ว่านหางช้าง
ว่านหางช้าง | |
---|---|
![]() | |
ว่านหางช้างที่พิตต์สเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ![]() | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophyta |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงเดี่ยว Monocots |
อันดับ: | หน่อไม้ฝรั่ง Asparagales |
วงศ์: | วงศ์ว่านแม่ยับ |
สกุล: | Iris (L.) Goldblatt & Mabb. |
สปีชีส์: | Iris domestica |
ชื่อทวินาม | |
Iris domestica (L.) Goldblatt & Mabb. | |
ชื่อพ้อง | |
|
ว่านหางช้าง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Iris domestica) เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปีในวงศ์ [2] มีลำต้นใต้ดินและรากมาก ใบเดี่ยว ออกหนาแน่นที่โคนต้น ใบส่วนบนมักมีขนาดเล็ก แผ่นใบรูปดาบ โคนเป็นกาบ ดอกออกเป็นช่อ ดอกด้านนอกสีเหลือง ขอบกลีบและด้านในสีส้ม มีประสีแดงเข้ม ผลมีสามพู เปลือกบาง แก่แล้วแตกเป็นสามซีก เมล็ดสีดำ ผิวเป็นมัน
เป็นไม้ประดับ ใช้เป็นยาขับลม ขับเสมหะ ใบใช้ต้มเป็นยาระบาย แก้ระดูพิการ ใบ ดอก ต้น และราก มีฤทธิ์แก้คุณไสย พืชที่ใกล้เคียงกับว่านหางช้างคือว่านดาบนารายณ์ โดยว่านหางช้างมีดอกและใบเล็กกว่า และว่านดาบนารายณ์ไม่มีฤทธิ์เป็นยา [3]
ชื่อพ้อง
[แก้]ชื่อพ้องของว่านหางช้าง ได้แก่ Epidendrum domesticum L., Vanilla domestica (L.) Druce, Belamcanda punctata Moench, Gemmingia chinensis (L.) Kuntze, Ixia chinensis L., Morea chinensis, and Pardanthus chinensis Ker Gawl.)
-
กลีบดอก
-
ฝักและเมล็ด
-
ฝักและเมล็ด
การกระจาย
[แก้]พืชชนิดนี้เป็นพืชถิ่นในเอเชียตะวันออกและมีการนำไปปลูกในพื้นที่กึ่งเขตร้อนและบริเวณที่มีภูมิอากาศแบบอบอุ่นทั่วโลก[2][4]
การใช้งาน
[แก้]ว่านหางช้างเป็นพืชประดับทั่วไปที่ใช้ในสวนส่วนบุคคลและสาธารณะ สวนสัตว์ และที่จัดแสดงดอกไม้[2] ดอกของมันให้น้ำหวานและเกสรแก่แมลงและนก[2] และมีการนำพืชชนิดนี้ในแพทย์แผนโบราณ[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Iris domestica (L.) Goldblatt & Mabb. is an accepted name". theplantlist.org (The Plant List). 23 March 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-25. สืบค้นเมื่อ 17 December 2014.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Iris domestica (blackberry lily)". CABI. 22 November 2019. สืบค้นเมื่อ 17 December 2021.
- ↑ ชยันต์ พิเชียรสุนทร ศุภชัย ติยวรนันท์ และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 6 เภสัชกรรม. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2555.หน้า 331 – 332
- ↑ "Iris domestica". Plants of the World Online, Kew Royal Botanic Gardens. 2017. สืบค้นเมื่อ 17 December 2021.
บรรณานุกรม
[แก้]- Pink, A. (2004). Gardening for the Million. Project Gutenberg Literary Archive Foundation.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- (ในภาษานอร์เวย์) Belamcanda chinensis
- Belamcanda chinensis at USDA PLANTS Database
- "Belamcanda chinensis". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/4a/Commons-logo.svg/30px-Commons-logo.svg.png)