ข้ามไปเนื้อหา

ศรุต วิจิตรานนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศรุต วิจิตรานนท์
ชื่อเกิดศรุต วิจิตรานนท์
เกิด28 ตุลาคม พ.ศ. 2514 (53 ปี)
ประเทศไทย
คู่สมรสชณัญพัชร์ วิจิตรานนท์
(2562 – ปัจจุบัน)
บุตร1 คน
อาชีพ
  • นักแสดง
  • พิธีกร
  • นักดนตรี
ปีที่แสดงพ.ศ. 2534–ปัจจุบัน
ผลงานเด่นยศพงษ์พญาโศก (2558) พรลิขิตริษยา (2559)
ออกพระเพทราชา (ทองคำ)บุพเพสันนิวาส (2561)
พระสุวรรณราชา (พัน)สายโลหิต (2561)
ชัชชัยโซ่เวรี (2563)
สมเด็จพระเพทราชาพรหมลิขิต (2566)
ม.ร.ว.ปวรรุจ - พรชีวัน (2567)
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
เครื่องดนตรีเบส
ช่วงปีพ.ศ. 2539−ปัจจุบัน
ค่ายเพลงเบเกอรี่มิวสิค
สมาชิกของโซลอาฟเตอร์ซิกซ์

ศรุต วิจิตรานนท์ (เกิด 28 ตุลาคม พ.ศ. 2514) ชื่อเล่น บิ๊ก เป็นนักแสดง พิธีกร นักดนตรีชาวไทย และเป็นนักดนตรีวงโซลอาฟเตอร์ซิกซ์ สังกัดเบเกอรี่มิวสิค รับหน้าที่ตำแหน่งมือเบส[1]

ประวัติ

[แก้]

ศรุตศึกษาที่ โรงเรียนปานะพันธุ์วิทยา จากนั้นศึกษาที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ได้เริ่มตั้งวงดนตรีตั้งแต่เรียนมัธยม และศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยแล้วย้ายไปเรียนที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เจอเพื่อนวงโซลอาฟเตอร์ซิกซ์ที่นี่จึงได้ก่อตั้งวงขึ้น[2] จนมีผลงานอัลบั้มแรกชุด Soul After Six ในปี พ.ศ. 2539 มีเพลงดังคือ "ก้อนหินละเมอ"[3] จากนั้นวงได้แยกย้ายกันนาน 6 ปี ก่อนจะกลับมารวมตัวกันในปี 2545 กับอัลบั้มชุด The Rhythm และมีอัลบั้มคัฟเวอร์ชุด Mellow Moods[4] ในปี 2561 ยังออกซิงเกิ้ล "ในฝัน" ซึ่งศรุตเป็นผู้ร้องเอง[5]

ศรุตก้าวสู่การแสดงโดยได้แสดงละครเรื่อง กุหลาบที่ไร้หนาม โดยเล่นเป็นพระรอง และมีผลงานแจ้งเกิดคือเรื่อง เก็บแผ่นดิน หลังจากนั้นก็มาเรื่อง เพลงผ้าฟ้าล้อมดาว แล้วก็มีเรื่อง แม้เลือกเกิดได้ จากนั้นได้แสดงเรื่อง บางระจัน รับบทเป็นนายทองแสงใหญ่[6] และมีผลงานออกมามากกว่า 35 เรื่อง แม้ละครเรื่องนั้นจะเป็นบทบาทสมทบ แต่ก็เป็นบทที่มีความโดดเด่นอยู่ไม่น้อย[7]

ในปี 2561 ได้รับบทเป็นพระเพทราชา ในละครอิงประวัติศาสตร์ บุพเพสันนิวาส ที่ต่อมาเริ่มมีคนสนใจในบทบาทนี้จนเป็นกระแส[7] และจากบทนี้ทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 33 สาขาดาราสนับสนุนชายดีเด่น แต่พ่ายให้หลุยส์ สก๊อตจากละครเรื่องเดียวกัน[8][9] และได้รับรางวัลสยามดารา สตาร์ อวอร์ด 2018 สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม[10]

