ข้ามไปเนื้อหา

สถานีนำร่อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีนำร่องเก่าที่เกาะอูราลูโอโต

สถานีนำร่อง (อังกฤษ: pilot station) เป็นสำนักงานใหญ่สำหรับผู้นำร่องบนฝั่ง ในทะเล หรือสถานที่ที่สามารถว่าจ้างผู้นำร่องได้ หากต้องการเดินทางจากสถานีนำร่องไปยังเรือที่กำลังแล่นเข้ามา ผู้นำร่องอาจจะต้องใช้ยานพาหนะที่มีความเร็วเพื่อไปให้ถึงเรือที่ต้องการการนำร่อง เช่น เรือนำร่อง

ประวัติ

[แก้]

ในอดีต สถานีนำร่องมักจะตั้งอยู่บนเกาะหรือในพื้นที่อื่น ๆ ในทะเลใกล้กับท่าเรือ ทำให้ผู้นำร่องมีเวลามากพอที่จะเดินทางไปยังเรือที่กำลังแล่นผ่านเข้ามา โดยมีเรือสองลำที่ทำงานหมุนเวียนกันตลอดเวลา เรือนำร่องจะประจำการอยู่ที่สถานีอาจจะนานถึง 1 สัปดาห์ ผู้นำร่องจะถูกส่งลงที่สถานีนำร่องหลังจากนำทางเรือเข้ามาเพื่อไปยังเรืออีกลำที่จะเดินทางในขาออก[1]

เรือที่ทำงานร่วมกันกับสถานีนำร่องมักเรียกว่า เรือประจำสถานี (station boat) โดยมีสถานีนำร่องเคปค้อด และกระโจมไฟบอสตันเป็นตัวอย่างของสถานีนำร่อง เรือประจำสถานีจะอยู่ระหว่างเส้นแบ่งระหว่างกระโจมไฟเรซพอยท์ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือและกระโจมไฟไฮท์แลนด์ไปทางใต้ สถานีนำร่องเคปค้อดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2416 ผู้นำร่องจะมี "รองสถานี" ซึ่งจะคอยลาดตระเวนในพื้นที่โดยไม่ออกไปไกลกว่านั้น หากพบว่ามีผู้นำร่องไม่ปฏิบัติงานบนเรือตามที่กำหนดก็จะรายงานไปยังผู้กำกับการสถานีนำร่อง ซึ่งรองสถานีสามารถเดินทางไปได้ทุกที่ที่ต้องการ โดยบางส่วนอาจจอยู่ห่างจากท่าเรือเป็นระยะทางกว่า 300 ไมล์หรือมากกว่านั้น[2]

ปัจจุบัน

[แก้]

เรื่อนำร่องในปัจจุบันนั้นมีความเร็วกว่าในอดีตมาก ปัจจุบันสถานีนำร่องส่วนใหญ่อยู่บนแผ่นดินใหญ่ เช่น สถานีนำร่องแอมโบรสเป็นตัวอย่างของสถานีนำร่องที่ใช้งานโดยผู้นำร่องแซนดี้ฮุคในปัจจุบัน[3] โดยเรือจะแจ้งสถานีนำร่องผ่านทางวิทยุเมื่อคาดว่าจะเข้าสู่ท่าเรือ ซึ่งสถานีนำร่องจะมีวิทยุและเรดาร์เผื่อให้สามารถพูดคุยกับกัปตันเรือและมองเห็นเรือเมื่อแล่นเข้ามาใกล้ สถานีนำร่องอาจจะสั่งให้ผู้นำร่องไปขึ้นเรือและนำทางเข้าสู่ท่าเรือ หลังจากที่ผู้นำร่องขึ้นเรือแล้ว เรือนำร่องจะกลับมาประจำที่สถานีนำร่อง[4]

ในบางครั้ง สถานีนำร่อง อาจหมายถึงสถานที่บนสะพานเดินเรือที่ผู้นำร่องอยู่ในตำแหน่งขณะนำทางเรือ เช่น ห้องนำร่อง แต่ไม่ค่อยมีการใช้งาน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Cunliffe, Tom (2001). Pilots, The World Of Pilotage Under Sail and Oar. Brooklin, Maine: WoodenBoat. p. 205. ISBN 9780937822692.
  2. Lampee, Charles I. (1959). "Memories of Cruises on Boston Pilot Boats of Long Ago". Nautical Research Journal. 10 (2): 44–58.
  3. Henry, Thomas E. (2008). Next voyage will be different. Indianapolis, IN: Dog Ear Publishing. p. 98.
  4. Huntington, Harriet E. (1964). California Harbors. Garden City, N.Y., Doubleday. p. 63.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]