ข้ามไปเนื้อหา

วิธีใช้:วากยสัมพันธ์ EasyTimeline

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คุณลักษณะ EasyTimeline ผลิตภาพฝังตัวจากข้อความวิกิ ภาพสามารถเป็นแผนภาพหนึ่งมิติ (แนวนอนหรือแนวตั้ง) หรือสองมิติก็ได้ ชื่อ "EasyTimeline" หมายความถึง ความเป็นไปได้ในการใช้คุณลักษณะนี้กับมาตราเวลาทั้งแนวนอนหรือแนวตั้ง โดยอาจใช้ร่วมกับอีกตัวแปรเสริมหนึ่งในทิศทางอื่น เป็นต้น

ดูเพิ่ม mw:Extension:EasyTimeline, mw:Extension:EasyTimeline/syntax, , การเปิดใช้งาน EasyTimeline ในการติดตั้งมีเดียวิกิอื่น

บทนำ

[แก้]

สามารถผลิตเส้นเวลากราฟิกได้โดยเขียนสคริปต์ระหว่างป้ายระบุพิเศษ ดังนี้

<timeline>
 ''สคริปต์''
</timeline>

จากนั้น EasyTimeline จะมีการเรียกใช้เพื่อเรนเดอร์ภาพพีเอ็นจี และสามารถเปลี่ยนให้เป็นแผนที่คลิกได้

ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ: แม้ EasyTimeline จะได้รับออกแบบมาให้ใช้ง่าย แต่เส้นเวลากราฟิกที่ซับซ้อนก็ไม่ใช่เรื่องเล็ก

เส้นเวลาง่าย ๆ อาจใช้เวลาเขียนครึ่งชั่วโมง (หรืออาจใช้น้อยกว่านั้น หากยึดตัวอย่างที่เหมาะสมเป็นฐาน) แต่เส้นเวลาขนาดใหญ่อาจใช้เวลาหลายชั่วโมงในการเขียนและปรับแต่งรายละเอียด อย่างไรก็ดี การเพิ่มหรือแก้ไขเส้นเวลา ไม่ว่าเส้นเวลานั้นจะมีความซับซ้อนเพียงใด ควรเป็นเรื่องที่ค่อนข้างตรงไปตรงมา แม้ผู้เขียนที่ไม่มีความรู้วากยสัมพันธ์ที่อธิบายในหน้านี้ระดับผู้เชี่ยวชาญก็ตามที

คุณสามารถสอบถามคำแนะนำจาก ผู้ประพันธ์ EasyTimeline ได้

คำสั่งงานที่มี

[แก้]

คำสั่งงานสคริปต์นิยามสิ่งต่อไปนี้

  • ผังโดยรวม: ImageSize, PlotArea, Colors, BackgroundColors, AlignBars
  • การตีความและนำเสนอวันที่และช่วงเวลา: DateFormat, Period, ScaleMajor, ScaleMinor, TimeAxis
  • เหตุการณ์ ช่วงเวลาและข้อความอธิบาย: PlotData, TextData
  • วิธีการเรียงลำดับ แบ่งและตั้งชื่อกลุ่มเหตุการณ์และช่วงเวลา: BarData, Legend, LineData
  • การเขียนรูปสัญลักษณ์สำหรับบางส่วนของรหัสสคริปต์ที่เกิดหลายครั้ง: Define

ต้องมีคำสั่งงานต่อไปนี้ ImageSize, PlotArea, Period และ TimeAxis, ต้องมีคำสั่งงานอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้: PlotData และ/หรือ TextData สามารถใช้คำสั่งงานอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งคู่ ได้หลายครั้ง ส่วนคำสั่งงานอื่นนั้นไม่จำเป็นต้องใช้

คำสั่งงานและลักษณะประจำของคำสั่งงานสามารถระบุโดยใช้อักษรตัวเล็ก ตัวใหญ่หรือผสมกันก็ได้ กรุณาพยายามให้มีความต่อเนื่องในการใช้อักษรตัวเล็กหรือตัวใหญ่เพื่อให้อ่านง่าย เช่น ใช้ตัวเล็กใหญ่ผสมกันสำหรับคำสั่งงานทั้งหมด และใช้ตัวเล็กสำหรับลักษณะประจำทั้งหมด

