ข้ามไปเนื้อหา

สงครามในดอนบัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามในดอนบัส
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งของฝ่ายนิยมรัสเซียในยูเครน และ การแทรกแซงทางทหารของรัสเซียในยูเครน

สถานการณ์ทางทหารในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2023: พื้นที่สีชมพูครอบครองโดย สาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์/สาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์, พื้นที่สีเหลืองครอบครองโดยรัฐบาลยูเครน
วันที่6 เมษายน ค.ศ. 2014 (2014-04-06) - ปัจจุบัน
(10 ปี 8 เดือน 2 สัปดาห์ 4 วัน)
สถานที่
สถานะ

เอาชนะกันไม่ได้

คู่สงคราม

 ยูเครน


ทหารอาสาเบลารุสขาว
ทหารอาสาเชชเนียอิคเคเรีย
อูสตาซีใหม่ (ทหารอาสาชาวโครแอท)

 สาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์
 สาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์


 รัสเซีย[note 1]
เชทนิกส์ (ทหารอาสาชาวเซิร์บ)
ทหารอาสาเชชเนียคอดิรอฟ
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
วอลอดือมือร์ แซแลนสกึย
Amina Okuyeva 
Adam Osmayev

เดนิส ปูชีลิน (ผู้บัญชาการของสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์)
Alexander Zakharchenko 
สาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ เลโอนิด ปาเซชนิค (ผู้บัญชาการของสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์)
สาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ Igor Plotnitsky


วลาดีมีร์ ปูติน (ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย) [note 1]
กำลัง
64,000 นาย[9] 40,000–45,000 นาย[10]
(อาสาสมัครชาวรัสเซีย 3,000–4,000 นาย)[11]
ทหารรัสเซีย 9,000–12,000 นาย (ประมาณการโดยยูเครนและสหรัฐ)[12][13]
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 4,459 คน[14][15]
สูญหาย 70 คน[16]
บาดเจ็บ 9,500–10,500 คน[17]
เสียชีวิต 5,670 คน[*][17][18]
บาดเจ็บ 12,500–13,500 คน[17]
พลเรือนเสียชีวิต 3,367 คน (329 คนในปี ค.ศ. 2016–2020)[19]
รวมทั้งหมดเสียชีวิต 13,000–13,200 คน; บาดเจ็บ 29,000–31,000 คน[17]
ชาวยูเครนพลัดถิ่น 1,414,798 คน; หนีออกนอกประเทศ 925,500 คน[20]

สงครามในดอนบัส (หรือเรียก สงครามในยูเครน หรือ สงครามในยูเครนตะวันออก) เป็นความขัดแย้งมีอาวุธในภูมิภาคดอนบัสของประเทศยูเครน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2557 เกิดการเดินขบวนโดยกลุ่มนิยมรัสเซียและต่อต้านรัฐบาลในแคว้นดอแนตสก์และลูฮันสก์ของยูเครน มักเรียกรวมกันว่า "ดอนบัส" หลังการปฏิวัติยูเครน พ.ศ. 2557 และขบวนการยูโรไมดาน การเดินขบวนเหล่านี้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มการประท้วงนิยมรัสเซียที่เกิดคู่ขนานที่กว้างกว่าทั่วทางใต้และตะวันออกของยูเครน ตามด้วยการผนวกไครเมียโดยสหพันธรัฐรัสเซีย แล้วลุกลามเป็นความขัดแย้งมีอาวุธระหว่างกำลังนิยมการแยกตัวออกของสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์และลูฮันสก์ (DPR และ LPR ตามลำดับ) ที่ประกาศเอง และรัฐบาลยูเครน[21][22] ก่อนการเปลี่ยนแปลงผู้นำสูงสุดในเดือนสิงหาคม[23] ผู้นิยมการแยกตัวออกมีพลเมืองรัสเซียนำเป็นส่วนใหญ่[24] มีรายงานว่า กำลังกึ่งทหารรัสเซียประกอบเป็นตั้งแต่ 15% ถึง 80% ของพลรบ[24][25][26][27][28]

