สงวน สุวรรณศรี
ฟรังซิสเซเวียร์ สงวน สุวรรณศรี | |
---|---|
มุขนายกมิสซังจันทบุรี | |
ดำรงตำแหน่ง 22 มกราคม ค.ศ. 1953 – 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1971 | |
ก่อนหน้า | ยาโกเบ แจง เกิดสว่าง |
ถัดไป | ลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 01 ธันวาคม ค.ศ. 1909 นครนายก |
เสียชีวิต | 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1983 โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ กรุงเทพฯ | (73 ปี)
เชื้อชาติ | ไทย |
ศาสนา | คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก |
บุพการี |
|
ที่อยู่อาศัย | สำนักมิสซังจันทบุรี |
เว็บไซต์ | http://www.chandiocese.org/ |
พระคุณเจ้าฟรังซิสเซเวียร์ สงวน สุวรรณศรี มุขนายกองค์ที่ 2 แห่งเขตมิสซังจันทบุรี ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายกเกียรตินามแห่งเอโนอันดา (Oenoanda) เมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1953[1] โดยสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 ปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนพระสันตะปาปาปกครองเขตมิสซังจันทบุรี โดยเข้ารับการอภิเษกจากพระสมณทูตจอห์น จาร์ลัท ดูลี ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก กรุงเทพฯ ในวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 1953
ภายหลังได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายกประจำมุขมณฑลเขตมิสซังจันทบุรีอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ.1965[1]
บั้นปลายชีวิต ท่านได้ลาเกษียณและได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายกเกียรตินามแห่งเออซี (Urci) และมุขนายกกิตติคุณเขตมิสซังจันทบุรีในวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1970[1]
ชีวิตวัยเยาว์
[แก้]พระคุณเจ้าฟรังซิสเซเวียร์ สงวน สุวรรณศรี เกิดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1909 ตำบลเสาวภาผ่องศรี อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เป็นสัตบุรุษโบสถ์พระผู้ไถ่ เสาวภา[2]
การศึกษา
[แก้]ภายในประเทศ
[แก้]- โรงเรียนคริสตสงเคราะห์ เสาวภา นครนายก
- เซมินารีพระหฤทัย บางช้าง สมุทรสงคราม (โดยการสนับสนุนของบาทหลวงดือรังด์ อธิการโบสถ์พระวิสุทธิวงศ์ ลำไทร)
ต่างประเทศ
[แก้]- ค.ศ. 1930-1936 ศึกษาต่อสาขาปรัชญา และเทวศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยปรอปากันดา ฟีเด กรุงโรม ประเทศอิตาลี
การทำงาน
[แก้]- 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1936 รับศีลอนุกรมเป็นบาทหลวง โดยพระคาร์ดินัล มาร์แคตตี ซัลเวคชานี
- ค.ศ. 1937-1940 ผู้ช่วยอธิการโบสถ์นักบุญเทเรซา เวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงใหม่
- ค.ศ. 1940-1944 ผู้ช่วยอธิการโบสถ์กาลหว่าร์ กรุงเทพฯ
- ค.ศ. 1940 ดูแลโบสถ์นักบุญอันนา ท่าจีน สมุทรสาคร และ รักษาการอธิการโบสถ์อัครเทวดามีคาแอล ปราจีนบุรี (แทนบาทหลวงแปร์รัวย์)
- ค.ศ. 1942 ดูแลโบสถ์อัครเทวดาราฟาแอล ปากน้ำ สมุทรปราการ
- ค.ศ. 1944-1946 อธิการเซมินารีพระหฤทัย ศรีราชา ชลบุรี
- ค.ศ. 1945-1946 รักษาการอธิการโบสถ์พระหฤทัย ศรีราชา ชลบุรี (แทนคุณพ่อดือรังด์)
- ค.ศ. 1946-1953 อธิการโบสถ์พระหฤทัย ศรีราชา ชลบุรี