กฎวากยสัมพันธ์ทั่วไป

[แก้]

สคริปต์หนึ่งสามารถมีได้ทั้งคำสั่งงานและความเห็น คำสั่งงานหนึ่งจะมีลักษณะประจำตั้งแต่หนึ่งลักษณะประจำขึ้นไป

คำสั่งงาน

[แก้]

คำสั่งงานควรเริ่ม ณ ตำแหน่งแรกของบรรทัด บางคำสั่งงานสามารถมีข้อมูลและ/หรือตัวเลือกตามมาได้หลายบรรทัด บรรทัดเพิ่มเติมเหล่านี้ควรเริ่มต้นด้วยช่องว่างหนึ่งช่อง หรือให้ว่างทั้งหมด (ซึ่งการทำว่างทั้งบรรทัดนี้มีประโยชน์สำหรับการจัดกลุ่มบรรทัดข้อมูลที่สัมพันธ์กัน)

คำสั่งงานมีรูปต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง ขึ้นอยู่กับชนิดของคำสั่งงาน

Command = attribute(s)
DateFormat = dd/mm/yyyy
Command name = attribute(s)
Color Jp = value:red legend:Japan
Command =
  attribute(s)
  attribute(s)
  etc.
PlotData =
  fontsize:XS width:20
  bar:Japan from:start till:19/02/1945 color:JT
  bar:Japan from:19/02/1945 till:14/03/1945 color:AI

ความเห็น

[แก้]

สามารถระบุความเห็นทั้งบรรทัดเดียวหรือหลาลยบรรทัดก็ได้

  • ข้อความตามหลังสัญลักษณ์แฮช # จะถูกถือว่าเป็นความเห็น
  • ข้อความระหว่าง #> และ <# จะถูกถือว่าเป็นความเห็นเช่นกัน ความเห็นสามารถกินข้ามหลายบรรทัดได้ เมื่อทำป้ายระบุด้วยวิธีนี้

ตัวอย่าง

Dateformat = dd/mm/yyyy # European date format

Period = from:01/09/1939 till:02/09/1945 #> this chart will show
   the complete duration of World War II <#

ลักษณะประจำ

[แก้]

เมื่อสามารถระบุลักษณะประจำได้หลายลักษณะประจำสำหรับคำสั่งงานหนึ่ง ๆ จะมีการทำความเห็นประกอบเป็นคู่ 'name:value' เมื่อสามารถระบุหลายค่าสำหรับลักษณะประจำหนึ่งจะต้องมีวงเล็บปิดหัวท้าย

ตัวอย่าง

AlignBars = justify
Color SB = value:rgb(0.8,0,0.7) legend:Sea_Battles

ตัวแปรเสริมกับไอเท็มข้อมูล

[แก้]

คำสั่งงานส่วนใหญ่ยอมรับเฉพาะลักษณะประจำที่ระบุไว้ในบรรทัดเดียวกัน

บล็อกข้อมูล: คำสั่งงานบางอย่าง เช่น BarData, PlotData, TextData, Colors คาดหมาย "บล็อกข้อมูล" ที่ประกอบด้วย "บรรทัดข้อมูล" ตั้งแต่หนึ่งบรรทัดขึ้นไป บรรทัดข้อมูลควรขึ้นต้นด้วยช่องว่างอย่างน้อยหนึ่งช่อง บล็อกข้อมูลถือว่าสมบูรณ์เมื่อพบบรรทัดที่ขึ้นต้นด้วยไม่ใช่อักขระว่าง (ยกเว้นบรรทัดว่าง ซึ่งจะถูกละเลย อาจใช้บรรทัดว่างเพื่อจัดกลุ่มบรรทัดข้อมูลที่สัมพันธ์ในบล็อกข้อมูล)

ลักษณะประจำในบรรทัดข้อมูลสามารถแบ่งแนวคิดได้เป็น "ตัวแปรเสริม" และ "ไอเท็มข้อมูล" บล็อกข้อมูลสามารถบรรจุตัวแปรเสริมและไอเท็มข้อมูลผสมกันได้

