ศาสนาฮินดูในประเทศมัลดีฟส์
ศาสนาฮินดูในประเทศมัลดีฟส์ เป็นหนึ่งในศาสนาที่เคยรุ่งเรืองในประเทศมัลดีฟส์ พร้อม ๆ กับศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน ก่อนการมาถึงของศาสนาอิสลาม ปัจจุบันยังหลงเหลือศาสนวัตถุและโบราณสถานช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8–9 เช่นเทวรูปพระศิวะ พระลักษมี และพระอคัสตยะ[1]
ตำนานพื้นบ้านของมัลดีฟส์กล่าวถึงโอทิตันกาเลเค (Oditan Kalēge) ตรงกับชื่อสันสกฤตว่าวสิษฐะ เป็นมหาฤๅษีผู้ยิ่งใหญ่ มีภรรยาชื่อโทคีไอฮา (Dōgi Aihā) ตรงกับชื่อสันสกฤตว่าโยคินี นางมีรูปโฉมงดงามทว่าอารมณ์ร้าย มีพลังเวทย์ขั้นสูงดุจเดียวกับสามี[1]
หลังพระมหากษัตริย์มัลดีฟส์เข้ารีตศาสนาอิสลามหลังคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา ทั้งศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธก็อันตรธานหายไปจากหมู่เกาะ
ดอน ฮิยาลา และอาลี ฟูลฮู
[แก้]มีนิทานปรัมปราเรื่อง ดอน ฮิยาลา และอาลี ฟูลฮู (Dhon Hiyala and Ali Fulhu) เป็นเรื่องราวความรักระหว่างดอน ฮิยาลา (Dhon Hiyala) ซึ่งเป็นหญิงงามที่มีแต่ชายหมายปอง กับอาลี ฟูลฮู (Ali Fulhu) หนุ่มนักการศาสนา ในเวลาต่อมามีหญิงอีกคนหนึ่งชื่อเฮาวา ฟูลฮู (Hawwa Fulhu) ชอบพออาลีและอยากแต่งงานด้วย แต่อาลีนั้นมีใจรักฮิยาลา เฮาวาจึงจองเวรฮิยาลาด้วยเวทมนตร์คาถา และด้วยความที่ฮิยาลามีรูปโฉมสวยงาม ก็มีชายหลายคนพึงใจแม้แต่พระราชาไลมากู อาลี (Lhaimagu Ali) ก็หลงใหลในตัวเธอ และพยายามลักพาตัวเธอไปในรั้วในวัง อาลีต้องใช้ไหวพริบในการแก้ปัญหา[2]
จะเห็นได้ว่านิทานเรื่องนี้มีพื้นฐานมาจาก รามายณะ เช่นเดียวกับดินแดนอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1] แม้จะมีโครงเรื่องต่างกันไปบ้าง[3] แต่ก็มีจุดสังเกตเรื่องความเชื่อมโยงระหว่าง รามายณะ กับ ดอน ฮิลายา และอาลี ฟูลฮู เช่น[4]
- พระราชาไลมากูลักพาตัวนางเอกเช่นเดียวกับราวณะ
- นางสีดาเกิดบนพื้นโลก ส่วนฮิลายาเกิดในห้องใต้ดิน
- พระรามเสด็จออกจากอาณาจักร ส่วนอาลีออกจากเกาะฮุลฮูเดลี
- ความสัมพันธ์ระหว่างนางเฮาวากับอาลีใกล้เคียงกับความสัมพันธ์ระหว่างนางศูรปณขากับพระราม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Xavier Romero-Frias, The Maldive Islanders, A Study of the Popular Culture of an Ancient Ocean Kingdom. Barcelona 1999, ISBN 84-7254-801-5
- ↑ "Abdullah Sadiq: Dhon Hiyala and Ali Fulhu". The Modern Novel. 2547. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Vladimir Propp, Morphology of the Folktale, Austin, Texas, 1984, ISBN 0-292-78376-0
- ↑ Abdullah Sadiq (2004). Dhon Hiyala and Ali Fulhu (PDF). F. Abdullah and M. O'Shea. p. 102. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-27. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.