โทษคดีกบฏและการถูกตัดสินจำคุก
[แก้]ในปี ค.ศ. 1941 ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โบสถ์ที่จังหวัดปราจีนบุรีไม่มีบาทหลวง เพราะบาทหลวงแปร์รัวอธิการโบสถ์รับคำสั่งให้เข้ากรุงเทพฯ ฐานเป็นคนต่างด้าว พระคุณเจ้าเรอเน แปร์รอส จึงมอบหมายให้คุณพ่อสงวนให้ไปเตรียมสัตบุรุษแก้บาป รับศีลในโอกาสฉลองคริสต์มาส
ด้วยความกังขาของฝ่ายตำรวจต่อตัวบาทหลวงสงวน (ในเวลานั้น) ถึงความเกี่ยวพันกับฝรั่งเศส ที่สุดท่านถูกจับกุมพร้อมกับบาทหลวงมีแชล ส้มจีน อธิการโบสถ์อารักขเทวดา โคกวัด ฐานฉายไฟนำทางเครื่องบินศัตรู เป็นการกบฏภายในและภายนอกประเทศ แต่ได้รับปล่อยตัวในภายหลังเนื่องจากสืบทราบว่าเป็นการใส่ความ[2]
การปกครองเขตมิสซังจันทบุรีและดำรงตำแหน่งมุขนายก
[แก้]หลังเสร็จสิ้นการเข้าเงียบคณะบาทหลวงที่ศรีราชาเมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1952 พระคุณเจ้าฟรังซิสเซเวียร์ สงวน สุวรรณศรี ได้รับโทรเลขจากกรุงโรม ส่งผ่านมาทางฮานอย ซึ่งเลขานุการประจำสำนักเอกอัครสมณทูต โทรเลขส่งข่าวด่วนต่อมายังท่านสมณทูตขณะเดินทางไปจังหวัดนครพนม เพื่อเยี่ยมเยียนเขตมิสซังท่าแร่-หนองแสง ความว่า
พระสันตะปาปาแต่งตั้งคุณพ่อเป็นบิชอปแห่งเอโนอันดา ผู้แทนพระสันตะปาปาประจำมิสซังจันทบุรี โปรดโทรเลขยอมรับไปยังสำนักสมณทูต
ขอแสดงความยินดี และ อวยพร
ดูลี่— เอกอัครสมณทูต ยอห์น ดูลี่
ในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1953 คุณพ่อสงวน สุวรรณศรี ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายกเกียรตินามแห่งเอโนอันดา ผู้แทนพระสันตะปาปาเขตปกครองมิสซังจันทบุรี จากสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 และเมื่อวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 1953 ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ พระคุณเจ้าฟรังซิสเซเวียร์ สงวน สุวรรณศรี ก็ได้เข้ารับพิธีอภิเษกเป็นมุขนายก โดยพระสมณทูตจอห์น จาร์ลัท ดูลี ร่วมกับพระคุณเจ้าหลุยส์ โชแรง และพระคุณเจ้าเกลาดีอุส บาเยต์
พระคุณเจ้าฟรังซิสเซเวียร์ สงวน สุวรรณศรี ปกครองเขตมิสซังจันทบุรีจนถึงปี ค.ศ. 1970 จึงขอลาจากหน้าที่ เนื่องจากสุขภาพ ต้องพักรักษาตัวตลอดมาจนถึงวาระสุดท้าย รวมเวลาที่ปฏิบัติภารกิจในฐานะมุขนายกประจำมุขมณฑลถึง 17 ปี
พิธีปลงศพ
[แก้]พระคุณเจ้าฟรังซิสเซเวียร์ สงวน สุวรรณศรี มรณภาพที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ กรุงเทพฯ ในวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1983 เวลา 20.10 น. สิริอายุ 74 ปี
พินัยกรรมของท่านตอนหนึ่งระบุว่า "งานศพของท่านอย่าได้หรูหราใหญ่โต ดอกไม้-พวงหรีด เทียน ให้ใช้แต่น้อย..." และ "...ข้าพเจ้ากราบขอโทษทุกคน ที่ข้าพเจ้าได้ทำผิด หรือคิดว่าข้าพเจ้า ทำผิด และกรุณาสวดอุทิศให้ข้าพเจ้าบ้าง" ตลอดจนความศรัทธาของท่านต่อแม่พระ ท่านสั่งไว้ว่าขอให้เอารูปแม่พระตั้งไว้ที่ศพ แทนรูปของท่านเอง
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | สงวน สุวรรณศรี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ยาโกเบ แจง เกิดสว่าง | มุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกจันทบุรี (ค.ศ. 1953 - ค.ศ. 1971) |
ลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต |