ข้ามไปเนื้อหา

วิลเลียม เอ็ดเวิร์ด โบอิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิลเลียม อี. โบอิง
เกิดวิลเลียม เอ็ดเวิร์ด โบอิง
01 ตุลาคม ค.ศ. 1881(1881-10-01)
ดีทรอยต์, มิชิแกน, สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิต28 กันยายน ค.ศ. 1956(1956-09-28) (74 ปี)
Puget Sound, วอชิงตัน, สหรัฐอเมริกา
สัญชาติอเมริกัน
พลเมืองอเมริกัน
การศึกษามหาวิทยาลัยเยล
อาชีพนักอุตสาหกรรม
มีชื่อเสียงจากผู้ก่อตั้งบริษัทโบอิง
คู่สมรสBertha M. Potter Paschall Boeing (สมรส 1921)
บุตรวิลเลียม อี. โบอิง จูเนียร์
รางวัลDaniel Guggenheim Medal (พ.ศ. 2477)
ลายมือชื่อ

วิลเลียม เอ็ดเวิร์ด โบอิง (/ˈbɪŋ/) (1 ตุลาคม พ.ศ. 2424 - 28 กันยายน พ.ศ. 2499) เป็นผู้บุกเบิกการบินชาวอเมริกัน[1] เขาก่อตั้งบริษัท Pacific Airplane Company ในปี 1916 ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นโบอิงในอีกหนึ่งปีต่อมา ปัจจุบันบริษัทเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาเมื่อพิจารณาจากมูลค่าเงินดอลลาร์ และเป็นหนึ่งในผู้ผลิตด้านการบินและอวกาศรายใหญ่ที่สุดในโลก

เครื่องบินที่โบอิงออกแบบลำแรกมีชื่อว่า โบอิง โมเดล 1 ซึ่งขึ้นบินครั้งแรกในปี 1916 เดือนก่อนที่เขาจะก่อตั้งบริษัท นอกจากนี้เขายังมีส่วนร่วมในการก่อตั้งบริษัท United Aircraft and Transport Corporation ในปี 1929 ซึ่งต่อมาคือยูไนเต็ดแอร์ไลน์

ประวัติตอนต้น[แก้]

วิลเลียม โบอิง เกิดที่เมืองดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ทั้งบิดาและมารดาอพยพมาจากยุโรป มารดามีนามว่า แมรี เอ็ม. ออตมันน์ ชาวออสเตรีย ส่วนบิดามีนามว่า วิลเฮล์ม โบอิง ชาวเยอรมนี

เมื่อเขาอายุเพียง 8 ขวบ บิดาของเขาได้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ มารดาจึงพาเขาเดินทางอพยพกลับยุโรป โดยเข้ารับการศึกษาที่เมืองเวอแว ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ จากนั้นเขาเดินทางกลับมาศึกษาที่เมืองคองคอร์ด รัฐนิวแฮมป์เชอร์ สหรัฐอเมริกา และเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเยล ในคณะวิศวกรรมศาสตร์[2] แต่สุดท้ายในปี 1906 เขาได้หยุดเรียนชั่วคราวและออกมาประกอบธุรกิจค้าไม้

ต่อมาเขาย้ายไปอาศัยที่เมืองโฮเควียม รัฐวอชิงตัน และเริ่มต้นทำธุรกิจค้าไม้โดยลงทุนซื้อที่ดินที่มีป่าไม้บริเวณอ่าวเกรย์ส คาบสมุทรโอลิมปิค[3] ธุรกิจค้าไม้สร้างความมั่งคั่งให้กับเขาเป็นอย่างมากจากความเฟื่องฟูในธุรกิจก่อสร้าง นอกจากนี้ธุรกิจร่วมทุนของเขายังประสบความสำเร็จในการขนส่งไม้ทางเรือไปทางชายฝั่งตะวันออกผ่านคลองปานามา[4]

ประกอบธุรกิจ[แก้]

ในขณะที่ทำธุรกิจค้าไม้นั้น เขาทดลองออกแบบเรือและได้เดินทางไปเมืองซีแอตเทิล เพื่อเข้าร่วมงาน Alaska–Yukon–Pacific Exposition ปี 1909 ในงานนี้เขาได้เห็นมนุษย์ที่สามารถบินบนอากาศได้โดยเครื่องจักรชนิดหนึ่ง ซึ่งต่อมาเขาก็รู้จักในนามเครื่องบิน