ระหว่างวันที่ 22 ถึง 25 สิงหาคม มีรายงานว่าปืนใหญ่ กำลังพลรัสเซีย และสิ่งที่รัสเซียเรียก "ขบวนมนุษยธรรม" ข้ามพรมแดนเข้าสู่ดินแดนยูเครนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลยูเครน มีรายงานว่าเกิดการข้ามชายแดนทั้งในดินแดนในการควบคุมของกำลังนิยมรัสเซียและพื้นที่ซึ่งไม่อยู่ในการควบคุม เช่น ส่วนตะวันออกเฉียงใต้ของแคว้นดอแนตสก์ ใกล้กับนอวออาซอฟสก์ (Novoazovsk) เหตุการณ์เหล่านี้ตามด้วยการระดมยิงที่ตั้งของยูเครนจากชายแดนฝั่งรัสเซียตามรายงานในห้วงเดือนก่อน[29][30][31][32][33] หัวหน้าราชการความมั่นคงยูเครน วาเลนติน นาลีเวเชนโค (Valentyn Nalyvaichenko) กล่าวว่า เหตุการณ์วันที่ 22 สิงหาคมเป็น "การบุกครองยูเครนโดยตรงโดยรัสเซีย"[34] ข้าราชการตะวันตกและยูเครนอธิบายเหตุการณ์เหล่านี้ว่าเป็น "การบุกครองยูเครน 'ในทางลับ' โดยรัสเซีย"[33] ผลคือ ผู้ก่อการกำเริบ DPR และ LPR ได้ดินแดนมากที่เสียไประหว่างการรุกทางทหารของฝ่ายรัฐบาลก่อนหน้านี้ มีการลงนามข้อตกลงเพื่อสถาปนาการหยุดยิง เรียกพิธีสารมินสค์ เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2557[35] ทั้งสองฝ่ายละเมิดการหยุดยิงเป็นปกติ ท่ามกลางการผนึกแนวระหว่างดินแดนผู้ก่อการกำเริบและยูเครนระหว่างการหยุดยิง ขุนศึกเข้าควบคุมแผ่นดินฝั่งผู้ก่อการกำเริบ นำให้ขาดเสถียรภาพยิ่งขึ้น[36] การหยุดยิงล่มอย่างสมบูรณ์ในเดือนมกราคม 2558 ด้วยการต่อสู้อย่างหนักตลอดเขตขัดแย้งรอบใหม่ ซึ่งรวมท่าอากาศยานนานาชาติดอแนตสก์และเดบอลท์เซฟ (Debaltseve)