ไอเท็มข้อมูล: ในบรรทัดข้อมูล ลักษณะประจำ text, from, till และ at ใช้ได้กับบรรทัดที่ปรากฏเท่านั้นเสมอ

ตัวแปรเสริม: ในบรรทัดข้อมูล ลักษณะประจำอย่าง color และ fontsize มีการส่อความต่างกันขึ้นอยู่กับบริบท หากตัวแปรเสริมเหล่านี้ปรากฏในบรรทัดที่ไม่มีไอเท็มข้อมูล จะตั้งค่าโดยปริยายใหม่สำหรับบรรทัดข้อมูลที่ตามมา หากปรากฏในบรรทัดที่ผสมกับไอเท็มข้อมูล จะใช้ได้เฉพาะกับบรรทัดนั้น และเขียนทับค่าโดยปริยายที่เคยตั้งไว้เดิม

ตัวอย่าง:

# In this example two sets of bars are drawn, in red and blue respectively,
# but in each set one bar (marking war periods) will be drawn in green.

PlotData =
  color:red fontsize:S                               # set defaults
  bar:USSR from:1919 till:1922 text:Lenin            # red bar
  bar:USSR from:1922 till:1953 text:Stalin           # red bar
  bar:USSR from:1939 till:1945 text:WWII color:green # green bar
  bar:USSR from:1953 till:1964 text:Krushchev        # red bar
   
  color:blue                                         # change default color
  bar:US from:1913 till:1921 text:Wilson             # blue bar
  bar:US from:1917 till:1918 text:WWI color:green    # green bar
  bar:US from:1921 till:1923 text:Harding            # blue bar

#> this multiline comment does not end command PlotData,
   even when the previous line does not start with a space<#

   bar:US from:1923 till:1929 text:Coolidge           # blue bar

TextData =                                           # now PlotData is considered complete
   tabs:...etc

อักขระพิเศษ

[แก้]
  • #, #>, <# (hash, hash+"greater than", "less than"+hash): ดู ความเห็น
  • ~ (tilde) ในข้อความ หมายถึง การแบ่งบรรทัด
  • ^ (caret) ในข้อความ หมายถึง แถบ
  • _ (underscore) ในข้อความ หมายถึง ช่องว่าง
  • $ (dollar sign) นำหน้าค่าคงตัวที่ผู้ใช้นิยาม

อ้างอิงคำสั่งงาน

[แก้]

ต่อไปนี้เป็นลักษณะประจำสมเหตุสมผลสำหรับคำสั่งงานแต่ละอย่าง คำสั่งงานและ/หรือลักษณะประจำบางอย่างไม่ต้องใส่ก็ได้ (O)

สำหรับบางคำสั่งงาน ลักษณะประจำบางลักษณะจะใช้ร่วมกับคำสั่งงานไม่ได้ (จะมีอธิบายถ้าเป็นไปได้)

AlignBars

[แก้]

จะวาดแท่งที่ระยะทางเท่ากันเสมอ คำสั่งงานนี้เจาะจงว่าควรจัดแท่งให้ห่างกันที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ หรือควรสงวนช่องว่างสีขาวระหว่างด้านซ้าย/บนของแผนภาพกับแถบแรก หรือระหว่างแท่งสุดท้ายและด้านขวา/ล่างของแผนภาพบ้าง

early (โดยปริยาย)
จะวางแถบแรกในตำแหน่งซ้ายสุด/บนสุดของแผนภาพ ('ติด' กับแกน) โดยปล่อยให้ช่องว่างระหว่างแท่งสุดท้ายและด้านขวา/ล่างของแผนภาพ
late
ตรงข้ามกับ early: จะวางแท่งสุดท้ายไปจนถึงด้านขวา/ล่างของแผนภาพให้มากที่สุดเท่าที่ได้ โดยเหลือช่องว่างระหว่างเส้นแกน (ด้านซ้าย/บนของแผนภาพ) และแท่งแรก
justify
แท่งแรกกับสุดท้ายจะวางให้ห่างกันมากที่สุดเท่าที่ได้ โดยไม่เหลือช่องว่างทั้งสองด้านของแผนภาพ เมื่อมีแท่งเดียวอยู่ justify จะตีความว่า "จัดกลาง"

