ข้ามไปเนื้อหา

วีนัสหลับ (จอร์โจเน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วีนัสหลับ
ศิลปินจอร์โจเน
ปีราว ค.ศ. 1510
ประเภทจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ
สถานที่หอจิตรกรรมชั้นครูแห่งเดรสเดน

วีนัสหลับ หรือ วีนัสแห่งเดรสเดน (อังกฤษ: Sleeping Venus หรือ Dresden Venus, อิตาลี: I tre filosofi) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยจอร์โจเน[1]จิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอจิตรกรรมชั้นครูแห่งเดรสเดนในประเทศเยอรมนี ภาพ “วีนัสหลับ” เขียนเสร็จราวระหว่างปี ค.ศ. 1510

ภาพ “วีนัสหลับ” เป็นภาพที่มีอิทธิพลต่องานเขียนอื่นๆ หลายชิ้น ในปัจจุบันเชื่อกันว่าทิเชียนเป็นผู้เขียนฉากหลังที่เป็นภูมิทัศน์ ที่มาเขียนหลังจากที่จอร์โจเนเสียชีวิตไปแล้ว ตามที่วาซาริตั้งข้อสังเกต[2]

ภาพ “วีนัสหลับ” เป็นงานหนึ่งในงานเขียนสุดท้ายของจอร์โจเนที่เป็นภาพสตรีเปลือย ที่ดูเหมือนร่างจะมีส่วนโค้งเว้าตามแนวเนินในฉากหลัง ดูเหมือนว่าจอร์โจเนจะเขียนรายละเอียดของแสงเงาของฉากหลังอย่างบรรจง การเลือกเขียนสตรีเปลือยเป็นแนวการเขียนที่เป็นการปฏิวัติทางศิลปะและเป็นจุดที่ผู้เชี่ยวชาญบางท่านถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของศิลปะยุคใหม่ จอร์โจเนมาเสียชีวิตเสียก่อนที่ภาพเขียนนี้จะเขียนเสร็จ ซึ่งทำให้เชื่อกันว่าทิเชียนมาเขียนภูมิทัศน์และท้องฟ้าในฉากหลัง ที่ทิเชียนนำมาเขียนต่อมาในภาพ “วีนัสแห่งเออร์บิโน

ความยั่วยวนของวีนัสในภาพนี้อยู่ที่การวางท่าและตำแหน่งของมือซ้ายที่วางระหว่างต้นขา ผ้าปูเขียนเป็นสีเงินและเป็นเงาเหมือนผ้าซาตินซึ่งเป็นสีเย็นแทนที่จะเป็นสีร้อนของผ้าลินนินที่นิยมเขียนกัน ลักษณะของผ้าดูแข็งเมื่อเทียบกับที่พบในภาพเขียนของทิเชียนหรือเดียโก เบลัซเกซ ภูมิทัศน์โค้งตามส่วนโค้งของร่างของวีนัสที่เป็นการสะท้อนให้เห็นความคิดของความเกี่ยวข้องระหว่างร่างกายของมนุษย์ว่าเป็นสิ่งธรรมชาติที่เป็นสิ่งที่มีชีวิตและเจริญเติบโตได้

“วีนัสหลับ”
จอร์โจเน
“วีนัสแห่งเออร์บิโน”
ทิเชียน
โอลิมเปีย
เอดวด มาเนท์

มีผู้อ้างว่าการวางท่าของวีนัสมีลักษณะคล้ายกับภาพพิมพ์แกะไม้ The pose of the figure has been connected with a figure in one of the ภาพพิมพ์แกะไม้ประกอบของหนังสือ “Hypnerotomachia Poliphili” (โพลิฟิลิตามความรักในฝัน) ที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 1499[3] แต่ภาพเปลือยขนาดใหญ่เช่นภาพนี้ที่เป็นหัวเรื่องหลักของภาพเป็นสิ่งที่ไม่เคยทำกันมาก่อนในภาพเขียนในตะวันตก และเป็นภาพที่มีอิทธิพลต่อการเขียนภาพประเภทนี้ต่อมาอีกหลายร้อยปียกเว้นและงานที่แจ่มแจ้งไปกว่างานของจอร์โจเนเช่นงานพิมพ์ของจิโอวานนิ บัตติสตา พาลัมบา แม้ว่าจะมีภาพเขียนสตรีเปลือยโดยจิตรกรชั้นครูอื่นๆ ก่อนหน้านั้นอีกหลายภาพแต่ก็มีเพียงสองภาพที่เขียนโดยบอตติเชลลีกำเนิดวีนัส” และ “ฤดูใบไม้ผลิ” เท่านั้นที่พอจะเป็นงานที่มีลักษณะใกล้เคียงพอกับภาพนี้ ความหยั่งคิดถึงธรรมชาติและความงามของสรีระเป็นเรื่องปกติของทัศนคติของจอร์โจเน การวางภาพนี้มีอิทธิพลต่อภาพเขียนในสมัยต่อมาเช่นในงานเขียนของฌอง โอกุสต์ โดมินิค อิงเกรส์ และ ปีเตอร์ พอล รูเบนส์ และงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับภาพนี้ของจอร์โจเนก็คือภาพ “วีนัสแห่งเออร์บิโน” ที่เขียนโดยทิเชียน และภาพ “โอลิมเปีย” ที่เขียนโดยเอดวด มาเนท์

อ้างอิง

[แก้]
  1. พิพิธภัณฑ์ศิลปะเว็บ: ชีวประวัติของจอร์โจเน[1]
  2. See, for example, Charles Hope in David Jaffé (ed), Titian, The National Gallery Company/Yale, p.13, London 2003, ISBN 1 857099036
  3. Illustrated page 5, NGA Washington เก็บถาวร 2012-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,

ดูเพิ่ม

[แก้]