ว่านรากราคะ
บทความนี้ขาดการสรุปข้อมูลที่จำเป็นในรูปแบบกล่องข้อมูล คุณสามารถช่วยเราได้ โดยการเพิ่มกล่องข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเหมาะสม ลงในบทความ |
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
ว่านรากราคะ | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Monocots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Commelinids |
อันดับ: | Zingiberales |
วงศ์: | Zingiberaceae |
สกุล: | Curcuma spp |
สปีชีส์: | C. spp |
ชื่อทวินาม | |
Curcuma spp |
ว่านรากราคะ หรือ ว่านดอกทอง อยู่ใน วงศ์ซิงจิเบอร์เรซี (Zingiberaceae) เป็นพืชตระกูลเดียวกับขิง เป็นว่านโบราณที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ พบมากทางภาคตะวันตกและภาคเหนือ แถบจังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดตาก จังหวัดลำปาง
ลักษณะ
[แก้]เป็นพืชล้มลุก ลำต้นใต้ดินเป็นเหง้ากลม แตกแง่งเป็นไหลเล็กยาว 5-10 นิ้ว รากเป็นเส้นใหญ่ ไม่แตกรากฝอย ลำต้นและใบเหมือนขมิ้น ลำต้นประกอบด้วยกาบของก้านใบหลายกาบซ้อนกัน ใบรูปใบพาย ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบติดก้านใบ พื้นใบสีเขียว เส้นกลางใบสีแดงเข้มหรือแดงเลือดหมู ส่วนที่เห็นเป็นลำต้นเหนือดินสีแดงเข้มเช่นกัน ลำต้นส่วนที่ฝังอยู่ในดินและหัวเป็นสีขาวหรือขาวอมเขียว รากเป็นสีน้ำตาล ช่อดอกเป็นกาบเรียงซ้อนสับขวางกันหลายๆ กาบ ความสูงของต้นประมาณ 1 ฟุต ถ้าเป็นตัวเมียจะเรียกอีกอย่างว่า ดินสอฤๅษี ลักษณะต้นและใบจะไม่มีสีแดงเจือปน เมื่อหักหัวออกจะมีกลิ่นคาวจัดคล้ายกับอสุจิของคน กลิ่นจะรุนแรงมาก เนื้อในหัวมีสีขาว ดอกมีสีขาว เกสรสีเหลือง นอกจากนี้ ยังมีดอกทองกระเจา ที่มีดอกเป็นรูปกรวย และมีกลิ่นคาวเช่นกัน แต่ไม่เท่าดินสอฤๅษี ดอกจะออกในช่วงฤดูร้อนต่อเนื่องจนถึงฤดูฝน คล้ายดอกกระเจียว แต่ไม่มีก้านดอกจะอยู่ติดกับพื้นดิน มีสีขาวอมเหลือง โดยแทงดอกขึ้นจากเหง้าหลักที่อยู่ใต้ดินก่อนการงอกของใบ
ความเชื่อ
[แก้]ตามตำราโบราณระบุว่ามีอำนาจทางเพศรุนแรง โดยเฉพาะผู้หญิงเกิดรุนแรงมาก ถ้าเอาหัว หรือใบ หรือต้นใส่โอ่งน้ำหรือบ่อน้ำ หากใครกินเข้าไปจะมีความรู้สึกทางเพศรุนแรงมาก โดยเฉพาะดอกเพียงได้กลิ่นผู้คนที่ได้กลิ่นทั้งหญิงและชายจะพากันมัวเมาในโลกีย์รส จึงต้องเด็ดดอกออกเสีย
นอกจากนี้ตามความเชื่อโบราณปลูกไว้ที่บ้าน ร้านค้า มีสรรพคุณทางเมตตามหานิยม ทำให้มีลูกค้าอุดหนุนอย่างไม่ขาดสาย อย่างไรก็ตาม บางตำราระบุว่าห้ามนำไปปลูกภายในบ้าน เพราะมีความเชื่อว่าอาจจะเป็นเหตุให้มีการผิดลูกเมียของสมาชิกในครอบครัวได้ (เนื่องจากคนไทยสมัยโบราณมักจะอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่) คนหนุ่มสมัยโบราณ ยังมักเสาะแสวงหาดอกของว่านดอกทองเก็บสะสมไว้หุงกับน้ำมันจันทน์ หรือบดรวมกับสีผึ้งทาปาก ใช้น้ำมันทาตัว หรือใช้สีผึ้งสีปากเมื่อถึงคราวจะต้องไปพบหญิงสาว ด้วยมีความเชื่อว่าหากสตรีใดต่อคารมด้วย พอได้กลิ่นว่านในน้ำมันหรือสีผึ้งมักใจอ่อนคล้อยตามได้ง่าย
อ้างอิง
[แก้]- โชว์ว่านรากราคะ มีพลังแรงทางเพศ ไทยรัฐ 24 ส.ค. 50 เก็บถาวร 2007-08-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- หนังสือว่านสมุนไพร ไม้มงคล (ณรงค์ศักดิ์ ค้านอธรรม)