ด้านชีวิตส่วนตัว มีบุตรชาย 1 คน ชื่อ ศุภวิทย์ วิจิตรานนท์[11] ต่อมาในปี 2562 สมรสกับชณัญพัชร์[12]

ผลงาน

[แก้]

ละครโทรทัศน์

[แก้]
ปี พ.ศ. เรื่อง ออกอากาศ รับบทเป็น
2540 กุหลาบที่ไร้หนาม ช่อง 7
2541 หนึ่งใจของใบจักร ช่อง 5 ปาโมกข์
2542 เจ้าสาวของอานนท์ ตระกล สุทธากุล
2544 เก็บแผ่นดิน ช่อง 7 อองดี
แม้เลือกเกิดได้ ฝ้าย
สงครามดอกรัก ระพี
2545 คาวน้ำค้าง ไอทีวี
2546 สัญญาเมื่อสายัณห์ ช่อง 7 สุบรรเจิด
เมืองดาหลา อัซซาน
โซ่เสน่หา (รับเชิญ)
2547 เพลงผ้าฟ้าล้อมดาว สินฝ้าย
2548 เชลยบาป โฆษิต
2549 หลงเงาจันทร์ นพ.อานนท์
2550 เงื่อนริษยา จรัสพงศ์
สุภาพบุรุษชาวดิน สิทธิศักดิ์
ทะเลสาบนกกาเหว่า อังกูร
2551 เคหาสน์แสงจันทร์ โกศัลย์
ห้องสมุดสุดหรรษา นัท
2552 มงกุฎแสงจันทร์ ช่อง 3 ไมยาดิน
แม่หญิง ช่อง 7 เรวัต
ล่องเรือหารัก ภัสดา
2553 สูตรรักกับดักหัวใจ ก็อต
2554 เคหาสน์สีแดง ช่อง 3 ภาคินัย
ทาสรัก คุณหลวงอรรถ
เหนือมนุษย์ ช่อง 7 ดร.อมร เหมราช
2555 เก็บหอมออมรัก พิพัฒน์
แสบสลับขั้ว ปกรณ์
2556 เรือนเสน่หา ช่อง 5 หลวงวิทยาโอสถ (คุณหลวงไว)
คุณชายรัชชานนท์ ช่อง 3 เจ้าวีระวงศ์ / หม่อมหลวงวีระวงศ์ เทวพรหม
คุณชายรณพีร์
สาปพระเพ็ง เจ้าแสงมิน
2557 คุ้มนางครวญ ช่อง 5 ครูบาสรี (อดีต) / มหาจรวย (ปัจจุบัน)
คมพยาบาท ช่อง 7 อุทัย อนุรักษ์ธานิน
พายุเทวดา มนต์
อนิลทิตา ช่อง 5 เจ้าพงศ์สุริยันต์
2558 บางระจัน ช่อง 3 นายทองแสงใหญ่
ดอกไม้ใต้เมฆ บูรพาสมิง
พญาโศก ช่อง 7 ยศพงษ์
บ้านทรายทอง
พจมาน สว่างวงศ์
เติม ธีระวณิช
2559 ระบำไฟ ช่อง 8 สิงคาร
ลิขิตริษยา ช่อง 7 พร
คงกระพันนารี ช่อง 3 แคล้ว (คำรบ)
สลักจิต ช่องวัน 31 นายแพทย์ พิทย์ ภักดีบดินทร
2560 น้ำเซาะทราย ช่อง 7 ดร.พิมุข
พริ้ง คนเริงเมือง คุณพระจำรูญ
ลูกหลง ปราภพ ไพบูลย์พันธ์
สุดรักสุดดวงใจ นายแพทย์ไชยสิทธิ์ / หมอไชยสิทธิ์