ปี 1910 เขาได้ร่วมงานลอสแอนเจลิสแอร์โชว์ เขาถามนักบินทุกคนทั้งในและต่างประเทศว่าเขาสามารถนั่งเครื่องบินได้หรือไม่ และเขาก็ถูกปฏิเสธซ้ำแล้วซ้ำเล่า ยกเว้นหลุยส์ ปอลฮัน นักบินชาวฝรั่งเศส โบอิ้งรอพบหลุยส์ แต่สุดท้ายเขาจากไปโดยโบอิงไม่ได้นั่งเครื่องบินเลย[5] โบอิงจึงเข้าเรียนการบินที่โรงเรียนการบินของ เกลนน์ ลูเธอร์ มาร์ติน และซื้อเครื่องบินของมาร์ตินหนึ่งลำ โดยผู้ที่เดินทางมาประกอบและสอนโบอิงบินคือ เจมส์ ฟลอยด์ สมิธ โดยชิ้นส่วนถูกส่งมาทางรถไฟและประกอบเครื่องบินในโกดังริมทะเลสาบยูเนียน เมื่อกระสอบเครื่องบินเสร็จและทดสอบบิน ปรากฎว่าเครื่องบินได้รับความเสียหาย

เขาจึงแจ้งมาร์ตินให้ดำเนินการส่งอะไหล่มาเปลี่ยน แต่ก็รับแจ้งจากมาร์ตินว่าอะไหล่เครื่องบินขาดแคลน ต้องใช้เวลารอเป็นเดือน เขาจึงหารือกับเพื่อนของเขานามว่า จอร์จ คอนราด เวสเตอร์เวลต์ ซึ่งเป็นทหารเรือว่า "เราควรสร้างเครื่องบืนที่ดีกว่าและสร้างได้เร็วกว่า" ซึ่งเวสเตอร์เวลต์ก็เห็นด้วย เขาจึงได้ออกแบบและสร้างเครื่องบิน โบอิง โมเดล 1 ซึ่งมีสมรรถนะที่ดี เขาจึงตัดสินใจเข้าสู่ธุรกิจการบิน โดยใช้โรงเก็บเรือริมแม่น้ำดูวามิช ใกล้เมืองซีแอตเทิลเป็นโรงงานผลิต

ก่อตั้งบริษัทโบอิง[แก้]

ในปี 1916 โบอิงและเพื่อนของเขา จอร์จ คอนราด เวสเตอร์เวลต์ เข้าสู่ธุรกิจการบิน โดยตั้งชื่อเครื่องบินรุ่นแรกว่า B&W และก่อตั้งบริษัท Pacific Aero Products[6][7] Company โดยเครื่องบินรุ่นแรกของบริษัทคือ โบอิงโมเดล 1 (บี & ดับบลิว ซีเพลน)[8] ต่อมาเมื่อสหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี 1917 เขาจึงเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Boeing Airplane Company และได้รับคำสั่งซื้อจากกองทัพอเรือสหรัฐอเมริกา 50 ลำ และเมื่อสงครามสิ้นสุดลง โบอิงจึงเน้นธุรกิจด้านอากาศยานพาณิชย์และธุรกิจขนส่งไปรษณีย์ทางอากาศ

อ้างอิง[แก้]

  1. Schultz, John; Wilma, David (December 21, 2006). "Boeing, William Edward (1881-1956)". HistoryLink. สืบค้นเมื่อ July 10, 2017.
  2. "Biography of William E. Boeing" (PDF). Boeing. 2016. สืบค้นเมื่อ 25 April 2024.
  3. Maurer, Noel (2011). The big ditch : how America took, built, ran, and ultimately gave away the Panama Canal. Carlos Yu. Princeton: Princeton University Press. ISBN 978-1-4008-3628-4. OCLC 677982566.
  4. The Panama Canal's unexpected winners, BBC Mundo, July 4, 2016
  5. William Boeing; National Aviation Hall of Fame
  6. Brian Deagon (2014-02-07). "William Boeing Soared On Wings Of Bold Vision". Investors Business Daily: A03.
  7. Spitzer, Paul G. (2012). "Getting Technical". Pacific Northwest Quarterly. 103 (2): 84–96.
  8. Ho, Valerian (November 2016). "1916 The birth of Boeing". Business Traveller (Asia-Pacific Edition): 74.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ William Boeing