ข้ามไปเนื้อหา

วิโรฒ ศรีสุโร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รศ.ดร.วิโรฒ ศรีสุโร
รศ.ดร.วิโรฒ ศรีสุโร ถ่ายโดย Chrakkrit Phuangphila
เกิด9 มกราคม พ.ศ. 2482
อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
เสียชีวิต1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 (70 ปี)
อาชีพสถาปนิก ศิลปิน อาจารย์มหาวิทยาลัย
มีชื่อเสียงจากศิลปวัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมอีสาน

รศ.ดร.วิโรฒ ศรีสุโร ได้ศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่ความรู้ทางวัฒนธรรมอีสาน จนเป็นที่ยอมรับ และได้รับรางวัลพระสิทธิธาดาทองคำ ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม[1] และรางวัลสถาปนิกดีเด่น[2] เกิดวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2482 สถานที่เกิด อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ที่อยู่บ้าน ร้านดินดำ ตำบลด่านเกวียน ถนนราชสีมา-โชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา

การศึกษา

[แก้]

การทำงาน

[แก้]

วิโรฒ ศรีสุโร เริ่มรับราชการเป็นครูตรี สังกัดวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์วิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากนั้นในปี พ.ศ. 2532 จึงโอนมาสังกัดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จนได้รับตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 กระทั่งปี พ.ศ. 2544 จึงได้ริเริ่มก่อตั้งคณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และเป็นคณบดีคนแรกของคณะ[3]

ผลงานทางด้านสถาปัตยกรรมอีสาน

[แก้]

จากการเดินทางศึกษาศิลปะพื้นบ้านในภาคอีสานตลอดเวลากว่า 30 ปี ได้เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน โดนเฉพาะผลงานด้านสถาปัตยกรรม เช่น สิม(อุโบสถ) ซึ่งได้ถูกรื้อถอนทำลายอย่างมากมาย จึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะศึกษารวบรวมและทำวิจัย จนเกิดเป็นรูปเล่มในหนังสือชื่อ "สิมอีสาน" ซึ่งได้รางวัลวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (2540) จากความมุ่งมั่นศึกษารูปลักษณ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสานจึงก่อให้เกิดงานสถาปัตยกรรมประยุกต์เพื่อรับใช้สังคมปัจจุบัน อาทิ เช่นอุโบสถ วัดศาลาลอย จังหวัดนครราชสีมา ,สถาบันวิจัยศิลปวัฒนธรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นต้น ซึ่งนับเป็นการประยุกต์รูปแบบสถาปัตยกรรมอีสานให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ในงานสถาปัตยกรรมร่วมสมัย

การสร้างสรรค์เผยแพร่ผลงานต่อสาธารณชนในประเทศและต่างประเทศ

  1. พระอุโบสถวัดศาลาลอย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา (2520)
  2. พระธาตุวัดศรีมงคล บ้านธาตุ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร (2525)
  3. อนุสาวรีย์ พระยาชัยสุนทร อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ (2527)
  4. ซุ้มประตูวัดสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา (2528)
  5. ศาลาทรงอีสาน วัดญาณสังวรา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี (2530)
  6. อาคารที่ทำการ กรรมาธิการสถาปนิกอีสาน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2531) สถาปนิกร่วม รศ.ธิติ เฮงรัศมี
  7. พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ศูนย์วัฒนธรรม จังหวัดเลย (2533)
  8. พระธาตุหลวงปู่ ชามา อจุตโต วัดใหม่อัมพวัน บ้านไร่ม่วง อำเภอเมือง จังหวัดเลย (2534)
  9. สถาบันวิจัยค้นคว้าศิลปวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม (2535)
  10. ป้ายชื่อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม (2536)
  11. หอพระ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มห่วิทยาลัยมหาสารคาม (2536)
  12. หอแจก วัดพระพุทธบาท อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี (2538) (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
  13. อาคารและสวนวัฒนธรรมอีสาน ร้านพระธรรมขันธ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี (2538) (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
  14. พิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรม วัดเจติยภูมิ (พระธาตุขามแก่น) อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น (2539) (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
  15. อาคารศตวรรษมงคล ขอนแก่นวิทยายน 100 ปี (2539) (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
  16. ซุ้มประตูทางเข้าค่าย "เปรม ติณสูลานนท์" อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น (2539)
  17. อาคารปฏิบัติธรรมและพิพิธภัณฑ์ หลวงพ่อมหาธนิต ปัญญาปสุโต (ป.๙) (2540)
  18. พระอุโบสถวัดศรีมงคล บ้านธาตุ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร (2540) สถาปนิกร่วม นายประวัติ บุญรักษา
  19. พลับพลารับเสด็จสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เวียงจันทน์ ลาว (2540) สถาปนิกร่วมนาย พงศ์พันธ์ พิศาลสารกิจ
  20. วิหารพระเจ้าใหญ่อินแปง วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (2540)(อยู่ระหว่างดำเนินการ)
  21. สำนักปฏิบัติธรรม สาขาวัดประโดก อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา (2540) (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
  22. "ธาตุมรรค๘ - โบสถ์บนหอแจก" วัดป่ากุฉิธรรมวาส อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ (2541)(อยู่ระหว่างดำเนินการ)
  23. หอศิลปวัฒนธรรมและเวทีแสดงกลางแจ้ง มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำดภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (2542) สถาปนิกร่วม รศ.ธิติ เฮงรัศมี
  24. อาคารรับพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (2545) อยู่ระหว่างดำเนินการ
  25. ป้ายชื่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
  26. อาคารสถาบันวิจัยวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง (อาคารมรรค๘) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (2547) (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
  27. อาคารเรียนคณะศิลปประยุกต์และออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี (2548)
  28. อาคารเรียนโครงการจัดตั้งคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (2548)(อยู่ระหว่างดำเนินการ)
  29. อาคารพระปทุมราชวงศา วัดหลวง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (2548) (อยู่ระหว่างดำเนินการ)

