ข้ามไปเนื้อหา

ศิลาจารึกกั๋วชาน

พิกัด: 31°18′03″N 119°39′11″E / 31.30083°N 119.65306°E / 31.30083; 119.65306
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศิลาจารึกกั๋วชาน
国山碑
ศิลาจารึกกั๋วชานในพิพิธภัณฑ์อู๋ซี
แผนที่
พิกัด31°18′03″N 119°39′11″E / 31.30083°N 119.65306°E / 31.30083; 119.65306
ที่ตั้งเขากั๋วชาน
ประเภทศิลาจารึก
วัสดุหิน
ความสูง2.35 เมตร
สร้างเสร็จค.ศ. 276

ศิลาจารึกกั๋วชาน (จีน: 国山碑; พินอิน: Guóshān Bēi) เป็นศิลาจารึกที่ตั้งอยู่เชิงเขาด้านตะวันตกของเขากั๋วชานในเมืองจางจู่ (张渚) นครอี๋ซิง (宜兴) มณฑลเจียงซูในประเทศจีน ศิลาจารึกนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ได้รับการคุ้มครองในระดับชาติในกลุ่มที่ 5[1]

เขากั๋วชานเดิมเรียกว่าเขาหลีมั่วชาน (离墨山) ในศักราชเทียนสี่ปีที่ 1 (ค.ศ. 276) ในรัชสมัยของจักรพรรดิซุนโฮในยุคสามก๊ก[2] หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว ได้ปรากฏช่องศิลาที่ลึกมากกว่า 10 กว่าจ้าง (丈) หรือมากกว่า 100 ฟุต ภายในช่องมีศิลาขนาดใหญ่ตั้งอยู่ ซุนโฮทรงเห็นว่าเหตุการณ์นี้เป็นนิมิตมงคล จึงส่งเสนาบดีตังเตียว (董朝 ต่ง เฉา) และโจว ฉู่ (周處) มายังภูเขาแห่งนี้เพื่อบวงสรวงแก่ฟ้าดิน และจารึกข้อความบนศิลาขึ้นซึ่งภายหลังเรียกด้วยชื่อว่าศิลาจารึกกั๋วชาน ศิลาจารึกมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกความสูง 2.35 เมตร จารึกสลักโดยขุนพลซู เจี้ยน (苏建) ด้วยตัวอักษรแบบตราหรือจฺว้านชู (篆書)[3] รวมทั้งหมดมี 43 บรรทัด บรรทัดละ 25 คำ ในศักราชเฉียนหลงปีที่ 29 (ค.ศ. 1764)[4] นายอำเภอถาง จ้งเหมี่ยน (唐仲冕) ได้ให้สร้างศาลาศิลาที่นี่ซึ่งภายหลังได้รับการบูรณะโดยฉู่ เฉียงหนาน (储强南) จากสาธารณรัฐจีน ปัจจุบันพื้นที่บริเวณศาลาได้ขยายไปเป็นสวนสาธารณะศิลาจารึกกั๋วชาน

อ้างอิง

[แก้]
  1. first volume of the 1st to 5th batches of important national-level preservation units of cultural relics. Cultural Relics Publishing House. 2004. p. 691. ISBN 7-5010-1525-2.
  2. 三国志 (The History of Three Kingdoms). 长沙:岳麓书社. 2011. ISBN 978-7-80761-405-0.
  3. 中国历代五体书法精品赏析.篆书 (Appreciation of Five Styles of Chinese Calligraphy ). 北京:世界图书出版公司. 2008. ISBN 978-7-5062-9879-7.
  4. 乾隆王朝 (Qianlong Reign). 中国青年出版社. 2008. ISBN 9787500681236.