2561 บุพเพสันนิวาส ช่อง 3 ออกพระเพทราชา (ทองคำ)
สกาวเดือน ช่อง 7 ทรงกริช
ริมฝั่งน้ำ ช่อง 3 พ.ต.ท. วีรกิจ สถิตย์หิรัญ (รับเชิญ)
สายโลหิต ช่อง 7 พระสุวรรณราชา (พัน)
พ่อตาปืนโต 2 หลานข้าใครอย่าแตะ ตะวัน
2562 ดอกคูนเสียงแคน จีเอ็มเอ็ม 25 พ.ต.อ. มังกร
พยัคฆ์ร้ายสาย(ส)ลับ ทรูโฟร์ยู ธงรบ
เขาวานให้หนูเป็นสายลับ ช่อง 3 เป็นหนึ่ง สุขเจริญ
2563 สะใภ้อิมพอร์ต ช่อง 7 วิชัย
ระบำเมฆ ช่อง 3 คิง / คีตา
รักแลกภพ ช่องวัน 31 พระยาบรรณกิจโกศล
ฉลาดเกมส์โกง อาจารย์โสภณ
โซ่เวรี ช่อง 7 ชัชชัย สิริมันตรา
เพลิงนาง อมรินทร์ทีวี ศุภฤกษ์
2564 แก่นแก้ว ช่อง 3 เอกมนัส อาจหาญไชย (เอก) / วินิจ ภักดีพิสุทธิ์
2565 ซ่อนกลิ่น สมบูรณ์
บ่วงใบบุญ ช่อง 8 เกริก
ฟ้าเพียงดิน ช่องวัน 31 บุญทอง
คือเธอ ช่อง 3 สรรเสริญ
บ่วงวิมาลา ช่อง 7 ชัชชัย สิริมันตรา
เข็มซ่อนปลาย พันกิจ อัศวธนกิจ
ลายกินรี ช่อง 3 ออกญายมราช
มัดหัวใจยัยซุปตาร์ ทัด (รับเชิญ)
2566 ที่สุดของหัวใจ ประวีร์ (รับเชิญ)
มณีพยาบาท ช่องวัน 31 พระอาจารย์บุญ (ปัจจุบัน) / สุก (อดีต)
ใต้เงาตะวัน ช่อง 3 เกรียง เชิญอิสราชัย
บุษบาลุยไฟ ไทยพีบีเอส หลวงวิจิตรเจษฎา (ทองอยู่)
บุหงาส่าหรี ช่องวัน 31 ป๋าเหวียง
สืบลับหมอระบาด ช่อง 3 นพดนัย ศรัณพิพัฒน์
ลมพัดผ่านดาว ช่อง 7 บดินทร์ (รับเชิญ)
พรหมลิขิต ช่อง 3 สมเด็จพระเพทราชา (รับเชิญ)
2567 รักท่วมทุ่ง นายพลเรืองเดช (รับเชิญ)
มือปราบมหาอุตม์ กำนันทรง (รับเชิญ)
เว้าวอนรัก การเวก (รับเชิญ)
ดวงใจเทวพรหม ตอน ลออจันทร์ หม่อมราชวงศ์ปวรรุจ จุฑาเทพ (คุณชายรุจ) (รับเชิญ)
ดวงใจเทวพรหม ตอน ดุจอัปสร
ในวันที่ฝนพร่างพราย พาทิศ (รับเชิญ)
น่าน / ฟ้า / ชลาลัย อดิษฐ์ ธนาทิป (ดิษฐ์)
ดวงใจเทวพรหม ตอน พรชีวัน หม่อมราชวงศ์ปวรรุจ จุฑาเทพ (คุณชายรุจ)

ละครชุด

[แก้]

ภาพยนตร์

[แก้]

