ข้ามไปเนื้อหา

สกุลหญ้าจิ้มฟันควาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สกุลหญ้าจิ้มฟันควาย
A. graminifolia
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
อาณาจักรย่อย: Tracheobionta
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Liliopsida
ชั้นย่อย: Liliidae
อันดับ: Asparagales
วงศ์: Orchidaceae
วงศ์ย่อย: Epidendroideae
เผ่า: Arethuseae
เผ่าย่อย: Arundinae
สกุล: Arundina
Blume (1825)
ชนิดต้นแบบ
Arundina graminifolia
[D Don] Hochr. 1910
สปีชีส์

ดูเนื้อหา

ชื่อพ้อง

สกุลหญ้าจิ้มฟันควาย (อังกฤษ: Arundina) เป็นสกุลหนึ่งของกล้วยไม้ และมีเพียงสปีชีส์ของ Arundina graminifolia เป็นสปีชีส์เดียวได้รับการยอมรับในสกุลหญ้าจิ้มฟันควาย ซึ่งกระจายพันธุ์ในเอเชียเขตร้อน ได้แก่ ประเทศพม่า, ประเทศอินเดีย, ประเทศศรีลังกา, ประเทศเนปาล, ประเทศไทย, ประเทศเวียดนาม, หมู่เกาะรีวกีว, ประเทศมาเลเซีย, ประเทศสิงคโปร์, ประเทศจีน ถึง ประเทศอินโดนีเซีย, ประเทศฟิลิปปินส์ และในเกาะนิวกินี และถูกนำเข้าและปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในเรอูว์นียง, ประเทศฟีจี, เฟรนซ์พอลินีเชีย, ประเทศไมโครนีเชีย, หมู่เกาะเวสต์อินดีส, ประเทศคอสตาริกา, ประเทศปานามา, ประเทศเบลีซ, รัฐฮาวาย[2][3] ซึ่งถูกในชื่อสามัญว่า bamboo orchid[4]

คำอธิบาย

[แก้]
ภาพประกอบจากปี ค.ศ. 1883

เป็นกล้วยไม้ดิน เจริญเติบโตทางด้านข้าง มีเหง้าสั้น ๆ อยู่ใต้ดิน ส่วนลำต้นเหนือดินขึ้นเป็นลำยาวตรง ต้นสูงระหว่าง 30-200 เซนติเมตร ใบเป็นรูปแถบเรียวยาว ปลายใบแหลม ลักษณะคล้ายต้นหญ้าขนาดใหญ่ ช่อดอกออกจากกลางยอด ทยอยบานจากล่างขึ้นบน มีช่อสั้น จะบานครั้งละ 1-2 ดอก ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม ดอกมีขนาด 2-8 เซนติเมตร กลีบกางออก กลีบปากเป็นทรงกลม กางออกกว้าง กลุ่มเรณูมี 8 กลุ่ม[5]

Arundina gramnifolia ในเกาะฮาวาย

และได้แพร่กระจายเป็นพืชรุกรานไปทั่วเกาะใหญ่ของฮาวาย และพบได้ทั่วไปในพื้นที่กลางภูเขา

ลักษณะเด่น

[แก้]

เป็นกล้วยไม้ขนาดใหญ่ สามารถแตกหน่อได้ มีใบยาว ปลายใบเว้าและโค้งลงเล็กน้อย ในแต่ละช่อจะมีประมาณ 5-12 ดอก กลีบดอกกว้างหนา โคนสอบ พื้นกลีบสีขาวอมฟ้า มีลายตารางสีน้ำเงินอมฟ้า[5]

การเพาะเลี้ยง

[แก้]

กล้วยไม้ในสกุลนี้ จะใช้เวลาบานนานถึงสัปดาห์ ชอบอากาศเย็น หากเลี้ยงในที่ที่อากาศร้อนจัด ต้นจะโทรมและช่อดอกฝ่อ[5]

สามารถปลูกเลี้ยงง่ายทั้งในกระถางและลงแปลง สามารถเจริญเติบโตได้แม้ในดินลูกรังแต่ต้องระบายน้ำได้ดี ส่วนใหญ่นิยมใช้ดินใบก้านปูหรือใบก้ามปูผุผสมกับกาบมะพร้าว เพราะ มีน้ำหนักเบา ขนส่งสะดวก และเนื่องจากเป็นพืชที่ชอบน้ำและแสงแดด จึงควรปลูกเลี้ยงบริเวณกลางแจ้ง นิยมขยายพันธุ์ด้วยการแยกตะเกียงที่แตกออกจากก้านดอกหรือแบ่งกอ[5]

สายพันธุ์

[แก้]

ปัจจุบันมีชนิดย่อยที่ได้รับการยอมรับ 2 ชนิด (พฤษภาคม 2014):[2]

เชิงอรรถและรายการอ้างอิง

[แก้]
  1. Sinónimos en Kew
  2. 2.0 2.1 Kew World Checklist of Selected Plant Families, Arundina graminifolia
  3. US Department of Agriculture Plants profile
  4. See e.g. Das, S & Duttachoudhury, Manabendra & Mazumder, Pranab. (2013). In vitro propagation of Arundina graminifolia D. Don. Hochr - A bamboo orchid. Asian Journal of Pharmaceutical and Clinical Research. 6. 156-158.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 ภวพล ศุภนันทนานนท์. กล้วยไม้: Orchids. กรุงเทพฯ: บ้านและสวน อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์, 2566. 264 หน้า: ภาพประกอบ (สี). ISBN 978-616-18-6104-9