ศาสนาคริสต์ในประเทศญี่ปุ่น
ส่วนหนึ่งของ |
ศาสนาคริสต์ |
---|
สถานีย่อย |
ศาสนาคริสต์ในญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในศาสนากลุ่มน้อยของประเทศ โดยมีผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์และที่เกี่ยวข้องระหว่างน้อยกว่า 1[1][2][3][4] ถึง 1.5%[5] ของประชากร นิกายในศาสนาคริสต์ที่ใหญ่ที่สุด เช่น โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ และอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ สามารถพบเห็นได้ในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1990 คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่นับถือศาสนาชินโตหรือศาสนาพุทธ คู่รักชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ประมาณ 60-70% มักแต่งงานแบบคริสต์ สิ่งนี้ทำให้งานแต่งงานแบบคริสต์เป็นแง่มุมของศาสนาคริสต์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดของศาสนาคริสต์ในประเทศญี่ปุ่นสมัยปัจจุบัน[6]
วัฒนธรรม
[แก้]ญี่ปุ่นยังคงเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเป็นฆราวาสมากที่สุดในโลกจาก World Values Survey ในขณะที่อาจมีชาวญี่ปุ่นนับถือศาสนาคริสต์มากถึง 3 ล้านคน[7] แต่ก็มักแพร่กระจายไปในหลายนิกาย 70 เปอร์เซ็นต์ของโบสถ์ในญี่ปุ่นมักมีผู้เข้าร่วมโดยเฉลี่ยน้อยกว่า 50 คนแม้ว่าจะมีจำนวนสมาชิกมากกว่าเกือบสองเท่า[8]
วันหยุด
[แก้]งานเฉลิมฉลองในวันหยุดตามศาสนาคริสต์ได้รับความนิยมในญี่ปุ่นตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง โดยส่วนใหญ่เป็นงานเชิงพาณิชย์ แต่ยังให้ความสำคัญกับการแบ่งปันเวลากับคนรักทั้งคนสำคัญในตรอบครัวหรือครอบครัวที่ใกล้ชิด
ยกเว้นในชุมชนที่นับถือศาสนาคริสต์ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยของญี่ปุ่น โดยทั่วไปแล้วเทศกาลอีสเตอร์จะไม่มีการเฉลิมฉลองพิเศษใด ๆ
คริสต์มาสในญี่ปุ่นมีการเฉลิมฉลองในระดับที่ใหญ่กว่าในฐานะเทศกาลทางการค้ามาก แต่ไม่ใช่วันหยุดราชการ ไฟคริสต์มาส[9] ซานตาคลอส ปาร์ตี้แลกเปลี่ยนของขวัญ และรับประทานอาหารคริสต์มาสที่ได้รับแรงบันดาลใจจากตะวันตก โดยเฉพาะไก่ทอดเคนตักกี้ และสตรอเบอร์รี่ชอร์ตเค้ก ล้วนเป็นลักษณะที่คุ้นเคยของงานนี้[10] ชาวคริสต์และฝ่ายซ้ายบางคนวิพากษ์วิจารณ์ว่านี่เป็นทำให้วันหยุดเป็นเชิงพาณิชย์ซึ่งขัดกับคำสอนของพระเยซู[11][12] ในญี่ปุ่นแทนที่จะเป็นงานครอบครัวหรืองานทางศาสนา คริสต์มาสถูกมองว่าเป็นเวลาที่จะใช้ร่วมกับเพื่อนหรือคนสำคัญอื่น ๆ คริสต์มาสอีฟมีการเฉลิมฉลองเป็นวันหยุดของคู่รักที่มีการแลกเปลี่ยนของขวัญ
วันวาเลนไทน์ในญี่ปุ่นก็มีการเฉลิมฉลองเช่นกัน แต่ประเพณีวัฒนธรรมมักจะสลับกันกับตะวันตก ผู้หญิงให้ของขวัญช็อคโกแลตแก่ผู้ชายวันวาเลนไทน์ และในไวต์เดย์หนึ่งเดือนต่อมาจะส่งของขวัญคืน ผู้หญิงแลกเปลี่ยนของขวัญระหว่างกันบ่อยและบางครั้งจะให้ช็อคโกแลตเพื่อนร่วมงานชาย แม้ว่าการแลกเปลี่ยนนี้มักจะเป็นของขวัญตามหน้าที่ ไม่ใช่เรื่องปกติที่คู่รักจะออกเดทด้วยกัน ซึ่งมักจะทำในวันคริสต์มาสอีฟแทน
การแสดงออก
[แก้]งานแต่งงานแบบคริสต์กลายเป็นทางเลือก (หรือเพิ่มเติม) ให้กับพิธีชินโตแบบดั้งเดิม ส่วนหนึ่งเกิดจากความพยายามในการเผยแผ่ศาสนาของโบสถ์คริสต์ในประเทศญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จและความพยายามทางการค้า สถาปัตยกรรมโบสถ์จัดงานแต่งงานได้ผุดขึ้นทั่วญี่ปุ่นเพื่อตอบสนองความต้องการของชาวญี่ปุ่นที่ไม่ได้เข้าร่วมคริสตจักรแต่ยังคงต้องการพิธีนี้[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Why Japan Wants Its Past Persecution of Christians to Be World Renowned May 29, 2018 Christianity Today
- ↑ "Christians use English to reach Japanese youth". Mission Network News. 3 September 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 June 2010. สืบค้นเมื่อ 20 September 2010.
The population of Japan is less than one-percent Christian
- ↑ Heide Fehrenbach, Uta G. Poiger (2000). Transactions, transgressions, transformations: American culture in Western Europe and Japan. Berghahn Books. p. 62. ISBN 978-1-57181-108-0.
... followers of the Christian faith constitute only about a half percent of the Japanese population
- ↑ Ishikawa Akito (22 November 2019), "A Little Faith: Christianity and the Japanese", Nippon.com. Retrieved 7 December 2019.
- ↑ 宗教年鑑 令和元年版 [Religious Yearbook 2019] (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs, Government of Japan. 2019. p. 35.
- ↑ 6.0 6.1 LeFebvre, Jesse (2 November 2015). "Christian Wedding Ceremonies 'Nonreligiousness' in Contemporary Japan". Japanese Journal of Religious Studies. 42 (2). doi:10.18874/jjrs.42.2.2015.185-203.
- ↑ US State Department 2007 Religious Freedom Report. State.gov (2007-09-14). Retrieved on 2011-06-15.
- ↑ OMF International – Japan, the Land of Contrasts เก็บถาวร 2013-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Omf.org. Retrieved on 2011-06-15.
- ↑ Shizuko Mishima, About.com guide. Christmas in Japan เก็บถาวร 2011-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Japan travel section of About.com. Retrieved 2010-01-27.
- ↑ https://www.smithsonianmag.com/arts-culture/why-japan-is-obsessed-with-kentucky-fried-chicken-on-christmas-1-161666960/
- ↑ Kimura, Junko; Belk, Russell (September 2005). "Christmas in Japan: Globalization Versus Localization". Consumption Markets & Culture. 8 (3): 325–338. doi:10.1080/10253860500160361. S2CID 144740841.
- ↑ Luna Batinga, Georgiana; de Rezende Pinto, Marcelo; Pimenta Resende, Sara (October 2017). "Christmas, consumption and materialism: discourse analysis of children's Christmas letters". Review of Business Management: 557–573. doi:10.7819/rbgn.v0i0.3429.