โฆษณา

[แก้]
  • ยาสีฟันผสมสมุนไพร ออรัลเมด
  • เครื่องใช้ไฟฟ้า electrolux
  • ครีมบำรุงผิว วาสลีน เมน
  • น้ำดื่มคริสตัล
  • เนสกาแฟ
  • แชมพู เคลียร์เมน

ดนตรี

[แก้]

ผลงานทั้งหมดร่วมกับวงโซลอาฟเตอร์ซิกซ์

อัลบั้ม

[แก้]

อัลบั้มพิเศษ

[แก้]

ซิงเกิล

[แก้]
  • เวลา (ปี 2555)
  • คนละทางเดียวกัน (ปี 2556)
  • กลัว (ปี 2556)
  • ลำพัง (ปี 2559)
  • ในฝัน (2561)

หนังวีซีดี

[แก้]
  • อวิชชา

มิวสิกวิดีโอ

[แก้]

ผลงานเพลง

[แก้]

พิธีกรรายการโทรทัศน์

[แก้]
  • รายการ นาทีระทึก ช่องอมรินทร์ทีวี ทุกวันอังคาร เวลา 12.30 - 13.00 น. (เริ่มวันอังคารที่ 5 มีนาคม 2562 - ปัจจุบัน)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ส่องภาพนอกจอ บิ๊ก ศรุต ผู้รับบท พระเพทราชา กับความแด๊ดดี้ในชีวิตจริง". กะปุก. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ชนินทร์ ผ่องสวัสดิ์ (27 กันยายน 2561). ""ไม่คาดหวังก็ไม่ผิดหวัง" บิ๊ก – ศรุต วิจิตรานนท์". กูดไลฟ์อัปเดต. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ""บิ๊ก ศรุต" กับบทบาทนักดนตรีวง Soul After six". พีพีทีวี. 26 พฤษภาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. """Soul After Six" วงดนตรีดัง ที่คนรู้จักผลงานแต่อาจไม่รู้จักหน้าตา!". สนุก.คอม. 11 กรกฎาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. ""บิ๊ก ศรุต" เผยความรู้สึกหลังหวนจับไมค์ร้องเพลง "ในฝัน"". ดาราเดลี่. 8 ธันวาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "Star Retro : ล้วงลึกเส้นทางชีวิต บิ๊ก-ศรุต วิจิตรานนท์ อุปสรรคมีไว้ฝ่าฟัน". แนวหน้า. 4 มีนาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 "บิ๊ก ศรุต ออกพระเพทราชา หล่อรุ่นใหญ่ โดนใจทั้งดนตรี ทั้งการแสดงเลย". สุดสัปดาห์. 29 มีนาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "เปิดโผรายชื่อผู้เข้าชิงรางวัล "โทรทัศน์ทองคำ" ครั้งที่ 33 ปี 2561". สปริงนิวส์. 1 กุมภาพันธ์ 2562. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "ตามคาด "บุพเพสันนิวาส" คว้า 6 รางวัล "โทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 33 "". ผู้จัดการออนไลน์. 16 กุมภาพันธ์ 2562. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "สยามดารา สตาร์ อวอร์ด 2018". บีอีซีเวิลด์. 29 มิถุนายน 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-25. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "เผยโฉมชัด ๆ น้องปิ๊ก ลูกชาย บิ๊ก ศรุต ออกงานครั้งแรก แววหล่อไม่แพ้คุณพ่อเลย". กะปุก. 4 มีนาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "ชื่นมื่น "บิ๊ก ศรุต" เข้าพิธีแต่งงานแล้วกับ "อุ้ม ชณัญพัชร์" เรียบหรูอบอุ่น". สนุก.คอม. 12 มกราคม 2562. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. นคร โพธิ์ไพโรจน์. (2564, 1 พฤศจิกายน). ‘อโยธยา มหาละลวย’ : เรื่องเล่าจากตรอกของถนนหลักชื่อ ‘บุพเพสันนิวาส’. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2565.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]