สตานิสลาฟ เปตรอฟ
สตานิสลาฟ เปตรอฟ | |
---|---|
เปตรอฟ ในปี 2016 | |
เกิด | สตานิสลาฟ เยฟกราโฟวิช เปตรอฟ 7 กันยายน ค.ศ. 1939 วลาดีวอสตอค, สหภาพโซเวียต (ปัจจุปันเป็น วลาดีวอสตอค, รัสเซีย) |
เสียชีวิต | 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2017 Fryazino, รัสเซีย | (77 ปี)
มีชื่อเสียงจาก | 1983 เหตุการณ์เตือนภัยนิวเคลียร์เท็จของสหภาพโซเวียต |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | สหภาพโซเวียต |
แผนก/ | กองกำลังป้องกันทางอากาศโซเวียต |
ชั้นยศ | นาวาอากาศโท |
สตานิสลาฟ เยฟกราโฟวิช เปตรอฟ (รัสเซีย: Станислав Евграфович Петров) เป็นนาวาอากาศโทเกษียณของกองกำลังป้องกันทางอากาศโซเวียต ผู้เบี่ยงเบนไปจากระเบียบการของโซเวียตตามปกติโดยสามารถระบุการเตือนภัยการโจมตีด้วยขีปนาวุธว่าเป็นสัญญาณหลอกได้อย่างถูกต้องเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2526[1] การตัดสินใจดังกล่าวอาจช่วยป้องกันการโจมตีด้วยนิวเคลียร์ตอบโต้สหรัฐอเมริกาและพันธมิตรตะวันตกจากความเข้าใจผิด การสืบสวนระบบเตือนภัยดาวเทียมยืนยันว่า ระบบทำงานผิดพลาด
เหตุการณ์
[แก้]มีหลายรายงานว่าเปตรอฟได้รายงานการเตือนภัยดังกล่าวต่อผู้บังคับบัญชาหรือไม่ และตั้งคำถามถึงส่วนการตัดสินใจของเขาในการป้องกันสงครามนิวเคลียร์ เพราะ ตามข้อมูลของผู้แทนถาวรแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย การตอบโต้ด้วยนิวเคลียร์นั้นมีรากฐานจากหลายแหล่งข้อมูลซึ่งยืนยันว่ามีการโจมตีจริง[2] อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามีข้อบกพร่องในระบบเตือนภัยล่วงหน้าของโซเวียต เปตรอฟยืนยันว่าเขาไม่ได้รับรางวัลหรือถูกลงโทษจากการกระทำดังกล่าว[3]
หากเปตรอฟรายงานว่ามีขีปนาวุธสหรัฐเข้ามา ผู้บังคับบัญชาของเขาอาจเริ่มปฏิบัติการโจมตีต่อสหรัฐอเมริกา และกระตุ้นให้สหรัฐอเมริกาตอบโต้ด้วยนิวเคลียร์เช่นเดียวกัน เปตรอฟประกาศว่าการบ่งชี้ของระบบเป็นสัญญาณหลอก ภายหลัง เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าเขาถูก ไม่มีขีปนาวุธเข้ามา และระบบตรวจจับคอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาด มีการพิจารณาต่อมาว่า สัญญาณหลอกดังกล่าวเกิดขึ้นจากการวางแนวที่เกิดขึ้นน้อยของแสงแดดต่อเมฆระดับสูง และวงโคจรดาวเทียมมอลนิยา อันเป็นข้อผิดพลาดซึ่งภายหลังได้รับการแก้ไขโดยการอ้างดาวเทียมค้างฟ้าที่[4]
เปตรอฟภายหลังชี้ว่าอิทธิพลในการตัดสินใจครั้งนี้ประกอบด้วย ข่าวที่เขาได้รับแจ้งว่าการโจมตีของสหรัฐจะเป็นไปอย่างเต็มที่ ดังนั้น ขีปนาวุธห้าลูกจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ไม่สมเหตุสมผล[1], ข้อเท็จจริงที่ว่าระบบตรวจจับการปล่อยนั้นยังใหม่ และในมุมมองของเขา ยังไม่สามารถเชื่อถือได้ทั้งหมด และเรดาร์ภาคพื้นดินไม่สามารถเก็บหลักฐานที่สอดคล้องกันได้ แม้จะล่าช้าออกไปหลายนาทีแล้วก็ตาม[5]