ตัวอย่าง

  TimeAxis = orientation:horizontal TimeAxis = orientation:vertical

Alignbars =

BackgroundColors

[แก้]

คำสั่งงานนี้ทำให้สามารถระบุสีพื้นหลังสำหรับส่วนต่าง ๆ ของแผนภาพได้ id ของสีทั้งหมดควรนิยามก่อนโดยใช้ Colors

canvas (O)
ระบุสีพื้นหลังสำหรับทั้งภาพ
bars (O)
ระบุสีพื้นหลังสำหรับแท่งทั้งหมด

ตัวอย่างเช่น

BackgroundColors = bars:darkgrey

BackgroundColors = canvas:lightgrey bars:darkgrey

BackgroundColors = canvas:lightgrey

BarData

[แก้]

เป็นคำสั่งงานที่ไม่จำเป็นต้องมี ซุึ่งถ้ามีจะตัดสินว่าแท่งใดจะวาดบนแผนภาพและวาดในลำดับอย่างไร ถ้าไม่ใส่ แท่งจะวาดตามลำดับที่ปรากฏในคำสั่งงาน PlotData

แนะนำให้ใช้คำสั่งงานนี้สำหรับเส้นเวลาที่ซับซ้อน

  • ช่วยให้การเรียงลำดับข้อมูลที่แสดงผลใหม่ง่ายขึ้น
  • ชื่อแท่งที่ระบุใน PlotData สามารถตรวจสอบความสมเหตุสมผลกับรายการนี้ได้ จึงช่วยป้องกันข้อผิดพลาดการพิมพ์
bar
นิยาม bar id คำสั่งงานอื่น (ที่สำคัญได้แก่ PlotData) จะคาดหมาย id นี้เพื่ออ้างอิง นอกจากนี้ยังเป็นป้ายให้แสดงตามแกน ยกเว้นมีลักษณะประจำ text อยู่ bar id ไม่ควรมีช่องว่างใด ๆ คือ ให้ใช้อันเดอร์สกอร์แทน ซึ่งจะแปลงเป็นช่องว่างเช่นเดียวกับชื่อเรื่องบทความ
text (O)
เมื่อระบุ ลักษณะประจำนี้จะระบุข้อความให้นำเสนอตามแกน แทน bar id ดูกฎสำหรับ text input ข้อความอาจรวมลิงก์ฝังตัวหนึ่ง (ดู หมายเหตุ 1)
link (O)
ระบุลิงก์เว็บ (ดู หมายเหตุ 1) (ยูอาร์แอล) จะแสดงป้ายตามแกนเป็นลิงก์คลิกได้สีน้ำเงิน

หมายเหตุ

  1. ใช้ลักษณะประจำลิงก์ link หรือลิงก์ฝังตัวในลักษณะประจำ text อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ห้ามใช้คู่กัน

ตัวอย่างเช่น

BarData =
  bar:Japan
  bar:US       text:"United States"  # refer in PlotData to bar "US" but show "United States"
  bar:China    text:[[China]]        # label China will be shown as blue clickable link to the English Wikipedia article about China

The following lines produce the same output (only reference in PlotData changes):

bar:US            text:[[United_States]]

bar:US            text:"United States" link:http://www.wikipedia.org/wiki/United_States

bar:United_States                      link:http://www.wikipedia.org/wiki/United_States

Colors

[แก้]

คำสั่งงานนี้เปิดให้นิยามสีได้และรวมเข้าเป็น id หนึ่ง (ป้ายการระบุ) คำสั่งงานอื่นจะอ้างอิงสีด้วย id ที่เจาะจงในคำสั่งงานนี้ คำสั่งงานนี้คาดหมายนิยามสีตั้งแต่หนึ่งสีขึ้นไป โดยแต่ละสีคั่นด้วยบรรทัดเบี่ยง

