วิลเฮ็ล์ม เกรอเนอร์
วิลเฮล์ม เกรอเนอร์ | |
---|---|
Wilhelm Groener | |
หัวหน้าคณะเสนาธิการใหญ่จักรวรรดิเยอรมัน | |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม 1919 – 7 กรกฎาคม 1919 | |
ก่อนหน้า | เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค |
ถัดไป | ฮันส์ ฟ็อน เซคท์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 25 มิถุนายน 1920 – 12 สิงหาคม 1923 | |
หัวหน้ารัฐบาล | ค็อนสตันทีน เฟเรินบัค โยเซ็ฟ เวียร์ท วิลเฮ็ล์ม คูโน |
ก่อนหน้า | กุสทัฟ เบาเออร์ |
ถัดไป | รูดอร์ฟ เออเซอร์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไรชส์แวร์ | |
ดำรงตำแหน่ง 20 มกราคม 1928 – 13 พฤษภาคม 1932 | |
หัวหน้ารัฐบาล | วิลเฮ็ล์ม มาคส์ แฮร์มัน มึลเลอร์ ไฮน์ริช บรือนิง |
ก่อนหน้า | อ็อทโท เก็สเลอร์ |
ถัดไป | ควร์ท ฟ็อน ชไลเชอร์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ตุลาคม 1931 – 30 พฤษภาคม 1932 | |
หัวหน้ารัฐบาล | ไฮน์ริช บรือนิง |
ก่อนหน้า | โยเซ็ฟ เวียร์ท |
ถัดไป | วิลเฮ็ล์ม ฟ็อน ไกล์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1867 ลูทวิชส์บวร์ค ราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์ค |
เสียชีวิต | 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1939 พ็อทส์ดัม-บอร์นชเต็ท มณฑลบรันเดินบวร์ค นาซีเยอรมนี | (71 ปี)
พรรคการเมือง | อิสระ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | เยอรมนี |
สังกัด | กองทัพบกจักรวรรดิเยอรมัน |
ประจำการ | 1884–1919 |
ยศ | พลโท |
ผ่านศึก | สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง |
พลโท คาร์ล เอดูอาร์ท วิลเฮ็ล์ม เกรอเนอร์ (เยอรมัน: Karl Eduard Wilhelm Groener) เป็นทหารและนักการเมืองชาวเยอรมัน เขาเป็นนายทหารฝ่ายแนวหลังที่ประสบความสำเร็จทั้งก่อนและในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
เกรอเนอร์เติบโตทางราชการในสายงานรถไฟทหาร เขาทำงานเกี่ยวกับด้านนี้ยาวนานถึง 17 ปีตั้งแต่ค.ศ. 1899[1] จนได้ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมรถไฟทหารในยศพลโท และมีส่วนสำคัญในการขยายโครงข่ายทางรถไฟและพัฒนาเส้นทางรถไฟในจักรวรรดิเยอรมัน การพัฒนาทางรถไฟทำให้เยอรมนีสามารถขนทหารนับล้านไปยังชายแดน ทำให้ได้รับเหรียญพัวร์เลอเมรีทในปีค.ศ. 1915
พลโทเกรอเนอร์เป็นมือร่างพระราชบัญญัติสร้างเสริมปิตุภูมิ ค.ศ. 1916 (Gesetz über den vaterländischen Hilfsdienst) เพื่อเกณฑ์ทหารจากจากชายวัยฉกรรจ์ จนตัวเขาตกเป็นเป้าโจมตีจากบรรดาเจ้าของโรงงานและสหภาพแรงงาน กลุ่มปฏิวัติได้ฉกฉวยคำพูดของเกรอเนอร์ที่ว่า "พวกแรงงานหยุดงานประท้วง ขณะที่ทหารแนวหน้ากำลังตาย" มาเป็นคำปลุกปั่นในหมู่แรงงาน และนั่นทำให้พลเอกเอริช ลูเดินดอร์ฟ เจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์ รู้สึกไม่พอใจมาก เมื่อได้โอกาสก็ส่งตัวเกรอเนอร์ไปเป็นผู้บัญชาการภาคสนามในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1917[1] โดยได้เป็นผบ.กองพลที่ 33 (33. Division) ต่อมาเป็นผบ.กองหนุนที่ 25 (XXV. Reserve-Korps) และตามด้วยเป็นผบ.กองทัพน้อยที่ 1 (I. Armee-Korps) ในยูเครน
