ข้ามไปเนื้อหา

ศาลเจ้าโมริโอกะฮาจิมัง

พิกัด: 39°41′43.11″N 141°09′50.62″E / 39.6953083°N 141.1640611°E / 39.6953083; 141.1640611
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาลเจ้าโมริโอกะฮาจิมัง
盛岡八幡宮
ฮนเด็งของศาลเจ้าโมริโอกะฮาจิมัง
ศาสนา
ศาสนาชินโต
เทพฮาจิมัง
เทศกาล15 กันยายน
ประเภทศาลเจ้าฮาจิมัง
ที่ตั้ง
ที่ตั้งเมืองยาวาตะ 13-2, โมริโอกะ, จังหวัดอิวาเตะ
ศาลเจ้าโมริโอกะฮาจิมังตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ศาลเจ้าโมริโอกะฮาจิมัง
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัดภูมิศาสตร์39°41′43.11″N 141°09′50.62″E / 39.6953083°N 141.1640611°E / 39.6953083; 141.1640611
สถาปัตยกรรม
รูปแบบฮาจิมังซุคุริ
เริ่มก่อตั้ง1062
เว็บไซต์
www.morioka8man.jp
อภิธานศัพท์ชินโต

ศาลเจ้าโมริโอกะฮาจิมัง (ญี่ปุ่น: 盛岡八幡宮โรมาจิMorioka Hachiman-gū) เป็นศาลเจ้าชินโตในนครโมริโอกะทางตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่น ศาลเจ้านี้เป็นที่รู้จักกันในเรื่องของงานเทศกาลประจำปี โดยจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่สองของเดือนมิถุนายน ซึ่งขึ้นชื่อในเรื่อง ชากุ ชากุ อุมักโกะ การเดินขบวนพาเรดม้าซึ่งได้รับการยอมรับให้เป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมพื้นบ้านที่จับต้องไม่ได้ในปี 1978[1] ต่อมาในปี 1996 เสียงกระดิ่งของ ชากุ ชากุ อุมักโกะ ได้รับการคัดเลือกโดยกระทรวงสิ่งแวดล้อมให้เป็นหนึ่งใน 100 ทัศนียภาพเสียงแห่งญี่ปุ่น[2] ศาลเจ้านี้ยังเป็นที่โด่งดังจากการจัดแสดงการยิงธนูบนหลังม้า ยาบุซาเมะ ในวันที่ 15 กันยายน ของทุก ๆ ปี

ประวัติ

[แก้]

ศาลเจ้าโมริโอกะฮาจิมังถูกสร้างขึ้นในปี 1062 ช่วงปลายของยุคเฮอัง เมื่อ มินาโมโตะ โนะ โยริโยชิ ได้นำการบุนเรของศาลเจ้าแห่งตระกูลมินาโมโตะที่มีนามว่า ศาลเจ้าอิวาชิมิซุฮาจิมัง ตั้งอยู่ ณ นครเกียวโต โดยนำไปเพื่ออธิษฐานให้มีชัยในการสู้รบกับตระกูลอาเบะระหว่างสงครามเก้าปีเดิม โดยศาลเจ้าโมริโอกะฮาจิมังนี้ แต่เดิมถูกเรียกว่า ศาลเจ้าฮาโตโมริฮาจิมัง (鳩森八幡宮) ต่อมาในปี 1593 ก็ได้ถูกสร้างขึ้นใหม่โดยตระกูลนันบุเพื่อให้เป็นศาลเจ้าอารักษ์ปราสาทโมริโอกะ ภายใต้ระบบการจัดอันดับศาลเจ้าของศาสนาชินโตตั้งแต่ปี 1871 ถึง 1946 ศาลเจ้าโมริโอกะฮาจิมังถูกกำหนดให้เป็น "ศาลเจ้าประจำจังหวัด" อย่างเป็นทางการ โครงสร้างของยุคเอโดะถูกไฟเผาลงตั้งแต่ปี 1884 โดยโครงสร้างปัจจุบันนั้นถูกสร้างขึ้นในปี 2006

ความเชื่อทางลัทธิชินโต

[แก้]

ศาลเจ้านี้อุทิศให้กับการเคารพนับถือ ฮาจิมัง หนึ่งในเทพเจ้าของชินโต โดยฮาจิมังได้รับการยอมรับว่าเป็นการผสมเรื่องราวกึ่งตำนานระหว่างจักรพรรดิโอจิง และพระราชมารดาของพระองค์ จักรพรรดินีจิงงู[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Database of National Cultural Properties". Agency for Cultural Affairs. สืบค้นเมื่อ 18 April 2011.
  2. "北海道・東北 - チャグチャグ馬コの鈴の音". Ministry of the Environment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 June 2012. สืบค้นเมื่อ 18 April 2011.
  3. Ponsbonby-Fane, Studies, pp. 78, 196.

ข้อมูลเพิ่มเติม

[แก้]