ศาสนาอิสลามในสหราชอาณาจักร
มัสยิดกลางแบรดฟอร์ดเป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดตามความจุในสหราชอาณาจักร และใหญ่ที่สุดในยอร์กเชอร์และฮัมเบอร์ | |
ศาสนิกชนรวม | |
---|---|
| |
ภูมิภาคที่มีศาสนิกชนจำนวนมาก | |
เกรตเตอร์ลอนดอน | 1,318,754 |
เวสต์มิดแลนส์ | 569,963 |
นอร์ทเวสต์อิงแลนด์ | 563,105 |
ยอร์กเชอร์และฮัมเบอร์ | 442,533 |
ศาสนา | |
ส่วนใหญ่นับถือนิกายซุนนี ส่วนชีอะฮ์มีจำนวนมาก และส่วนน้อยนับถือนิกายอะห์มะดียะฮ์ | |
ภาษา | |
อังกฤษ, ปัญจาบ, สินธ์, อูรดู, เบงกอล, คุชราต, อาหรับ, ตุรกี, โซมาลี, เปอร์เซีย[2] |
90–100% | |
70–80% | คาซัคสถาน |
50–70% | |
30–50% | มาซิโดเนียเหนือ |
10–20% | |
5–10% | |
4–5% | |
2–4% | |
1–2% | |
< 1% |
ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับ 2 ในสหราชอาณาจักร ซึ่งมาจากผลสำรวจสำมะโน ค.ศ. 2011 ที่ระบุจำนวนประชากรทั้งหมด 2,786,635 คน หรือ 4.4% ของประชากรสหราชอาณาจักรทั้งหมด[4] ส่วนสำมะโน ค.ศ. 2021 (เท่าที่เผยแพร่ในข้อมูลเมื่อ พฤศจิกายน 2022[update]) แสดงจำนวนประชากรที่ 3,868,133 คน (6.5%) ในอังกฤษและเวลส์ แบ่งเป็นในประเทศอังกฤษ 3,801,179 คน และประเทศเวลส์ 66,950 คน[5][6][a] สำมะโน ค.ศ. 2011 รายงานมุสลิม 76,737 คนในประเทศสกอตแลนด์ (1.45%) ลอนดอนเป็นเมืองที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุดของประเทศ[7][8][9] ประชากรมุสลิมส่วนใหญ่ในสหราชอาณาจักรนับถือศาสนาอิสลามนิกายซึนนี[10] และจำนวนน้อยที่นับถือนิกายชีอะฮ์
ในสมัยกลาง มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมโดยทั่วไประหว่างโลกคริสเตียนกับโลกอิสลาม อย่างไรก็ตาม ในเวลานั้นยังไม่มีมุสลิมอาศัยอยู่ในบริติชไอลส์ (นักรบครูเสดบางส่วนหันมาเข้ารีตในดินแดนตะวันออก เช่น รอเบิร์ตแห่งเซนต์ออลบันส์) ในสมัยเอลิซาเบธ การติดต่อเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากราชวงศ์ทิวเดอร์สร้างพันธมิตรกับโมร็อกโกและจักรวรรดิออตโตมันเพื่อต่อต้านสเปนสมัยราชวงศ์ฮาพส์บวร์คที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก เมื่อจักรวรรดิบริติชเติบโตขึ้น โดยเฉพาะในอินเดีย บริเตนจึงเริ่มปกครองดินแดนที่มีพลเมืองมุสลิมจำนวนมาก โดยกลุ่มหนึ่งที่รู้จักกันในชื่อ lascar เป็นที่รู้จักจากการที่พวกเขาตั้งถิ่นฐานในบริเตนในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 บูรพาคดีศึกษาสมัยวิกตอเรียกระตุ้นความสนใจต่อศาสนาอิสลาม และชาวบริติชบางส่วน (รวมถึงชนชั้นสูง) หันมาเข้ารับอิสลาม
ส่วนภายในกองทัพบริติชอินเดียน มีมุสลิมจำนวนมากต่อสู้เพื่อสหราชอาณาจักรทั้งในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและที่สอง (โดยมีหลายคนที่ได้รับรางวัลกางเขนวิกตอเรีย เครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของบริเตน) หลายทศวรรษหลังความขัดแย้งในช่วงหลังกับการแบ่งอินเดียใน ค.ศ. 1947 มุสลิมหลายคน (จากบริเวณที่ปัจจุบันคือบังกลาเทศ, อินเดีย และปากีสถาน) เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเตน จนกระทั่งปัจจุบัน ชาวบริติชเอเชียน (British Asians) เป็นประชากรมุสลิมส่วนใหญ่ในสหราชอาณาจักรในแง่ของเชื้อชาติ[11][12] แม้ว่าจะมีชุมชนเติร์ก, อาหรับ และโซมาลีที่สำคัญ และมีชาวบริติชจากภูมิหลังทางชาติพันธุ์หลายกลุ่มที่เข้ารับอิสลามสูงสุดถึง 100,000 คนก็ตาม[13]
