ศิลปะเครื่องกล
ศิลปะเครื่องกล (ละติน: artes mechanicae, อังกฤษ: mechanical arts) เป็นแนวคิดในยุคกลางเกี่ยวกับการปฏิบัติหรือทักษะที่จัดเรียงลำดับไว้ มักเปรียบเทียบกับศิลปศาสตร์ตามประเพณีชาวตะวันตก 7 แขนง (artes liberales ซึ่งแปลตามตัวอักษรว่า ศิลปะที่คู่ควรกับเสรีชน) ในภาษาอังกฤษ ศิลปะเครื่องกลมีการเรียกแบบอื่นอีกด้วย ได้แก่ "servile" ([ศิลปะของ]ทาส) และ "vulgar" ([ศิลปะของ]สามัญชน)[1] โดยตั้งแต่สมัยโบราณ ศิลปะเครื่องกลถือว่าไม่คู่ควรกับชายที่เป็นอิสระเพราะถือว่าเป็นสิ่งที่ตอบสนองความต้องการที่ต่ำกว่าความต้องการของเสรีชน
การอธิบายโดยสรุป
[แก้]จอห์น สโกตัส แอร์ยูจีนา (ศตวรรษที่ 9) แบ่งศิลปะเครื่องกลเป็น 7 แขนง ได้แก่
- vestiaria (การตัดเย็บเสื้อผ้า, การทอผ้า)
- agricultura (เกษตรกรรม)
- architectura (สถาปัตยกรรม, การก่อสร้างด้วยหิน)
- militia และ venatoria (การทำสงครามและการล่าสัตว์, การศึกษาการทหาร, "ศิลปะการต่อสู้")
- mercatura (การค้า)
- coquinaria (การทำอาหาร)
- metallaria (การตีเหล็ก, โลหกรรม)[2]
ในงานเขียนชื่อว่า ดิดัสกะลิกน (Didascalicon) ของฮิวแห่งเซนต์วิกเตอร์ (ศตวรรษที่ 12) ผู้เขียนรวมการเดินเรือ เวชศาสตร์ และ ศิลปะการแสดงละครเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะเครื่องกล และไม่ถือว่าการค้า เกษตรกรรม และการทำอาหารเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะเครื่องกล[3] การรวมแบบนี้ของฮิวในระดับหนึ่งเป็นการกำหนดและยกระดับศิลปะเครื่องกลให้เป็นสิ่งที่ปรับปรุงมนุษยชาติ โดยเป็นการยกระดับที่เป็นตัวแทนของแนวโน้มที่กำลังได้รับความนิยมจากคนในยุคกลางตอนปลาย[4][5]
ในศตวรรษที่ 12 ดอมินิกุส กุนดิสซะลินุสเป็นผู้เริ่มกำหนดศิลปะเครื่องกลให้เป็นเรขาคณิตประยุกต์ในยุโรปตะวันตก โดยเขาได้รับอิทธิพลมาจากผลงานของชาวอาหรับที่เขาศึกษามา
ในศตวรรษที่ 19 คำว่า ศิลปะช่างกล (mechanic arts) ใช้อ้างถึงสาขาวิชาบางสาขาซึ่งรู้จักในนาม วิศวกรรม การใช้คำนี้เห็นได้ว่าเป็นการพยายามแยกสาขาวิชาเหล่านี้ออกจากสาขาวิชาที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์และศิลปะ เช่น ศิลปะการแสดงและวิจิตรศิลป์ ซึ่งมีไว้สำหรับชนชั้นสูงในเวลานั้นและสำหรับกลุ่มปัญญาชน นอกจากนี้ ศิลปะช่างกล ถือว่าเป็นสาขาวิชาที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริงสำหรับผู้ที่ไม่ได้มาจากครอบครัวที่ดี
วลีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ศิลปะที่มีประโยชน์ (useful arts) หรือ ศิลปะประยุกต์ (applied arts) ซึ่งอาจครอบคลุมศิลปะเครื่องกลและศิลปการทั่วไป
การใช้คำว่า ศิลปะช่างกล ในภาษาอังกฤษที่เป็นที่รู้จักที่สุด (และพบบ่อยที่สุดในปัจจุบันนี้) พบได้ในรัฐบัญญัติยกที่ดินสาธารณะให้ของมอร์ริลล์ (Morrill Land-Grant Acts)
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ เช่นดูที่ De Officiis, Book I, xxlii ของกิแกโร
- ↑ ในคำวิจารณ์เกี่ยวกับงานเขียนในศตวรรษที่ 5 ตอนต้นของมาร์ตีอานุส กาแปล์ลา ได้แก่ The Marriage of Philology and Mercury (การสมรสระหว่างนิรุกติศาสตร์กับเทพเมอร์คิวรี) ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งอ้างอิงหลักสำหรับการไตร่ตรองในยุคกลางเกี่ยวกับศิลปศาสตร์
- ↑ Hugues de Saint-Victor, Libri septem eruditiones didascaliae, ch.26 (PL 176, col.760): lanificium, armaturum, navigationem, agriculturem, venationem, medicinam, theatricam
- ↑ See Georges Legoff, Time, Work and Culture in the Middle Ages, (Chicago, University of Chicago Press) 116.
- ↑ Shiner, Dr. Larry (2003). The Invention of Art: A Cultural History. The University of Chicago Press. pp. 28–30.
อ้างอิง
[แก้]- Walton, S.A., An Introduction to the Mechanical Arts in the Middle Ages, AVISTA, University of Toronto, 2003