สกุลแร้ง
หน้าตา
สกุลแร้ง | |
---|---|
แร้งสีน้ำตาลหิมาลัย (G. himalayensis) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Accipitriformes |
วงศ์: | Accipitridae |
สกุล: | Gyps Savigny, 1809 |
ชนิด | |
|
สกุลแร้ง (Gyps) เป็นนกล่าเหยื่อในวงศ์ Accipitridae จัดเป็นแร้งโลกเก่าสกุลหนึ่ง
เป็นแร้งที่พบได้ทั่วไป มีส่วนหัวโล้นเลี่ยน มีช่วงปีกกว้างและมีขนสีเข้มส่วนใหญ่ เมื่อเวลาจะกินอาหารซึ่งได้แก่ ซากศพต่าง ๆ จะไล่นกชนิดอื่น หรือสัตว์อื่นให้พ้นไปจากอาหาร โดยใช้วิธีหาอหาารจากสายตาเมื่อยามบินวนบนท้องฟ้า พบกระจายพันธุ์ในเขตร้อนหรือเขตอบอุ่นของซีกโลกเก่า
เมื่อเทียบกับแร้งสกุลอื่น แร้งในสกุลนี้มีขนรอบลำคอค่อนข้างมีลักษณะนุ่มครอบคลุม เชื่อว่ามีเพื่อควบคุมอุณหภูมิ[1]
การจำแนก
[แก้]- Gyps africanus Salvadori, 1865 – แร้งหลังขาว
- Gyps bengalensis (Gmelin, 1788) – แร้งเทาหลังขาว
- Gyps coprotheres (J. R. Forster, 1798) – แร้งแหลม
- Gyps fulvus (Hablizl, 1783) – แร้งกริฟฟอน
- Gyps himalayensis Hume, 1869 – แร้งสีน้ำตาลหิมาลัย
- Gyps indicus (Scopoli, 1786) – แร้งสีน้ำตาล
- Gyps rueppellii (A. E. Brehm, 1852) – แร้งปีกลายเกล็ด
- Gyps tenuirostris G. R. Gray, 1844 – แร้งปากเรียว[2]
ฟอสซิล
[แก้]ฟอสซิลของแร้งในสกุลนี้ พบในตอนกลางและตอนปลายของยุคไพลสโตซีนทั่วตอนกลางและตะวันออกของเมดิเตอร์เรเนียน ในชนิด G. melitensis และชนิด G. bochenskii พบในตอนปลายของยุคไพลโอซีนในบัลแกเรีย[3] [4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ del Hoyo, J.; Elliott, A.; Sargatal, J., บ.ก. (1994). Handbook of the Birds of the World. Vol. 2. Barcelona: Lynx Edicions. ISBN 84-87334-15-6.
- ↑ "Gyps Savigny, 1809". itis.gov. สืบค้นเมื่อ 17 September 2014.
- ↑ Boev, Z. 2010. Gyps bochenskii sp. n. (Aves: Falconiformes) from the Late Pliocene of Varshets (NW Bulgaria). – Acta zoologica bulgarica, 62 (2): 211-242.
- ↑ Marco, A.S. (2007). New occurrences of the extinct vulture Gyps melitensis (Falconiformes, Aves) and a reappraisal of the paleospecies Journal of Vertebrate Paleontology, 27(4), 1057-1061
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ Gyps
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Gyps ที่วิกิสปีชีส์