เยอรมนีกำลังแพ้สงคราม ลูเดินดอร์ฟถูกจักรพรรดิบีบให้ลาออกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1918 พลโทเกรอเนอร์ก็ถูกเรียกตัวมาแทนที่ลูเดินดอร์ฟที่ตำแหน่งเจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์ ซึ่งเป็นเบอร์สองรองจากจอมพลฮินเดินบวร์ค[2] ขณะนั้นสถานการณ์ภายในประเทศเริ่มคุมไม่อยู่ การจลาจลเกิดขึ้นทั้งในหมู่ทหารและพลเรือนจนรัฐบาลเกรงว่าจะบานปลายเป็นการปฏิวัติ พลโทเกรอเนอร์เริ่มเตรียมการถอนกำลังทหารและปลดประจำการกองทัพทันที[3][4]: 51 [2] การปฏิวัติปะทุขึ้นทั่งประเทศในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 เกรอเนอร์พยายามอย่างยิ่งที่จะรักษาระบอบกษัตริย์และความสมานฉันท์ในกองทัพไว้ เขามองว่าอุปสรรคที่ขวางทางอยู่คือองค์จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 เขารู้สึกว่าจักรพรรดิควรจะปลงพระชนม์ตนเองอย่างองอาจเช่นทหารแนวหน้า[4]: 75
6 พฤศจิกายน 1918 เกรอเนอร์โกรธเมื่อทราบว่าพรรคสังคมประชาธิปไตยซึ่งครองเสียงมากสุดในไรชส์ทาค ถวายคำแนะนำให้จักรพรรดิทรงสละบัลลังก์[2] แต่สุดท้าย ในวันที่ 9 พฤศจิกายน เกรอเนอร์ทูลแนะนำจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 ทรงสละบัลลังก์ เนื่องจากกองทัพไม่เหลือความไว้วางใจพระองค์อีกแล้ว เกรอเนอร์ยังคงต้องการจะพิทักษ์ระบอบกษัตริย์ไว้ แต่เป็นภายใต้เจ้าเหนือหัวคนใหม่[3] อย่างไรก็ตาม ในวันนั้นเอง นายกรัฐมนตรีจักรวรรดิออกประกาศว่าจักรพรรดิทรงสละราชสมบัติแล้ว นอกจากนี้ นักการเมืองพรรคสังคมประชาธิปไตยก็ยังป่าวประกาศว่าจักรวรรดิเยอรมันแปรสภาพสู่สาธารณรัฐแล้ว เกรอเนอร์จึงได้แต่ยอมรับสภาพโดยดี
ในคืนวันที่ 10 พฤศจิกายน พลโทเกรอเนอร์ติดต่อกับฟรีดริช เอเบิร์ท นายกรัฐมนตรีเฉพาะกาลคนใหม่ ทั้งสองแอบทำข้อตกลงกัน นายกรัฐมนตรีเอเบิร์ทยินยอมให้เกรอเนอร์ปราบปรามพวกบอลเชวิคหัวปฏิวัติและรักษาขนบธรรมเนียมในกองทัพเยอรมัน เกรอเนอร์ให้สัญญาว่ากองทัพจะสนับสนุนรัฐบาลใหม่[5][2] ข้อตกลงนี้ทำให้เกรอเนอร์ถูกเกลียดขี้หน้าโดยทหารยศสูงจำนวนมากที่ต้องการปกป้องระบอบกษัตริย์ เกรอเนอร์เป็นผู้บัญชาการกำลังทหารในการปฏิวัติเยอรมัน ค.ศ. 1918–1919 และสามารถปราบปรามการลุกฮือของประชาชนทั่วทั้งประเทศ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Biografie Wilhelm Groener (German)". Bayerische Staatsbibliothek. สืบค้นเมื่อ 26 June 2013.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Dupuy, Trevor (1984). A genius for war: the German army and General Staff 1807-1945. United Kingdom: Hero Books Ltd.
- ↑ 3.0 3.1 "Biografie Wilhelm Groener (German)". Deutsches Historisches Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 11, 2014. สืบค้นเมื่อ 22 May 2013.
- ↑ 4.0 4.1 Haffner, Sebastian (2002). Die deutsche Revolution 1918/19 (German). Kindler. ISBN 3-463-40423-0.
- ↑ William L. Shirer, The Rise and Fall of the Third Reich: A History of Nazi Germany, New York, NY, Simon & Schuster, 2011, p. 54
ก่อนหน้า | วิลเฮ็ล์ม เกรอเนอร์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จอมพล เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค | หัวหน้าคณะเสนาธิการใหญ่ (3 กรกฎาคม 1919 – 7 กรกฎาคม 1919) |
พลตรี ฮันส์ ฟ็อน เซคท์ | ||
พลเอก เอริช ลูเดินดอร์ฟ | เจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์ (30 ตุลาคม 1918 – 15 กรกฎาคม 1919) |
ไม่มี (จักรวรรดิสิ้นสภาพ) |