • สาย R507 (ตานะฮ์อาบัง – ปูโลกาดุง)

รถโดยสารของเปเปเด

[แก้]

รถโดยสารอื่น ๆ

[แก้]
  • เมโตรมีนี สาย P06 (เซอเน็น – ตันจุงปรียก)

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. (ดัตช์) "Mail overzicht", (16 September 1871), Java-bode, p. 3
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-08. สืบค้นเมื่อ 2015-07-31.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]