ศิลปะคริสเตียน
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ศิลปะคริสเตียน (อังกฤษ: Christian art) เป็นคำที่หมายถึงจักษุศิลป์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อแสดงความหมาย, ขยายความ และแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับหลักของศาสนาคริสต์ นิกายของศาสนาคริสต์เกือบทุกนิกายใช้ศิลปะคริสเตียนแต่จะมากบ้างน้อยบ้างก็แล้วแต่กฎบัตรของแต่ละนิกาย แต่โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใดหัวเรื่องการสร้างก็จะคล้ายคลึงกันคือจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวประวัติของพระเยซูจากพันธสัญญาใหม่ หรือบางครั้งก็รวมเรื่องราวจากพันธสัญญาเดิม นอกนั้นการเขียนเรื่องนักบุญหรือผู้มีความสำคัญต่อศาสนาก็เป็นที่นิยมกันโดยเฉพาะในนิกายโรมันคาทอลิก, นิกายแองกลิคัน และนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
ประวัติ
[แก้]เบื้องต้น
[แก้]ศิลปะคริสเตียนมีอายุนานพอ ๆ กับศาสนาคริสต์ สื่อที่พบที่เก่าที่สุดมาจาก ค.ศ. 70 ที่นักโบราณคดีพบที่ว้ดที่เมกิดโด (Megiddo) และประติมากรรมเก่าที่สุดที่พบมาจากคริสต์ศตวรรษที่ 2 เป็นงานสลักบนโลงหิน
หลังจักรวรรดิโรมัน
[แก้]ศิลปะที่พบหลักจากจักรวรรดิโรมันล่มเป็นศิลปะคริสเตียนแทบทั้งสิ้น หลังจากจักรวรรดิโรมันล่มสถาบันศาสนาคริสต์ก็เข้ามามีบทบาทและอำนาจแทนที่ซึ่งปัจจุบันคือสถาบันโรมันคาทอลิกผู้เป็นตัวจักรสำคัญในการสร้างศิลปะคริสเตียน ทางออร์ทอดอกซ์ตะวันออกที่คอนสแตนติโนเปิลที่ยังมีความสงบกว่าภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมันตะวันออกก็มีบทบาทสำคัญในการสร้างศิลปะคริสเตียนทางตะวันออก เมื่อสถานะการทางการเมืองของทางตะวันตกเริ่มมั่นคงขึ้นบางระหว่างยุคกลางสถาบันโรมันคาทอลิกก็เพิ่มบทบาทในการสนับสนุนการสร้างศิลปะโดยการจ้างจิตรกร ประติมากร และสถาปนิกในสร้างงานให้สถาบันโดยตรง สถาปัตยกรรมศาสนาคริสต์ออกมาในรูปของวัดแบบต่าง ๆ, มหาวิหาร, สำนักสงฆ์ และ ที่เก็บศพ หรือ อนุสาวรีย์ผู้ตาย (tombs)
ระหว่างการวิวัฒนาการทางศิลปะคริสเตียนในจักรวรรดิไบแซนไทน์จากแบบนามธรรมของกรีกก็กลายมาเป็นศิลปะที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากขึ้นบ้าง แต่ลักษณะใหม่นี้ก็ยังเป็นแบบจินตนิยม (hieratic) จุดประสงค์ของศิลปะทำเพื่อสื่อสารข้อมูลทางศาสนามีใช่เพื่อให้เหมือนสิ่งที่วาดหรือแม่แบบอย่างเที่ยงตรง การเขียนภาพจะไม่คำนึงถึงการเขียนแบบทัศนียภาพ ให้ได้สัดส่วนแสงเงาที่ถูกต้องแต่จะใช้รูปทรงที่ง่าย และการวางองค์ประกอบที่เป็นมาตรฐาน เพราะความขัดแย้งในการใช้ "รูปต้องห้าม" (idol หรือ graven images) จากที่ตีความหมายจากบัญญัติข้อที่สองของบัญญัติ 10 ประการและสถานะการณ์เกี่ยวกับลัทธิทำลายรูปสัญลักษณ์ทำให้มีผลสองประการ: การออกมาตรฐานของการแสดงรูปสัญลักษณ์ทางศาสนาคริสต์ภายในนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ซึ่งเป็นผลให้การแสดงออกทางศิลปะเป็นแบบจุลนิยมในศิลปะของนิกายโปรเตสแตนต์ต่อมาภายหลัง
สมัยใหม่
[แก้]เมื่อปรัชญาทางโลกและการแยกระหว่างศาสนากับทางโลกเริ่มมีความสำคัญมาขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในยุโรปตะวันตก ก็เริ่มมีการสะสมศิลปะคริสเตียนจากยุคกลางมิใช่เพื่อเป็นการสักการะแต่เพราะเป็นสิ่งสะสมที่มีคุณค่าทางศิลปะในขณะเดียวกันศิลปะคริสเตียนร่วมสมัยก็ลดความสำคัญลง ศิลปินก็สร้างงานทางศาสนาน้อยลงเป็นลำดับหรือถ้าทำก็เป็นโอกาสพิเศษ แต่ก็มีศิลปินบางคนที่ยังสร้างงานศาสนาเช่น มาร์ก ชากาล (Marc Chagall), อ็องรี มาติส, เจคอป เอพสไตน์ (Jacob Epstein) และอลิสซาเบ็ธ ฟริงค์ (Elizabeth Frink)[1]
---คริสต์ศิลป์สมัยนิยม---
วิวัฒนาการการพิมพ์ทำให้เกิดความแพร่หลายของลัทธินิยมในการเป็นเจ้าของภาพพิมพ์ทางศิลปะ เช่นงานจิตรกรรมของ Mihály Munkácsy ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หรืองานสมัยใหม่ของทอมัส คินเคด (Thomas Kinkade) และทอมัส แบล็กเชียร์ (Thomas Blackshear) เป็นต้น[2]
