ข้ามไปเนื้อหา

วิธีใช้:วิธีใช้สำหรับนักเรียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิกิพีเดียสามารถเป็นเครื่องมืออันทรงพลังสำหรับการเรียนรู้และค้นคว้าหาข้อมูล แต่ก็เช่นเดียวกับบรรดาชิ้นงานอ้างอิงทั้งหลาย ที่ไม่ใช่ทุกสิ่งที่จะแม่นยำ ครอบคลุม หรือปราศจากอคติ วิกิพีเดียนำหลายหลักการพื้นฐานที่ใช้ในการทำงานวิจัยมาใช้ อาทิ:

  • ระมัดระวังเนื้อหาที่มีแหล่งข้อมูลเพียงแหล่งเดียว (ไม่ว่าจะในสื่อใดก็ตาม เช่น เว็บ สิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ หรือวิทยุ) หรือชิ้นงานหลาย ๆ ชิ้นที่ได้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลแหล่งเดียว
  • เมื่อบทความมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลภายนอก (ไม่ว่าจะแบบออนไลน์หรือไม่) ให้อ่านแหล่งอ้างอิงดังกล่าวและตรวจสอบว่าแหล่งอ้างอิงสนับสนุนสิ่งที่บทความนั้นกล่าวอ้างจริงหรือไม่
  • ในสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ การอ้างอิงถึงวิกิพีเดียในปริมาณมาก (รวมถึงสารานุกรมส่วนใหญ่ด้วย) ไม่เป็นที่ยอมรับในผลงานทางวิชาการ

ในฐานะนักเรียน คุณได้รับการคาดหวังว่าจะส่งชิ้นงานที่คุณลงมือทำเอง มิใช่คัดลอกเนื้อหาจากแหล่งอื่นมาใช้โดยตรง การกระทำเช่นนี้เรียกว่า "การลอกเลียนวรรณกรรม" ซึ่งเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ในวงวิชาการ และอาจเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ครูและอาจารย์สามารถตรวจพบว่ามีการลอกเลียนวรรณกรรมได้ ไม่ว่าจะพิจารณาจากตัวเนื้อหาโดยตรง หรือใช้ซอฟต์แวร์พิเศษตรวจสอบว่าเนื้อหาชิ้นงานที่ส่งมาถูกคัดลอกมาจากอินเทอร์เน็ตหรือไม่

คุณควรรวบรวมข้อมูลมาจากหลาย ๆ แหล่งเพื่อจัดทำชิ้นงานของโรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย ให้มีคุณภาพสูง คุณสามารถตามไปอ่านลิงก์ที่มีให้ส่วนแหล่งอ้างอิง หรืออ่านหนังสือที่บทความกล่าวถึงได้ ปกติจะมีการให้เลข ISBN หนังสือไว้ด้วย คุณสามารถคลิกที่เลขดังกล่าวเพื่อตรวจสอบว่าห้องสมุดในพื้นที่ใกล้เคียงของคุณมีหนังสือนี้อยู่หรือไม่ คุณควรระลึกว่าอินเทอร์เน็ตนั้นดำรงอยู่มาสั้นกว่าประวัติศาสตร์การพิมพ์หนังสือมาก เนื้อหาจำนวนมหาศาลจึงไม่มีให้อ่านในรูปแบบดิจิทัล

สำหรับนักเรียน โดยเฉพาะในชั้นอุดมศึกษา ควรถือว่าวิกิพีเดียเป็นเพียงประตูสู่การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ แหล่งอ้างอิงที่มีให้ในบทความจะช่วยเปิดโลกสู่ทรัพยากรที่มีอย่างมหาศาลในอินเทอร์เน็ต อันอยู่ใกล้แค่เพียงปลายนิ้ว


ดูเพิ่ม

[แก้]