เปตรอฟถูกตั้งคำถามอย่างหนักโดยผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับการกระทำของเขา ในตอนแรก เขาได้รับการสรรเสริญจากการตัดสินใจนี้[1] พลเอกยูรี โวตินต์เซฟ ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้บัญชาการหน่วยป้องกันขีปนาวุธของกองกำลังป้องกันทางอากาศโซเวียต คนแรกที่ได้ฟังรายงานของเปตรอฟเกี่ยวกับเหตุการณ์ (และเป็นคนแรกที่เปิดเผยต่อสาธารณะในคริสต์ทศวรรษ 1990) ระบุว่า "การกระทำที่ถูกต้อง" ของเปตรอฟนั้น "โดดเด่นอย่างเหมาะสม"[1] ตัวเปตรอฟเองระบุว่า ตอนแรกเขาได้รับการสรรเสริญโดยเวตินต์เซฟ และได้รับสัญญาว่าจะได้รับรางวัล[1][6] แต่เขาถูกตำหนิจากการยื่นคำร้องงานเอกสารอย่างไม่เหมาะสม ด้วยเขาไม่ได้อิทธิพลเหตุการณ์ดังกล่าวในอนุทินทางทหาร[6][7]
เขาไม่ได้รับรางวัล ตามคำบอกของเปตรอฟ นี่เป็นเพราะเหตุการณ์ดังกล่าวและข้อผิดพลาดอื่นที่พบในระบบตรวจจับขีปนาวุธได้สร้างความอับอายแก่ผู้บังคับบัญชาของเขาและนักวิทยาศาสตร์ทรงอิทธิพลผู้รับผิดชอบต่อระบบดังกล่าว ดังนั้น หากเขาได้รับรางวัลอย่างเป็นทางการ พวกเขาทั้งหมดก็จะถูกลงโทษ[1][3][6][7] เขาถูกมอบหมายให้ไปทำหน้าที่ในตำแหน่งที่มีความละเอียดอ่อนน้อยกว่า[7] เกษียณอายุล่วงหน้า (แม้เขาจะย้ำว่าเขามิได้ถูก "บีบให้ออก" จากกองทัพ ดังในกรณีที่เสนอโดยแหล่งข้อมูลตะวันตกบางแห่ง)[6] และประสบกับความเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจ[7]
เหตุการณ์ดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับเปตรอฟเป็นที่รู้จักแก่สาธารณะในคริสต์ทศวรรษ 1990 ตามการตีพิมพ์บันทึกความทรงจำของพลเอกโวตินต์เซฟ การรายงานสื่ออย่างกว้างขวางนับแต่นั้นได้เพิ่มความตระหนักรู้ของสาธารณะต่อการกระทำของเปตรอฟ
เปตรอฟ เสียชีวีตในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ด้วยโรคปอดอักเสบจากเสมหะคั่ง (hypostatic pneumonia) การเสียชีวีตของเขายังไม่ถูกเปิดเผยจนกระทั่งมีการเปิดเผยในเดือนกันยายน[8][9][10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "The Man Who Saved the World Finally Recognized". Association of World Citizens. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 2007-06-07.
- ↑ Press Release. "Permanent Mission of the Russian Federation to the United Nations" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-08-11. สืบค้นเมื่อ 2011-09-25.
- ↑ 3.0 3.1 В Нью-Йорке россиянина наградили за спасение мира. Lenta.ru (in Russian)
- ↑ Molniya orbit
- ↑ David Hoffman (February 10, 1999). "I Had A Funny Feeling in My Gut". Washington Post.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 Тот, который не нажал. Moskovskiye Novosti (in Russian)
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 BBC TV Interview, BBC Moscow correspondent Allan Little, October 1998
- ↑ "Stanislav Petrov, 'The Man Who Saved The World,' Dies At 77". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 19 September 2017.
- ↑ "'I was just doing my job': Soviet officer who averted nuclear war dies at age 77". RT. 17 September 2017. สืบค้นเมื่อ 17 September 2017.
- ↑ "Stanislav Petrov, who averted possible nuclear war, dies at 77". BBC. 19 September 2017. สืบค้นเมื่อ 19 September 2017.