วุฒิ ลิปตพัลลภ
วุฒิ ลิปตพัลลภ | |
---|---|
ผู้ตรวจราชการพิเศษสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 29 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560 | |
รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 กรุงเทพมหานคร |
รับใช้ | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
---|---|
ประจำการ | พ.ศ. 2526 - 2559 |
ชั้นยศ | พลตำรวจเอก |
พลตำรวจเอก วุฒิ ลิปตพัลลภ อดีตผู้ตรวจราชการพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[1] อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[2], อดีตที่ปรึกษา สบ.10 (ด้านความมั่นคงและกิจการพิเศษ)[3] เป็นน้องชายของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และเป็นพี่ชายของนายเทวัญ ลิปตพัลลภ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ชีวิตและครอบครัว
[แก้]พลตำรวจเอก วุฒิ ลิปตพัลลภ เกิดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 เป็นบุตรชายที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 5 คน ของนายวิศว์ ลิปตพัลลภ และนางจรัสพิมพ์ ลิปตพัลลภ จากรายนามต่อไปนี้ นายสังวรณ์ ลิปตพัลลภ ผู้ต้องหาคดีฉ้อโกงโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน[4]นายเสวี ลิปตพัลลภ, นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย และอดีตรัฐมนตรีว่าการหลายกระทรวง เป็นหนึ่งในแกนนำพรรครวมชาติพัฒนา[5] (ปัจจุบันคือ พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน), พล.ต.อ.วุฒิ ลิปตพัลลภ และนายเทวัญ ลิปตพัลลภ ประธานสโมสรนครราชสีมา เอฟซี สโมสรฟุตบอลนครราชสีมา
จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี รุ่นที่ 9 จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล จบการศึกษาปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีพ.ศ. 2522 และปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปีพ.ศ. 2531 จบปริญญาโท พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ปริญญาเอก Doctor of Education จาก Victoria University ประเทศออสเตรเลีย ปี 2552 และได้รับปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จากมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง[6]
การรับราชการตำรวจ
[แก้]พลตำรวจเอก วุฒิ เริ่มเข้ารับราชการปีพ.ศ. 2526 สังกัดกองกำลังพล เริ่มมีบทบาทในปีพ.ศ. 2542 ผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยว[7] เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ ผู้บังคับการทะเบียนพล กองทะเบียนพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, ผู้ช่วยผู้บัญชาการศึกษา กองบัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, รองผู้บัญชาการสอบสวนกลาง, รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1, ผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด, ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง, ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, ที่ปรึกษาสัญญาบัตร 10 (ด้านความมั่นคงและกิจการพิเศษ)[8] ก่อนที่จะได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศพลตำรวจเอก ตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555[9]
ผู้ตรวจราชการพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
[แก้]เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกคำสั่งให้ พลตำรวจเอก วุฒิ ลิปตพัลลภ พ้นจากตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และให้โอนไปเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทบริหารระดับสูง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามกรอบอัตรากำลังชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ โดยให้ขาดจากตำแหน่งหน้าที่และอัตราเงินเดือนเดิม[10] โดยได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2559[11]
ด้าน พลตำรวจเอกวุฒิ ให้สัมภาษณ์สั้นๆว่า "คำสั่งนี้ชัดเจนอยู่แล้วไม่อยากให้นำไปตีความในเชิงลบคำสั่งย้ายให้ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการก็เป็นตำแหน่งที่ดีสามารถตรวจสอบได้ทั่วประเทศ"[12]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[13]
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[14]
- พ.ศ. 2544 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 59/2559 เรื่อง ประกาศรายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบเพิ่มเติม ครั้งที่ 8 และการปรับปรุงการบริหารงานบุคคลในบางหน่วยงานของรัฐ เล่ม 133 ตอนพิเศษ 216 ง 27 กันยายน 2559
- ↑ http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9570000068690[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2019-03-09.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-06. สืบค้นเมื่อ 2019-03-09.
- ↑ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ตัวจริงรวมใจไทยชาติพัฒนา
- ↑ โปรดเกล้าฯให้พล.ต.อ.วุฒิ ลิปตพัลลภ พ้นตำรวจเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ[ลิงก์เสีย]
- ↑ พล.ต.อ.วุฒิ ลิปตพัลลภ ซี11-ผู้ตรวจราชการพิเศษ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนกนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ เล่ม 129 ตอนพิเศษ 139 ง 11 กันยายน 2555
- ↑ ราชกิจจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การเพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งข้าราชการตำรวจและพระราชทานยศตำรวจชั้นนายพล เล่ม 131 ตอนพิเศษ 226 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤศจิกายน 2557
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 59/2559 เรื่อง ประกาศรายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบเพิ่มเติม ครั้งที่ 8 และการปรับปรุงการบริหารงานบุคคลในบางหน่วยงานของรัฐ เก็บถาวร 2019-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 133 ตอนพิเศษ 216 ง 27 กันยายน 2559
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการตำรวจพ้นจากตำแหน่งและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนเล่ม 134 ตอนพิเศษ 17 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 มกราคม 2560
- ↑ 'พล.ต.อ.วุฒิ'วอนอย่าตีความเชิงลบ หลังถูกโยกเข้ากรุ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๑๙, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2021-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๑๗๓, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2500
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ตำรวจชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- บุคคลจากคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา