ศูนย์มหาสันติสุขพุทธศาสนา
ศูนย์มหาสันติสุขพุทธศาสนา | |
---|---|
မဟာသန္တိသုခ ဗုဒ္ဓသာသနာပြုကျောင်းတော်ကြီး | |
อาคารศูนย์มหาสันติสุขพุทธศาสนา | |
ศาสนา | |
ศาสนา | พุทธ |
นิกาย | เถรวาท |
ที่ตั้ง | |
ประเทศ | เมืองตามเว ย่างกุ้ง ประเทศพม่า |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 16°48′39″N 96°10′49″E / 16.810952°N 96.180405°E |
สถาปัตยกรรม | |
ผู้ก่อตั้ง | ภิกษุปัญญาวงศ์ |
เสร็จสมบูรณ์ | 17 ธันวาคม 1999 |
ศูนย์มหาสันติสุขพุทธศาสนา (พม่า: မဟာသန္တိသုခ ဗုဒ္ဓသာသနာပြုကျောင်းတော်ကြီး) เป็นอารามศาสนาพุทธเถรวาทในเมืองตามเว ย่างกุ้ง ประเทศพม่า[1] อารามเปิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 1999 ภายใต้การนำของภิกษุปัญญาวงศ์ และการสนับสนุนของรัฐบาลพม่า[1]
ข้อพิพาทความเป็นเจ้าของ
[แก้]ระหว่างปี 2002 ถึง 2004 รัฐบาลพม่าภายใต้นายกรัฐมนตรีคีนหญุ่น[2] ยึดคืนอารามและส่งมอบให้แก่คณะกรรมการสังฆมหานายกแห่งรัฐ ซึ่งเป็นองค์กรรัฐที่ควบคุมดูแลประชากรภิกษุสงฆ์ในประเทศพม่า[3] ในเดือนมีนาคม 2014 ภิกษุปัญญาวงศ์ได้เขียนจดหมายถึงผู้นำพม่าในเวลานั้น เต้นเซน เพื่อแก้ไขข้อพิพาทเรื่องความเป็นเจ้าของของอาราม[4]
การบุกค้น
[แก้]ในวันที่ 10 มิถุนายน 2014 เจ้าหน้าที่ตำรวจรวม 300 นาย และสมาชิกของคณะกรรมการสังฆมหานายกแห่งเขตย่างกุ้งกับกระทรวงกิจการศาสนารวม 280 คน ได้บุกเข้าค้นอารามตอนเวลา 23 นาฬิกา ขับไล่ภิกษุสงฆ์รวม 20 รูป และเด็กวัดรวม 32 คนออกจากพื้นที่อาราม[3] การบุกค้นครั้งนี้ถูกวิจารณ์อย่างหนักว่ากระทำไปด้วยความไม่ปราณี และทำขึ้นในระหว่างที่พระปฐมาจารย์ของอาราม ภิกษุปัญญาวงศ์ อยู่นอกพม่า ขณะนั้นท่านเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นเพื่อประกอบศาสนกิจ[3] ในวันที่ 18 พฤษภาคม ภิกษุสงฆ์ในอารามทั้งหมดถูกสั่งให้ออกไปจากอารามภายในสิ้นเดือน ภายใต้คำสั่งของคณะกรรมการสังฆมหานายกแห่งรัฐ 47 คน[3]
ภิกษุสงฆ์จำนวนหลายรูปถูกควบคุมตัวหลังการบุกค้น[3] พระสงฆ์รวม 5 รูป ได้แก่ พระอุตตระ (Uttara), ปัญญาจาร (Pannacara), เสนทระ (Sendara), นันทิยะ (Nandiya) และ เตชินทะ (Tejinda) ถูกบังคับอาบัติ และจับกุมด้วยข้อหาฝ่าฝืนกฎข้อบังคับของศาสนาและดูหมิ่นศาสนา ภายใต้มาตรา 295 (a) แห่งประมวลกฎหมายอาญา และ 20/90 ในกฎหมายว่าด้วยองค์การสังฆะ ปี 1990[5][6] ในพระสงฆ์ 5 รูปนี้ มีพระอุตตระเป็นพลเมืองอังกฤษ[7]
รัฐมนตรีกระทรวงกิจการศาสนา Hsan Sint ถูกขับออกจากตำแหน่งด้วยเต้นเซนในวันที่ 19 มิถุนายน 2014 จากการมีส่วนในการบุกค้นอารามและการขัดคำสั่งประธานาธิบดี[8]
ข้อขัดแย้งนี้สิ้นสุดในวันที่ 13/14 ธันวาคม 2015 ศาลแขวงได้ให้คำตัดสินว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูล[9][10][11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Mahasantisukha Buddhist Missionary Centre". Myanmarnet.net. สืบค้นเมื่อ 17 July 2015.
- ↑ Aung Kyaw Min (11 June 2015). "On anniversary of raid, monk urges president to intervene". Myanmar Times. สืบค้นเมื่อ 17 July 2015.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Aung Kyaw Min (13 June 2014). "Govt, Sangha committee under fire for night raid". Myanmar Times. สืบค้นเมื่อ 17 July 2015.
- ↑ Aung Kyaw Min (13 March 2014). "Penang Sayadaw asks president to resolve dispute with Sangha body". Myanmar Times. สืบค้นเมื่อ 17 July 2015.
- ↑ Aung Kyaw Min (8 July 2015). "Charged monks accuse Sangha authorities of misusing power". Myanmar Times. สืบค้นเมื่อ 17 July 2015.
- ↑ Ye Mon (30 June 2014). "Prisoner committee to consider lobbying for release of monks". Myanmar Times. สืบค้นเมื่อ 17 July 2015.
- ↑ Aung Kyaw Min (13 May 2015). "London Sayadaw rejects Sangha committee charges". Myanmar Times. สืบค้นเมื่อ 17 July 2015.
- ↑ Htoo Thant (11 July 2014). "MPs agree to strengthen corruption commission". Myanmar Times. สืบค้นเมื่อ 17 July 2015.
- ↑ "Five Monks Cleared of Insulting Religion in Long-Running Mahasantisukha Monastery Case". Irrawaddy.com. 11 December 2015. สืบค้นเมื่อ 11 October 2017.
- ↑ "Mahasantisukha monks acquitted of defamation". Dvb.no. 11 December 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-13. สืบค้นเมื่อ 11 October 2017.
- ↑ "London Sayadaw case dismissed". Mmtimes.com. สืบค้นเมื่อ 11 October 2017.