ข้ามไปเนื้อหา

ศักดา เตชะเกรียงไกร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.
ดำรงตำแหน่ง
1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 – 30 กันยายน พ.ศ. 2561
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 ตุลาคม พ.ศ. 2500 (67 ปี)
อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์
ศาสนาพุทธ
เว็บไซต์sakdaofficial.blogspot.com
รับใช้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ชั้นยศ พลตำรวจเอก

พลตำรวจเอก ศักดา เตชะเกรียงไกร อดีตที่ปรึกษาพิเศษ ตร.[1]อดีตรองจเรตำรวจแห่งชาติ อดีตผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ[2], อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 , อดีตผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดขอนแก่นและอุบลราชธานี, อดีตโฆษกกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 ฉายามือปราบอีสานตอนบน[3]

ประวัติ

[แก้]

พล.ต.อ.ศักดา เตชะเกรียงไกร เกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2500 ที่อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 18 (ตท.18) โรงเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 34 จบหลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 54 โดยมีน้องชาย คือนายศักดิ์ชัย เตชะเกรียงไกร อดีตนักการเมือง [4]

ราชการตำรวจ

[แก้]

รับราชการครั้งแรก เป็น รอง สว.สภ.อ.เมืองขอนแก่น ขยับขึ้นเป็น สวป.สภ.อ.เมืองขอนแก่น จากนั้นไปเป็นรอง ผกก.(ป.)สภ.อ.เมืองมุกดาหาร อยู่ 1 ปี แล้วไปเป็นรอง ผกก.(ป.) สภ.อ.เมืองขอนแก่น อีก 1 ปี และยังคงวนเวียนทำงานปราบปรามคนร้ายในพื้นที่ภาคอีสานตลอด โดยปี 2539 -2540 ไปเป็นรอง ผกก.(อก.) ภ.จว.อุดรธานี และในถัดมาอีกปีย้ายไปเป็นรอง ผกก.(จร.) สภ.อ.เมืองขอนแก่น จนได้ขึ้นเป็น ผกก.สภ.อ.ชุมแพ จว.ขอนแก่น ในปี 2541-2542 และเป็น ผกก.สภ.อ.เมืองขอนแก่น ตามลำดับ เป็น รอง ผบก.อก.ภ.4 ปี 2544-2547 รอง ผบก.ภ.จว.ขอนแก่น ปี 2547-2549 ผบก.อก.ภ.4 ปี 2549-2550 ผบก.อก.ภ.4 ปี 2549-2550 ผบก.ภ.จว.ขอนแก่น ปี 2550-2551 ผบก.กต.5 ปี 2551-2552 ผบก.ภ.จว.อุบลราชธานี ปี 2552-2552 รอง ผบช.ภ.4 ปี 2552-2556 จนได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รองจเรตำรวจแห่งชาติ ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 876/2559 และเป็นที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยศ พลตำรวจเอก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/309/6.PDF
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/E/137/25.PDF
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-08-06.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-04. สืบค้นเมื่อ 2014-08-06.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒๗๔, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๒๖, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๒๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๓, ๑๙ กันยายน ๒๕๒๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๙๐, ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า ศักดา เตชะเกรียงไกร ถัดไป
พลตำรวจโท อารีย์ อ่อนชิต
ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 – 2559)
พลตำรวจโท ปิยะ อุทาโย