สัญลักษณ์นิยม
[แก้]ศิลปะคริสเตียนไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดมักจะแสดงบุคคลหรือเหตุการณ์ที่เฉพาะเจาะจง แต่ละชิ้นก็จะเป็นสัญลักษณ์นิยม(Symbolism) ของแต่ละนิกาย การใช้สัญลักษณ์ไม่มีกฎตายตัวเช่นการใช้กางเขนก็จะไม่เหมือนกันไปทุกนิกายหรือลัทธิ หรือแม้แต่คัมภีร์ไบเบิลก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามหัวข้อใหญ่ ๆ ที่ทำกันไม่ว่าจะเป็นลัทธิใดก็ได้แก่
หัวเรื่องศิลปะคริสเตียน
[แก้]หัวเรื่องศิลปะคริสเตียนที่นิยมเขียนหรือสร้างกันมากก็ได้แก่
- "การประกาศของเทพ"[1] (Annunciation)
- "การประสูติของพระเยซู"[2] (Nativity of Jesus (art))
- "การชื่นชมของแมไจ"[3] (Adoration of the Magi)
- "การชื่นชมของคนเลี้ยงแกะ"[4] (Adoration of the shepherds)
- "การชื่นชมพระเยซู" (Adoration of Jesus)
- "พระแม่มารีและพระบุตร"[5] (Madonna and Child) ซึ่งอาจจะมีนักบุญอยู่รอบ ๆ หรือผู้อุทิศ
- "พระแม่มารีและพระบุตรกับนักบุญ" [6] (Sacra conversazione) ซึ่งเป็นพระแม่มารีและพระบุตรกับกลุ่มนักบุญ
- "พระเยซูรับศีลจุ่ม"[7] (Baptism of Jesus)
- "ครอบครัวพระเยซู"[8] (Holy Family)
- "พระเยซูหนีไปอียิปต์"[9] (Flight into Egypt)
- "พระเยซูเข้ากรุงเยรุซาเล็ม"[10] (Entry into Jerusalem)
- "พระเยซูในสวนเกทเสมนี"[11] (Jesus praying in Gethsemane)
- "พระเยซูถูกจับ"[12] (Arrest of Jesus)
- "การตัดสินของพระเยซู"[13] (Sanhedrin Trial of Jesus)
- "พระกระยาหารมื้อสุดท้าย"[14] (The Last Supper)
- "พระเยซูบนกางเขน"[15] (Crucifixion)
- "ชะลอร่างจากกางเขน"[16] (Descent from the Cross)
- "ปิเอต้า"[17] (Pietà หรือ Lamentation)
- "พระเยซูคืนชีพ"[18] (Resurrection appearances of Jesus)
- "อย่ายึดข้า"[19] (Noli me tangere)
- "ทางสู่กางเขน" (Stations of the Cross)
- "อัสสัมชัญของพระเยซู"[20] (Ascension of Jesus)
- "พระเยซูผู้ทรงเดชานุภาพ"[21] (Christ in Majesty)
- "การตัดสินครั้งสุดท้าย"[22] (The Last Judgment)
- "การประสูติของพระแม่มารี" (Nativity of Mary/Birth of Virgin)
- "การสวมมงกุฏพระแม่มารี"[23] (Coronation of the Virgin)
- "อัสสัมชัญของพระแม่มารี"[24] (Assumption of the Virgin Mary in Art)
- "มาเอสตา"[25] (Maestà)
- "ตรีเอกภาพ"[26] (Trinity)
- "พงศาวลีเจสสี"[27] (Tree of Jesse)
- "เอบราฮัมสังเวยไอแซ็ค"[28] (Sacrifice of Isaac)
- "ขับจากสวรรค์"[29] (Expulsion of Adam and Eve หรือ Fall of Man)
- เทวดา, นักบุญ, พระสันตะปาปา
อ้างอิง
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]- ศิลปะไบแซนไทน์
- ศิลปะกอทิก
- สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
- สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์
- สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์
- สถาปัตยกรรมกอทิก
- สถาปัตยกรรมบาโรก
- สถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา
- สถาปัตยกรรมการก่อสร้างมหาวิหารในยุโรปตะวันตก
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ศิลปะคริสเตียน วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จิตรกรรมฝาผนังของศาสนาคริสต์ วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระเยซู วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระแม่มารีและพระบุตร วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ภาพเขียนนักบุญ วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ รูปปั้นในศาสนาคริสต์ วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สถาปัตยกรรมวัดศาสนาคริสต์
ตัวอย่างศิลปะแบบต่าง ๆ และสมัยต่าง ๆ
[แก้]-
จิตรกรรมแผง
"พระเยซูในสวนเกทเสมนี" โดยครูบาวัดซังเซเวรอง (ราว ค.ศ. 1500) มิวนิก, ประเทศเยอรมนี -
รูปแขวนจากเพดานเหนือแท่นบูชา "พระแม่มารีและพระบุตร" มหาวิหารอาเคิน เยอรมนี