สตาร์เกเซอร์ (กันดั้ม)
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
GSX-401FW สตาร์เกเซอร์ เป็นโมบิลสูทในการ์ตูนซีรีส์กันดั้มซี้ด C.E.73 สตาร์เกเซอร์ ที่พัฒนาโดย DSSD (Deep Space Survey and Development Organization) ซึ่งสร้างโดยคาดว่ามีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาพื้นที่อวกาศที่ไกลโพ้น ปรากฏตัวครั้งแรกในตอนท้ายของตอนที่ 1
บทบาท
[แก้]สตาร์เกเซอร์ถูกสร้างขึ้นเป็นเครื่องทดสอบในการสำรวจอวกาศของ DSSD ซึ่งในระหว่างทดสอบขั้นสุดท้าย กองกำลังแฟนทอมเพนของกองทัพโลกก็ได้เข้าโจมตีเสียก่อน โดยมีจุดมุ่งหมายในการชิงเอาระบบ A.I. ที่ DSSD พัฒนาอยู่ สตาร์เกเซอร์ซึ่งขับโดย เซเลเน่ แม็กกริฟ และ โซล รูจ แลงได้เข้าต่อกรกับกองกำลังของแฟมทอมเพน และด้วยความสามารถของสตาร์เกเซอร์ก็ทำให้กองกำลังของแฟมทอมเพนถูกกำจัดไปเรื่อยๆ โดยในช่วงสุดท้ายสตาร์เกเซอร์ได้เข้าต่อกรกับสไตรค์นัวร์อย่างดุเดือด และทั้งสองฝ่ายก็ถูกปืนลำแสงจากกระสวยอวกาศของ DSSD ยิงจนกระเด็นไปไกลถึงบริเวณเส้นทางระหว่างโลกถึงดาวศุกร์ แต่สตาร์เกเซอร์ก็ยังมีระบบที่สามารถทำงานได้โดยอาศัยพลังของลมสุริยะเพื่อการเดินทางกลับต่อได้
ความสามารถ
[แก้]GSX-401FW สตาร์เกเซอร์ | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
ประเภท | โมบิลสูทสำหรับสำรวจอวกาศแบบไร้คนบังคับ |
ความสูง | 18.94 เมตร (วัดถึงหัว) |
น้ำหนัก | 76.22 ตัน 83.59 ตัน (ติดตั้งวัวตูร์ลูมิแยร์) |
อุปกรณ์ | ปืนพกบีม เครื่องกำเนิดบีมชิลด์ |
คุณสมบัติพิเศษ | A.I.ยูนิต ระบบขับเคลื่อนด้วยแสง "วัวตูร์ลูมิแยร์" ระบบซ่อมแซมนาโนมาชีน |
นักบินสำคัญ | โซล รูจ แลง เซเลเน่ แม็กกริฟ |
แม้ว่าสตาร์เกเซอร์จะเป็นโมบิลสูทที่สร้างขึ้นเพื่อการพัฒนาอวกาศ ไม่ใช่การรบโดยตรง แต่ก็เป็นโมบิลสูทที่มีความสามารถในการรบที่สูงในระดับหนึ่ง วงแหวนของสตาร์เกเซอร์มีคุณสมบัติในการเพิ่มความเร็วของตัวเครื่องให้สูงกว่าปกติได้ นอกจากนี้ยังสร้างลำแสงเพื่อสะท้อนบีมของอีกฝ่ายกลับไปได้ และสามารถเปลี่ยนลำแสงที่ถูกยิงใส่ให้กลายเป็นวงแหวนลำแสงที่มีคุณสมบัติตัดวัตถุที่เคลื่อนผ่านได้ และมีระบบ "Voiture Lumiere" ที่สามารถเปลี่ยนลมสุริยะให้กลายเป็นพลังงานให้กับตัวเครื่องได้ยามฉุกเฉิน นอกจากนี้สตาร์เกเซอร์ยังมีโครงการที่จะพัฒนาให้ใช้ระบบ A.I.(Artificial Intelligence) ในการควบคุมอีกด้วย หากแต่จะต้องใช้เวลาในการทดสอบการบินมากกว่าหมื่นชั่วโมงกว่าระบบ A.I. จะมีประสิทธิภาพสูงพอที่จะสามารถตัดสินใจด้วยตนเองได้