ศรีนวล บุญลือ
ศรีนวล บุญลือ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ | |
ดำรงตำแหน่ง 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 | |
คะแนนเสียง | 75,891 (63.43%) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 มิถุนายน พ.ศ. 2506 อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2541–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–2561) อนาคตใหม่ (2561–2562) ภูมิใจไทย (2562–ปัจจุบัน) |
ศรีนวล บุญลือ (เกิด 22 มิถุนายน พ.ศ. 2506) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคภูมิใจไทย[1] อดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เขตอำเภอแม่วาง อดีตที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ และอดีตสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่วิน
ประวัติ
[แก้]ศรีนวลเกิดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2506 ที่อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่[2] เป็นบุตรของนายศรีมอยและนางเขียว บุญลือ[3] สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากหลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์การปกครอง) จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา จังหวัดเชียงใหม่[2]
งานการเมือง
[แก้]ศรีนวลเริ่มเข้าสู่เส้นทางการเมืองโดยเริ่มจากการเมืองท้องถิ่นด้วยการเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่วิน ระหว่าง พ.ศ. 2542–2544 เป็นที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เขตอำเภอแม่วาง[2] เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองตั้งแต่ พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย [4]
ในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ที่ประชุมใหญ่วิสามัญพรรคอนาคตใหม่มีมติเสียงข้างมาก 250 ต่อ 5 ให้ขับศรีนวลพร้อมทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคอนาคตใหม่อีก 3 คน ออกจากสมาชิกภาพพรรคอนาคตใหม่ เนื่องจากได้เคยลงคะแนนสวนทางกับมติของพรรค[ต้องการอ้างอิง] ต่อมาได้ย้ายไป พรรคภูมิใจไทย[ต้องการอ้างอิง]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ศรีนวลได้ลงรับสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 9 ในสังกัดพรรคภูมิใจไทย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ได้รับคะแนนอยู่ลำดับที่ 4 พ่ายแพ้ให้แก่นเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ พรรคพลังประชารัฐ ลำดับที่ 1[ต้องการอ้างอิง]
บทบาทในสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ศรีนวลเข้าสู่การเมืองระดับชาติโดยลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 8 ในนามพรรคอนาคตใหม่ ได้คะแนนไปเพียง 29,556 คะแนน แพ้สุรพล เกียรติไชยากร จากพรรคเพื่อไทย ซึ่งได้คะแนน 52,165 คะแนน[ต้องการอ้างอิง] ต่อมาสุรพลถูกคณะกรรมการการเลือกตั้งเพิกถอนสิทธิสมัครไว้เป็นการชั่วคราว 1 ปี ศรีนวลจึงเข้าสู่การเลือกตั้งอีกครั้ง และธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ลงพื้นที่ช่วยหาเสียงด้วยตนเอง[5] ศรีนวลได้คะแนน 75,891 คะแนน ชนะนเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ จากพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งได้เพียง 27,861 คะแนน ศรีนวลจึงเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนสูงที่สุดในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562[6][4]
ศรีนวลได้รับการกล่าวถึงทางสื่อมวลชนจากการเป็นผู้เสนอชื่อธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นนายกรัฐมนตรี[7] และการมักอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรด้วยคำเมือง[8]
การลงคะแนนสวนทางกับมติของพรรค
[แก้]ศรีนวล ในฐานะสมาชิกพรรคอนาคตใหม่ ได้แสดงบทบาททางการเมืองที่ไม่สอดคล้องกับมติพรรคอนาคตใหม่หลายครั้ง เช่น
เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง การพิจารณาร่างพระราชกำหนดโอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ.ศ. 2562 ศรีนวลลงคะแนนงดออกเสียง สวนทางกับมติพรรคที่ให้ลงคะแนนไม่เห็นด้วย โดยศรีนวลให้เหตุผลว่า การงดออกเสียงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด[9][10]
วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง การพิจารณาพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 ปรากฏว่าพบชื่อของศรีนวลเป็นผู้คะแนนเห็นด้วย[11] สวนทางกับมติพรรคที่ให้ลงคะแนนไม่เห็นด้วย
ต่อมาในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ที่ประชุมใหญ่วิสามัญพรรคอนาคตใหม่มีมติเสียงข้างมาก 250 ต่อ 5 ให้ขับศรีนวลพร้อมทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคอนาคตใหม่อีก 3 คน ออกจากสมาชิกภาพพรรคอนาคตใหม่ เนื่องจากได้เคยลงคะแนนสวนทางกับมติของพรรค[12] ต่อมาได้ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย
ศรีนวลลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 สังกัดพรรคภูมิใจไทย ในจังหวัดเชียงใหม่ เขตเลือกตั้งที่ 9 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[ต้องการอ้างอิง]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ศรีนวลได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 8 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคอนาคตใหม่ → พรรคภูมิใจไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[13]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (ครั้งที่ ๒) [จังหวัดเชียงใหม่ เขตเลือกตั้งที่ ๘ นางสาวศรีนวล บุญลือ พรรคอนาคตใหม่]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-12-22.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 2.0 2.1 2.2 ประวัตินางสาวศรีนวล บุญลือ, ระบบบริหารจัดการสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (2562)
- ↑ "บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนางสาวศรีนวล บุญลือ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-12-22. สืบค้นเมื่อ 2019-12-22.
- ↑ 4.0 4.1 “ศรีนวล บุญลือ” น้องใหม่ ร้ายบริสุทธิ์
- ↑ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ช่วยลูกพรรคหาเสียงเลือกตั้งซ่อมเขต 8
- ↑ ศรีนวล บุญลือ ส.ส.7.5หมื่นคะแนน : ข่าวทะลุคน
- ↑ คนเมืองปลื้ม ศรีนวล บุญลือ ส.ส.เชียงใหม่ อู้คำเมือง เสนอ ธนาธร เป็นนายกฯ
- ↑ อนค.เชื่อใจ “ศรีนวล” เข้าพบ “อนุทิน” ไม่เป็นงูเห่า “ดร.ปิยบุตร” โทษรัฐธรรมนูญ
- ↑ พระราชกำหนดโอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ.ศ. ๒๕๖๒ (ผลการลงมติ)
- ↑ รู้จัก ‘ศรีนวล บุญลือ’ จากนักการเมืองท้องถิ่น สู่ ส.ส.เชียงใหม่
- ↑ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. ๒๕๖๒ พ.ศ. ๒๕๖๒ (ผลการลงมติ)
- ↑ ด่วน! อนาคตใหม่ ไม่เก็บไว้ ขับ 4 ส.ส.งูเห่าพ้นพรรค หลังโหวตสวนซ้ำซาก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๓, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2506
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอแม่วาง
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดเชียงใหม่
- ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- พรรคอนาคตใหม่
- นักการเมืองพรรคภูมิใจไทย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.