ข้ามไปเนื้อหา

สงครามอิตาลี (ค.ศ. 1494-1498)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามอิตาลี (ค.ศ. 1494-1498)
ส่วนหนึ่งของ สงครามอิตาลี
วันที่ค.ศ. 1494 - ค.ศ. 1498
สถานที่
ผล ชัยชนะของสหพันธ์เวนิส
คู่สงคราม
ฝรั่งเศส อาณาจักรพระสันตะปาปา,
สาธารณรัฐเวนิส,
ราชอาณาจักรเนเปิลส์,
ดัชชีแห่งมิลาน,
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ชาร์ลส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งเนเปิลส์
ฟรานเชสโคที่ 2 กอนซากา
กำลัง

25,000 men[1]

ไม่ทราบจำนวน
ความสูญเสีย
13,000 คน[1]

สงครามอิตาลีครั้งที่ 1 หรือ สงครามอิตาลี (ค.ศ. 1494-1498) หรือ สงครามอิตาลีของชาร์ลส์ที่ 8 (อังกฤษ: First Italian War หรือ Italian War of 1494–1498 หรือ Italian War of 1494 หรือ Charles VIII's Italian War) เป็นสงครามที่เริ่มต้นมหาสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1494-1559) ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1494 จนถึง ค.ศ. 1498 สงครามอิตาลีครั้งนี้เป็นความขัดแย้งระหว่างพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศสฝ่ายหนึ่ง และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์, สเปน และพันธมิตรอิตาลีที่นำโดยสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 อีกฝ่ายหนึ่ง

สาเหตุ

[แก้]

เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1489 สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 8 ทรงออกพระบัญญัติประกาศคว่ำบาตรพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งเนเปิลส์เพราะพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ไม่ทรงยอมจ่ายค่าบรรณาการต่อพระองค์ จากนั้นพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ก็หันไปยกราชอาณาจักรเนเปิลส์ให้แก่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศสผู้ทรงมีสิทธิห่างๆ ในราชบัลลังก์เนเปิลส์ทางสายราชวงศ์อองชู แต่ก็ทรงกลับมาปรองดองกับพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ต่อมา และทรงเพิกถอนการคว่ำบาตรก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1492 แต่การที่พระองค์ทรงไปยกราชอาณาจักรให้กับฝรั่งเศสกลายมาเป็นปัญหาทางการเมืองต่ออิตาลีอีกเป็นเวลานาน สองปีต่อมาพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 ก็เสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1494 เนเปิลส์ปกครองต่อมาโดยพระราชโอรสพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 2

การรุกรานของฝรั่งเศส

[แก้]

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1494 ลุโดวิโค สฟอร์ซาผู้มีอำนาจควบคุมดัชชีแห่งมิลานอยู่เป็นเวลานานในที่สุดก็ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นดยุค แต่ได้รับการคัดค้านโดยทันทีโดยพระเจ้าอัลฟอนโซผู้อ้างสิทธิในการครองมิลานเช่นกัน ลุโดวิโคตัดสินใจกำจัดการขู่เข็ญโดยการยุให้พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศสอ้างสิทธิในการครองเนเปิลส์ตามที่ได้รับการมอบให้โดยพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 8 พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 จึงทรงยกกองทัพพร้อมกับกองทหารจำนวน 25,000 คน (รวมทั้งทหารรับจ้างสวิสอีก 8,000 คน) มารุกรานอิตาลี[1] พระเจ้าชาร์ลส์ทรงได้รับชัยชนะต่อฟลอเรนซ์อย่างง่ายดาย และเดินทัพไปถึงเนเปิลส์ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1495 และยึดได้โดยไม่ต้องทำการล้อมหรือการต่อสู้แต่อย่างใด

สหพันธ์เวนิส

[แก้]

ความคืบหน้าอย่างรวดเร็วของการเดินทัพของฝรั่งเศส และความรุนแรงในการโจมตีเมืองต่างๆ ทำให้รัฐต่างๆ ในอิตาลีต่างก็เกิดความประหวั่น ลุโดวิโค สฟอร์ซาผู้คาดการณ์ว่าพระเจ้าชาร์ลส์จะกลับมาทรงอ้างสิทธิในมิลานหลังจากที่ทรงได้เนเปิลส์แล้วจึงหันไปหาสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 ผู้ทรงอยู่ในระหว่างการแข่งอำนาจกับฝรั่งเศสและรัฐต่างๆ ในอิตาลีเพื่อแสวงหาฆราวัสจักรให้พระราชโอรสทั้งหลายได้ครอง พระสันตะปาปาจึงทรงก่อตั้งสหพันธ์ทที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นปรปักษ์กับฝรั่งเศส ที่รวมทั้งพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอารากอนผู้ที่เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอิตาลีด้วย, สมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซิมิเลียนที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์, ลุโดวิโคแห่งมิลาน และสาธารณรัฐเวนิส สหพันธ์ที่ก่อตั้งขึ้นเรียกว่า "สหพันธ์ศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 1495" (Holy League) หรือ "สหพันธ์เวนิส" อังกฤษเข้าร่วมในปี ค.ศ. 1496 สหพันธ์ดังกล่าวเป็นสหพันธ์แรกของการรวมกลุ่มเช่นที่ว่า ที่เป็นการรวมตัวกันของรัฐต่างๆ ในการต่อต้านศัตรูร่วมกัน[2] เมื่อก่อตั้งขึ้นแล้วสหพันธ์ก็รวบรวมกองกำลังขึ้นภายใต้การนำของทหารรับจ้าง ฟรานเชสโคที่ 2 กอนซากา พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศสผู้ไม่ทรงต้องการที่จะติดอยู่ในเนเปิลส์จึงเดินทัพขึ้นเหนือไปยังลอมบาร์ดี พระองค์ทรงปะทะกับกองทัพของสหพันธ์ในยุทธการฟอร์โนโวเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1495 พระเจ้าชาร์ลส์ทรงสามารถถอยทัพหลบหนีไปได้แต่ก็ทรงต้องทิ้งทรัพย์สมบัติที่ทรงยึดมาได้ระหว่างสงครามไปแทบทั้งหมดก่อนที่จะเสด็จกลับถึงฝรั่งเศส พระองค์เสด็จสวรรคตเสียก่อนที่จะสามารถรวบรวมกำลังกลับไปยังอิตาลีได้อีก

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 R. Ritchie, Historical Atlas of the Renaissance, 64
  2. Anderson, M. S.. The Rise of Modern Diplomacy 1450-1919, Longman, London 1993, p 3.
  • Phillips, Charles and Alan Axelrod. Encyclopedia of Wars. New York: Facts on File, 2005. ISBN 0-8160-2851-6.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]