วิเศษ ใจใหญ่
วิเศษ ใจใหญ่ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 มีนาคม พ.ศ. 2482 อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ |
เสียชีวิต | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2562 (80 ปี) อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ |
วิเศษ ใจใหญ่ (7 มีนาคม พ.ศ. 2482 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2562[1]) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 7 สมัย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[2] อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[3] อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[4]
ประวัติ
[แก้]วิเศษ ใจใหญ่ เกิดเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2482 ณ ตำบลประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นบุตรของนายสมศักดิ์ และ นางผึ้ง ใจใหญ่[5] สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร[6]
งานการเมือง
[แก้]วิเศษ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกติดต่อกันรวม 7 ครั้ง
วิเศษ ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 38 สังกัดพรรคไทยรักไทย เมื่อ พ.ศ. 2544 และได้รับเลือกตั้งในครั้งดังกล่าว
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]วิเศษ ใจใหญ่ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 8 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/D/017/208.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2538/D/074/88.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/D/070/6087.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/D/103/157.PDF
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2540. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2540
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2482
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2562
- บุคคลจากอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์
- นักการเมืองจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- นักการเมืองพรรคชาติไทย
- นักการเมืองพรรคความหวังใหม่
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- บุคคลจากโรงเรียนอำนวยศิลป์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.