หนังสืออ้างอิง [3]

ผลงานแต่งตำราหรือหนังสือ

[แก้]
  1. เบิ่งฮูป-แต้มคำ = Photo-Poem. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา. 2546.
  2. บันทึกอีสานผ่านเลนส์. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา. 2543.
  3. เถียงนาอีสาน: กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี อุดรธานี ยโสธร กาฬสินธุ์ และสกลนคร. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2538.
  4. สิมอีสาน. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2536.
  5. การศึกษาและสำรวจ ลักษณะรูปแบบอาคารทางศาสนาในภาคอีสาน (เฉพาะจังหวัดร้อยเอ็ด). คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2535.
  6. การศึกษาและสำรวจ ลักษณะรูปแบบอาคารทางศาสนาในภาคอีสาน (เฉพาะจังหวัดกาฬสินธุ์). คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2535.
  7. สถาปัตยกรรมกลุ่มชนสายวัฒนธรรมไต-ลาว.ขอนแก่น (ประกอบวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 801 313). คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2534.
  8. ศาสนาคารในกาฬสินธุ์ / โดยวิโรฒ ศรีสุโร และธาดา สุทธิธรรม. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2534.
  9. หลักบ้านในภาคอีสาน ("บือบ้าน" ในภาคอีสาน) / โดยวิโรฒ ศรีสุโร และธาดา สุทธิธรรม. 2534.
  10. ธาตุอีสาน. เมฆาเพรส. 2531.

อ้างอิง [4]

รางวัล

[แก้]
  • สถาปนิกดีเด่น ปี 2537 จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ในวาระครบรอบ 60 ปีสมาคมสถาปนิกสยาม)[1]
  • รางวัลพระสิทธิธาดาทองคำ ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ปี 2534 [2]

Lecture ครั้งสุดท้าย

[แก้]

อาจารย์วิโรฒ ป่วยเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารเมื่อปี 2549 ไม่สามารถเดินได้ แต่เมื่อปี 2550 ทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เชิญมาอภิปรายในงาน Dinner Talk ท่านก็รับปากว่าจะมาทันที และเมื่อถึงวันงาน อาจารย์ก็เดินทางมา และนั่งบนรถเข็นมาอภิปรายในวันนั้นด้วยความเป็น "ครูอีสาน" ทั้งกายและใจ แต่หลายเดือนหลังจากนั้น อาจารย์วิโรฒก็ต้องเข้ารักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ฯ ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น จนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 อาจารย์ก็ได้จากไปอย่างสงบ[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "เว็บไซต์ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-03-12.
  2. 2.0 2.1 "เว็บไซต์สมาคมสถาปนิกสยาม หัวข้อ รายนามสถาปนิกดีเด่น ๒ ครั้งที่ผ่านมา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-14. สืบค้นเมื่อ 2011-03-12.
  3. 3.0 3.1 "รำลึก วิโรฒ ศรีสุโร. คณะศิลประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2551". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-20. สืบค้นเมื่อ 2011-03-10.
  4. "เว็บไซต์สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-06.
  5. Great Teacher & The Last Drama วิโรฒ ศรีสุโร. ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๔๕, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๘๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗๔, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