ประวัติ
[แก้]ช่วงต้น
[แก้]แม้ว่าโดยทั่วไปศาสนาอิสลามคาดว่าเป็นการเข้ามายังสหราชอาณาจักรเมื่อไม่นานมานี้ แต่มุสลิมได้ทำการค้าขายและแลกเปลี่ยนแนวคิดกับชาวบริติชมาหลายศตวรรษ
หลักฐานแรกสุดของอิทธิพลอิสลามในอังกฤษสืบไปได้ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 เมื่อออฟฟา กษัตริย์แอลโกล-แซกซันแห่งเมอร์เซีย ผลิตเงินที่มีจารึกภาษาอาหรับ ส่วนใหญ่เป็นสำเนาของเหรียญที่ออกโดยอัลมันศูร ผู้ปกครองอับบาซียะฮ์ที่มีชีวิตร่วมสมัยกับพระองค์[14] ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 มุสลิมจากแอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลาง และเอเชียกลางเข้ามาอยู่ที่ลอนดอน โดยทำงานหลากหลายประเภท ตั้งแต่นักการทูตและนักแปล ไปจนถึงพ่อค้าและนักดนตรี[15]
ประชากร
[แก้]ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1961 | 50,000[16] | — |
1971 | 226,000[16] | +352.0% |
1981 | 553,000[16] | +144.7% |
1991 | 950,000[16] | +71.8% |
2001 | 1,600,000[16] | +68.4% |
2011 | 2,706,066[17] | +69.1% |
2021 | 3,868,133[18] | +42.9% |
ประชากรมุสลิมในประเทศอังกฤษและเวลส์เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง โซฟี กิลเลียต-เรย์ยกการเติบโตในช่วงล่าสุดเข้ากับ "การอพยพในช่วงล่าสุด อัตราการเกิดที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย บางส่วนเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม"[19]
สำมะโนสหราชอาณาจักร ค.ศ. 2021 รายงานว่า มุสลิมในอังกฤษและเวลส์มีจำนวน 3,868,133 คน หรือ 6.5% ของประชากรทั้งหมด[20]
ปีสำรวจสำมะโน | จำนวนมุสลิม | ประชากรในอังกฤษและเวลส์ | มุสลิม (ร้อยละของประชากร) | มัสยิดที่จดทะเบียนแล้ว | จำนวนมุสลิมต่อมัสยิด |
---|---|---|---|---|---|
1961 | 50,000 | 46,196,000 | 0.11[16] | 7 | 7,143 |
1971 | 226,000 | 49,152,000 | 0.46[16] | 30 | 7,533 |
1981 | 553,000 | 49,634,000 | 1.11[16] | 149 | 3,711 |
1991 | 950,000 | 51,099,000 | 1.86[16] | 443 | 2,144 |
2001 | 1,600,000 | 52,042,000 | 3.07[16] | 614 | 2,606 |
2011 | 2,706,000 | 56,076,000 | 4.83[17] | 1,500 | 1,912 |
2017 (ประมาณ) | 3,373,000[21] | – | 5.17 | – | – |
2021 | 3,868,133 | 59,597,542 | 6.5 | – | – |
ตามการคาดการณ์ล่าสุด ประชากรมุสลิมในสหราชอาณาจักรน่าจะมีจำนวนประมาณ 13 ล้านคนภายใน ค.ศ. 2050[22]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ จำนวนที่ตีพิมพ์ในสำมะโน ค.ศ. 2021 โดยรวมสำหรับอังกฤษและเวลส์แตกต่างจากยอดรวมตามพื้นที่ด้วย 5
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Religious composition, 2011 and 2021, England and Wales". Office of National Statistics. 2022-11-29. สืบค้นเมื่อ 2022-11-29.
- ↑ "2011 Census: Quick Statistics". สืบค้นเมื่อ 17 May 2014.
- ↑ "Religious Composition by Country, 2010-2050". Pew Research Center. 12 April 2015. สืบค้นเมื่อ 22 October 2017.
- ↑ CT0341_2011 Census - Religion by ethnic group by main language - England and Wales ONS.
