สตีร์ลิตซ์
มักซ์ ออทโท ฟอน สตีร์ลิตซ์ | |
---|---|
ตัวละครใน นวนิยายชุด สตีร์ลิตซ์ ของ Yulian Semyonov | |
วยาเชสลาฟ ทิคโฮนอฟ ในบท สตีร์ลิตซ์ | |
ปรากฏครั้งแรก | No Password Required นวนิยายปี 1966 |
ปรากฏครั้งสุดท้าย | Isaev ละครโทรทัศน์ชุดปี 2009 |
สร้างโดย | Yulian Semyonov |
แสดงโดย | Rodion Nakhapetov (1967) Vladimir Zamansky (1968) วยาเชสลาฟ ทิคโฮนอฟ (1973) วลาดีมีร์ อีวาชอฟ (1975) Vsevolod Safonov (1976) Uldis Dumpis (1980) Vasily Antonov (2001) Daniil Strakhov (2009) |
ให้เสียงโดย | วยาเชสลาฟ ทิคโฮนอฟ (1984) |
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง | |
นามแฝง | Bruno, Bolsen, Max, Massimo etc. |
เพศ | ชาย |
ตำแหน่ง | พันเอก (สหภาพโซเวียต) เอ็สเอ็ส-ชตันดาร์เทินฟือเรอร์ (เยอรมนี) |
อาชีพ | สายลับ |
สังกัด | People's Commissariat for State Security |
ครอบครัว | Vladimir Vladimirov (พ่อ) Olesia Prokopchuk (แม่) |
คู่สมรส | Alexandra Gavrilina |
บุตร | Alexander Vladimirov |
สัญชาติ | โซเวียต |
มักซ์ ออทโท ฟอน สตีร์ลิตซ์ (รัสเซีย: Макс О́тто фон Шти́рлиц) เป็นตัวเอกในชุดหนังสือยอดนิยมของสหภาพโซเวียตที่เขียนในคริสต์ทศวรรษที่ 1960 โดยนักประพันธ์ Yulian Semyonov และมินิซีรีสของสหภาพโซเวียต เซมนัดซัตมกโนเวนีย์เวสนืย ซึ่งนำแสดงโดย วยาเชสลาฟ ทิคโฮนอฟ เช่นเดียวกับในภาพยนตร์เรื่องยาวที่ผลิตในยุคโซเวียตและในหลายยุคต่อมายังมีนักแสดงคนอื่น ๆ มารับบทเป็นสตีร์ลิตซ์ในภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ อีกหลายเรื่อง สตีร์ลิตซ์ได้กลายเป็นรูปแบบของสายลับในวัฒนธรรมโซเวียตและยุคหลังโซเวียตคล้ายกับเจมส์ บอนด์ ในวัฒนธรรมตะวันตก
ในจักรวาลของ เซมนัดซัตมกโนเวนีย์เวสนืย สตีร์ลิตซ์ เป็นนามแฝงของพันเอก มักซิม มักซีโมวิช อีซาเยฟ (Макси́м Макси́мович Иса́ев) หรือ "ชื่อจริง" คือ วเซโวลอด วลาดีมีโรวิช วลาดีมีรอฟ (Все́волод Влади́мирович Владимиров)[1]
สตีร์ลิตซ์ มีบทบาทสำคัญในไรช์ซิเชอร์ไฮท์เชาพ์ทัมท์ ในกรุงเบอร์ลินในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาแทรกซึมหน่วยAusland-SD (ข่าวกรองต่างประเทศ) ซึ่งนำโดยวัลเทอร์ เชลเลินแบร์ก สตีร์ลิตซ์พยายามรวบรวมข่าวกรองเกี่ยวกับแผนการสงครามของเยอรมันอย่างลับ ๆ และติดต่อกับมอสโก เขาได้รับคำแนะนำจากมอสโกว่าจะดำเนินการอย่างไรบ้างในการเดินทางไปยังประเทศสวิสเซอร์แลนด์เพื่อทำภารกิจลับ[2] เกี่ยวกับการสืบโครงการวิจัยอาวุธนิวเคลียร์ "Vengeance Weapon" ซื่งจะนำมาสู่ความสูญเสียอย่างมหาศาล และ ขัดขวางการเจรจาสันติภาพระหว่างนาซีเยอรมนี สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา
นวนิยายที่สตีร์ลิตซ์ปรากฏตัว
[แก้]เรื่อง | ปีที่ปรากฏตัว | ปีที่ตีพิมพ์ |
---|---|---|
Бриллианты для диктатуры пролетариата (Diamonds for the Dictatorship of the Proletariat) | 1921 | 1974 |
Пароль не нужен (No Password Required) | 1921—1922 | 1966 |
Нежность (Tenderness) | 1927 | 1975 |
Испанский вариант (Spanish Variant) | 1938 | 1973 |
Альтернатива (Alternative) | 1941 | 1978 |
Третья карта (Third Card) | 1941 | 1973 |
Майор «Вихрь» (Major "Whirlwind") | 1944—1945 | 1968 |
Семнадцать мгновений весны (เซมนัดซัตมกโนเวนีย์เวสนืย) | 1945 | 1969 |
Приказано выжить (The Order is to Survive) | 1945 | 1982 |
Экспансия — I (Expansion – Part I) | 1946 | 1984 |
Экспансия — II (Expansion – Part II) | 1946 | 1987 |
Экспансия — III (Expansion – Part III) | 1947 | 1987 |
Отчаяние (Despair) | 1947-1953 | 1990 |
Бомба для председателя (A Bomb for the Chairman) | 1967 | 1970 |
ดูเพื่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ According to the first novel about him, "Diamonds for the Dictatorship of the Proletariat"
- ↑ Beumers, Birgit (2005). Pop culture Russia!: media, arts, and lifestyle. ABC-CLIO. p. 196. ISBN 978-1-85109-459-2.