ข้ามไปเนื้อหา

สกุลปลาหมอทะเล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สกุลปลาหมอทะเล
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 55–0Ma
อีโมซีน ถึง ปัจจุบัน[1]
ปลาหมอทะเล (E. lanceolatus) ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในสกุลและในวงศ์นี้
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Serranidae
วงศ์ย่อย: Epinephelinae
เผ่า: Epinephelini
สกุล: Epinephelus
Bloch, 1793
ชนิด
99 ชนิด
ชื่อพ้อง
  • Promicrops Poey, 1868

สกุลปลาหมอทะเล (Epinephelus) เป็นสกุลของปลาทะเลจำพวกหนึ่งในวงศ์ Serranidae นับเป็นปลาขนาดใหญ่ มีรูปร่างโดยรวม คือ ร่างยาวอ้วนป้อม แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็ก สีตามตัวและครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือบั้ง ฉูดฉาดหรือคล้ำทึบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด พบอาศัยอยู่ตามบริเวณแนวปะการัง โขดหินใกล้ชายฝั่งหรือเกาะ[2] บางครั้งอาจพบว่ายเข้ามาหากินบริเวณปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อยได้ด้วย

ปลาหมอทะเลกระจายพันธุ์ในทะเลและมหาสมุทรเขตอบอุ่นทั่วโลก ทั้ง มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรอินเดีย มีจำนวนสมาชิกในสกุลนี้ราว 99 ชนิด[3] นับว่ามากที่สุดในวงศ์นี้ โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลาหมอทะเล (E. lanceolatus) ที่ใหญ่ที่สุดได้เกือบ 3 เมตร และหนักได้ราว 200 กิโลกรัม

สำหรับในภาษาไทยจะคุ้นเคยเรียกชื่อปลาในสกุลนี้เป็นอย่างดีในชื่อ "ปลาเก๋า" หรือ "ปลากะรัง"

อ้างอิง

[แก้]
  1. Sepkoski, Jack (2002). "A compendium of fossil marine animal genera". Bulletins of American Paleontology. 364: 560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-20. สืบค้นเมื่อ 2008-01-08.
  2. ความหมายของคำว่า กะรัง ๒ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  3. จากFishbase.org

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Epinephelus ที่วิกิสปีชีส์