- ↑ "Religion, England and Wales - Office for National Statistics". www.ons.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 2022-12-05.
- ↑ "Religion (detailed) - Office for National Statistics". www.ons.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 2022-12-05.
- ↑ "2011 Census: KS209EW Religion, local authorities in England and Wales (Excel sheet 270Kb)" (xls). Office for National Statistics. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2013. สืบค้นเมื่อ 7 July 2014.
- ↑ "Scotland's Census 2011 – National Records of Scotland Table KS209SCa – Religion (UK harmonised)" (PDF). National Records of Scotland. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2013. สืบค้นเมื่อ 7 July 2014.
- ↑ "Religion – Full Detail: QS218NI" (xls). Northern Ireland Statistics and Research Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2013. สืบค้นเมื่อ 7 July 2014.
- ↑ UK Masjid Statistics เก็บถาวร 11 กันยายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Muslims In Britain (18 August 2010)
- ↑ Shaw, Alison (4 April 2011). "Review of Crime and Muslim Britain: Culture and the Politics of Criminology among British Pakistanis by Marta Bolognani". Journal of Islamic Studies. Oxford Journals. 22 (2): 288–291. doi:10.1093/jis/etr020.
- ↑ Muslims in Britain: an Introduction, Cambridge: Cambridge University Press, pp.xvii + 318, ISBN 978-0-521-83006-5
- ↑ Nye, Catrin (4 January 2011). "The white Britons converting to Islam". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2 September 2020.
- ↑ "Offa Dinar". British Museum. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2017.
- ↑ Brotton, Jerry (21 March 2016). "The First Muslims in England". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 March 2016. สืบค้นเมื่อ 21 March 2016.
- ↑ 16.00 16.01 16.02 16.03 16.04 16.05 16.06 16.07 16.08 16.09 "Hindu, Muslim and Sikh populations". brin.ac.uk/figures. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มีนาคม 2013.
- ↑ 17.0 17.1 17.2 "Datablog: UK Census: religion by age, ethnicity and country of birth". The Guardian. 16 May 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 May 2016. สืบค้นเมื่อ 5 July 2014.
- ↑ "Religion, England and Wales: Census 2021 - Office for National Statistics".
- ↑ Gilliat-Ray, Sophie (2010). Muslims in Britain. Cambridge University Press. p. 117. ISBN 9780521536882., reported in Field, Clive. "How Many Muslims?". British Religion in Numbers. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2015. สืบค้นเมื่อ 7 July 2014.
- ↑ "Religion, England and Wales - Office for National Statistics". www.ons.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 2022-11-29.
- ↑ "Muslim population in the UK". 2 August 2018 – โดยทาง www.ons.gov.uk.
- ↑ Rudgard, Olivia (29 November 2017). "Muslim population of the UK could triple to 13m following 'record' influx". The Telegraph. ISSN 0307-1235. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2022. สืบค้นเมื่อ 15 July 2018.
- Laçiner, Sedat (2008), Ermeni sorunu, diaspora ve Türk dış politikası: Ermeni iddiaları Türkiye'nin dünya ile ilişkilerini nasıl etkiliyor?, USAK Books, ISBN 978-6054030071.
- Sonyel, Salahi R. (2000), "Turkish Migrants in Europe" (PDF), Perceptions, Center for Strategic Research, 5 (Sept.–Nov. 00): 146–153, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 March 2013, สืบค้นเมื่อ 8 August 2019
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Koenig, Matthias. "Incorporating Muslim migrants in Western nation states—a comparison of the United Kingdom, France, and Germany." in Marian Burchardt & Ines Michalowski, eds., After Integration (Springer Fachmedien Wiesbaden, 2015) pp. 43–58.
- Lewicki, Aleksandra, and Therese O’Toole. "Acts and practices of citizenship: Muslim women’s activism in the UK. Ethnic and Racial Studies 40#1 (2017): 152-171.
- Lewicki, Aleksandra. Social Justice Through Citizenship?: The Politics of Muslim Integration in Germany and Great Britain (Springer, 2014).
- Lewis, Valerie A., and Ridhi Kashyap. "Piety in a Secular Society: Migration, Religiosity, and Islam in Britain." International Migration 51#3 (2013): 57–66.
- Model, Suzanne, and Lang Lin. "The cost of not being Christian: Hindus, Sikhs and Muslims in Britain and Canada." International Migration Review 36#4 (2002): 1061–1092.
- Peach, Ceri, and Richard Gale. "Muslims, Hindus, and Sikhs in the new religious landscape of England." Geographical Review 93#4 (2003): 469–490.