Notes

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Lithuania says it supplies ammunition to Ukraine for first time in two years". Reuters. 3 September 2016. สืบค้นเมื่อ 31 July 2017.
  2. "Ukraine and pro-Russia rebels sign ceasefire deal". BBC. 5 September 2014. สืบค้นเมื่อ 5 September 2014.
  3. Thomas Gibbons-Neff (3 September 2015). "Three-day-old ceasefire in Ukraine broken as fighting resumes in some areas". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 25 January 2016.
  4. Ukraine rebels agree to new indefinite truce, SBS Australia (24 December 2016)
    Latest from OSCE Special Monitoring Mission (SMM) to Ukraine, based on information received as of 19:30, 4 January 2017, OSCE (5 January 2017)
    Militants shell Ukrainian army positions 32 times in past 24 hours, Interfax-Ukraine (6 January 2017)
    Kiev forces violate ceasefire three times over past 24 hours — news agency, TASS news agency (3 January 2017)
  5. East Ukraine ceasefire due to take effect, BBC News (20 February 2017)
    ATO HQ: Truce disrupted, no conditions for withdrawal of arms, UNIAN (20 February 2017)
    In the area of ATU decreased military activity - Staff, Ukrayinska Pravda (20 February 2017) (ยูเครน)
  6. Monitor Says Ukraine Cease-Fire, Weapons Withdrawal Not Being Honored, Radio Free Europe/Radio Liberty (22 February 2017)
  7. Ukraine Says Two Soldiers Killed Despite Cease-Fire, Radio Free Europe (24 June 2017)
    Fragile 'Harvest Truce' Comes Into Being in East Ukraine, Sputnik News (24 June 2017)
  8. Ukraine's Back to School "Ceasefire", Atlantic Council's Digital Forensic Research Lab (29 August 2017)
    Ukrainian military violate back-to-school ceasefire, one civilian injured – command, TASS news agency (16 September 2017)
  9. "Probability of full-scale Russian invasion remains high - Ukrainian army general". Ukraine Today. 28 July 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-28. สืบค้นเมื่อ 29 July 2015.
  10. "Pro-Russian rebels have 40,000-strong army, sufficient for 'mid-sized European state': Ukraine defence minister". ABC AU. 9 June 2015. สืบค้นเมื่อ 26 June 2015.
  11. Around 3-4 thousand Russian volunteers fighting for Donetsk People’s Republic militia เก็บถาวร 2018-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Information Telegraph Agency of Russia. 28 August 2014
  12. "Kyiv Says 42,500 Rebels, Russian Soldiers Stationed in East Ukraine". RadioFreeEurope/RadioLiberty. สืบค้นเมื่อ 25 June 2015.
  13. "Some 12,000 Russian soldiers in Ukraine supporting rebels - U.S. commander". London: Dailymail.co.uk. 4 March 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 June 2015. สืบค้นเมื่อ 6 March 2015.
  14. Книга пам'яті загиблих [Memorial Book to the Fallen]. Herman Shapovalenko, Yevhen Vorokh, Yuriy Hirchenko (ภาษายูเครน). สืบค้นเมื่อ 31 January 2015.
  15. The Museum of Military History also lists separately 139 currently unidentified soldiers who were killed: 66 at Krasnopolye cemetery,[1] 63 at Kushugum cemetery [2] and 10 at Starobilsk cemetery.[3]
  16. "UNIAN: 70 missing soldiers officially reported over years of war in Donbas". Ukrainian Independent Information Agency. 6 September 2019. สืบค้นเมื่อ 6 September 2019.
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 "Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights Report on the human rights situation in Ukraine 16 November 2019 to 15 February 2020" (PDF). OHCHR. 12 March 2020. สืบค้นเมื่อ 12 March 2020.
  18. "The overview of the current social and humanitarian situation in the territory of the Donetsk People's Republic as a result of hostilities between 8 and 14 February 2020". 14 February 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-10-01.
    "The overview of the current social and humanitarian situation in the territory of the Donetsk People's Republic as a result of hostilities between 22 and 28 August 2020". 28 August 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-30. สืบค้นเมื่อ 2020-10-01.
  19. REPORT ON THE HUMAN RIGHTS SITUATION IN UKRAINE 16 FEBRUARY – 31 JULY 2020
  20. "Ukraine" (PDF). OCHA. August 2015. สืบค้นเมื่อ 15 September 2015.
  21. Grytsenko, Oksana (12 April 2014). "Armed pro-Russian insurgents in Luhansk say they are ready for police raid". Kyiv Post.
  22. Leonard, Peter (14 April 2014). "Ukraine to deploy troops to quash pro-Russian insurgency in the east". Yahoo News Canada. Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-14. สืบค้นเมื่อ 26 October 2014.
  23. Strelkov/Girkin Demoted, Transnistrian Siloviki Strengthened in 'Donetsk People's Republic', Vladimir Socor, Jamestown Foundation, 15 August 2014
  24. 24.0 24.1 "Pushing locals aside, Russians take top rebel posts in east Ukraine". Reuters. 27 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-28. สืบค้นเมื่อ 27 July 2014.
  25. Представитель ДНР назвал процент российских добровольцев в местной армии เก็บถาวร 2015-01-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. 27 June 2014.
  26. "Российский Наемник: "Половина Ополченцев - Из России. Мне Помогают Спонсоры. Мы Возьмем Львов"". M.censor.net.ua. 26 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-27. สืบค้นเมื่อ 26 August 2014.
  27. "Interview: I Was A Separatist Fighter In Ukraine". Radio Free Europe/Radio Liberty. สืบค้นเมื่อ 29 August 2014.
  28. "Whisked Away for Tea With a Rebel in Ukraine". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 29 August 2014.
  29. Denver Nicks (22 August 2014). "NATO: Russia Artillery Fires on Ukraine Forces". Time. สืบค้นเมื่อ 26 August 2014.
  30. "Ukraine crisis: 'Column from Russia' crosses border". BBC. 25 August 2014. สืบค้นเมื่อ 26 August 2014.
  31. [4]
  32. JIM HEINTZ Associated Press. "Ukraine: Russian Tank Column Enters Southeast - ABC News". ABC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-25. สืบค้นเมื่อ 26 August 2014.
  33. 33.0 33.1 "Ukraine Reports Russian Invasion on a New Front". The New York Times. 27 August 2014. สืบค้นเมื่อ 27 August 2014.
  34. "Ukraine accuses Russia of invasion after aid convoy crosses border". Reuters. 22 August 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2014. สืบค้นเมื่อ 22 August 2014.
  35. "Ukraine and pro-Russia rebels sign ceasefire deal". BBC News. 5 September 2014. สืบค้นเมื่อ 5 September 2014.
  36. "Ukraine rebels a disunited front run by warlords". Associated Press. 10 November 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากUkraine rebels warlords แหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-13. สืบค้นเมื่อ 10 November 2014. {{cite news}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)