ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ
ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ | |
---|---|
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน พ.ศ. 2550 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 มกราคม พ.ศ. 2490 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | พันเอกหญิง อรัณยานี วงษ์สุวรรณ |
บุตร | วัชรชนก วงษ์สุวรรณ |
พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ (16 มกราคม พ.ศ. 2490) เป็นสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 10, ชุดที่ 11 และชุดที่ 12[1] อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตสมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหา อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ รองประธานกรรมการ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) และอดีตราชองครักษ์พิเศษ[2]
ประวัติ
[แก้]พล.ร.อ. ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ มีชื่อเล่นว่า ปุ้ม เกิดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2490 ที่จังหวัดพระนคร เป็นบุตรคนที่ 2 ของ พล.ต. ประเสริฐ กับนางสายสนี วงษ์สุวรรณ มีพี่ชาย 1 คน คือ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ และมีน้องชาย 3 คน คือ[3]
- พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ
- พงษ์พันธุ์ วงษ์สุวรรณ
- พันธุ์พงษ์ วงษ์สุวรรณ
พล.ร.อ. ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ สมรสกับ พ.อ.หญิง อรัณยานี วงษ์สุวรรณ[4] มีบุตรชื่อวัชรชนก วงษ์สุวรรณ ปัจจุบันเป็น ผู้ปฏิบัติงานประจำกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ[5]
การศึกษา
[แก้]วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกลเรือ) โรงเรียนนายเรือ หลักสูตรโรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ รุ่นที่ 43 วิทยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ 26 การซ่อมเครื่องยนต์ HTU จากเยอรมนี การซ่อมเครื่องยนต์ (Gas turbine Engine Repairing Course) จากอังกฤษ[6]
รับราชการ
[แก้]- 1 ตุลาคม 2541 : เจ้ากรมโรงงาน ฐานทัพเรือสัตหีบ
- พ.ศ. 2542 : ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
- พ.ศ. 2544 : เจ้ากรมโรงงาน ฐานทัพเรือสัตหีบ
- พ.ศ. 2545 : รองผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ
- พ.ศ. 2546 : ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ
- พ.ศ. 2548 : ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
- พ.ศ. 2548 : ราชองครักษ์
- พ.ศ. 2548 : ที่ปรึกษากองทัพเรือ
- พ.ศ. 2549 : ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ และที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
- พ.ศ. 2550 : ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ
พล.ร.อ. ศิษฐวัชร ได้เกษียณอายุราชการเมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550[7] ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองประธานกรรมการ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน)
ยศทางทหาร
[แก้]- 1 ตุลาคม 2541 - พลเรือตรี
- 1 ตุลาคม 2545 - พลเรือโท
- 27 พฤศจิกายน 2549 - พลเรือเอก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2524 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒
- ↑ รองประธานกรรมการ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน)
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ[ลิงก์เสีย]
- ↑ “ศิษฐวัชร”สนช.ใหม่น้อง“บิ๊กป้อม”ได้เงิน“เมีย”ช่วยซื้อรถ 3.4 ล.
- ↑ บิ๊กเนมพรึบที่ปรึกษา บอร์ด กสทช. หลานบิ๊กป้อมเพื่อนร่วมรุ่นนายกฯคุมเพียบ
- ↑ ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ อนุรักษ์′กมธ.′สามัญ คอลัมน์ คนตามข่าว โดย ดุษฎี สนเทศ
- ↑ ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากไทยรัฐออนไลน์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๓, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๐๔๕, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