id
คำสั่งงานอื่นจะใช้ id นี้ในการระบุสีของข้อความ แท่งหรือพื้นหลัง
value
บทนิยามสีแท้จริง ค่าสีอาจระบุได้ดังนี้
  • ค่าคงตัวสีที่นิยามไว้ล่วงหน้า ซึ่งรองรับชื่อสีที่นิยามไว้ล่วงหน้า 32 สี (ดู หน้าสี Ploticus ที่มีนิยามค่าคงตัวเหล่านี้ทั้งหมด)
  • rgb (red,green,blue): เจาะจง 3 จำนวนระหว่าง 0 (ต่ำสุด) ถึง 1 (สูงสุด)
  • gray (value): ระบุจำนวนระหว่าง 0 (ดำ) ถึง 1 (ขาว)
legend (O)
ระบุข้อความว่าควรแสดงผลในคำอธิบายสัญลักษณ์ (legend) สำหรับสีนี้ ถ้าลักษณะประจำนี้ว่างจะไม่มีรายการใดปรากฏในคำอธิบายสัญลักษณ์ ดูกฎที่ Text Input

ตัวอย่าง

Colors =
  id:war       value:red   legend:War Period
  id:peace     value:blue  legend:Peace Time
  id:treaty    value:rgb(0.6,0,0.6)
  id:lightgrey value:gray(0.9)
  id:darkgrey  value:gray(0.1)

DateFormat

[แก้]

คำสั่งงานนี้นิยามว่าวันที่ซึ่งระบุในคำสั่งงานอื่น ควรตีความอย่างไร

Dateformats ที่สมเหตุสมผลได้แก่

dd/mm/yyyy
วันเดือนปีจะตีความเป็นวัน/เดือน/ปี
หมายเหตุ: รูปแบบนี้รองรับเฉพาะวันที่เริ่มต้นจาก 01/01/1800
mm/dd/yyyy
วันเดือนปีจะตีความเป็นเดือน/วัน/ปี
หมายเหตุ: รูปแบบนี้รองรับเฉพาะวันที่เริ่มต้นจาก 01/01/1800
yyyy
ใช้ได้กับจำนวนเต็มตั้งแต่ -9999 ถึง +9999

ตัวอย่าง

DateFormat = mm/dd/yyyy

Define

[แก้]

คำสั่งงานนี้เปิดให้นิยามค่าคงตัวข้อความ คือ การเขียนย่อสำหรับส่วนของรหัสสคริปต์ที่ปรากฏหลายครั้ง ค่าคงตัวข้อความควรขึ้นต้นด้วย $ (สัญลักษณ์ดอลลาร์) เสมอ

ตัวอย่าง

Define $broad       = width:30
Define $narrow      = width:10
Define $bardefaults = $broad fontsize:S

ImageSize (บังคับ)

[แก้]

คำสั่งงานนี้นิยามขนาดโดยรวมของภาพสุดท้าย ให้ระบุค่าหน่วยเป็นการวัดสัมบูรณ์

width
ความกว้างของภาพสุดท้าย: สูงสุด 1600 พิกเซล ต่ำสุด 25 พิกเซล
height
ความสูงของภาพสุดท้าย: สูงสุด 1200 พิกเซล ต่ำสุด 25 พิกเซล

เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นสูงสุด คุณสามารถปล่อยให้สคริปต์คำนวณความสูงหรือความกว้างของภาพได้ โดยยึดตามจำนวนแท่งและเพิ่มปริมาณหน่วยเป็นพิกเซลตามจำนวนแท่ง ให้ระบุ height:auto (สำหรับแกนเวลาแนวนอน) หรือ width:auto (สำหรับแกนเวลาแนวตั้ง)

การระบุดังกล่าวมีประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อจำนวนแท่งในเส้นเวลามีโอกาสเปลี่ยนแปลงครั้งแล้วครั้งเล่า หรือเพื่อรับประกันระยะห่างเท่ากันระหว่างแท่งในภาพที่มีแท่งแคบจำนวนมาก ซึ่งปริมาณของช่องว่างสีขาวที่ต่างกันจะเป็นจุดสังเกตได้ (ดูตัวอย่างจริง Template:Vocal and instrumental pitch ranges) หรือเพื่อให้แน่ใจว่าเส้นเวลาที่สัมพันธ์กันต่าง ๆ ใช้ระยะห่างเดียวกันระหว่างแท่ง ไม่ว่าจะมีบรรจุกี่แท่งก็ตาม (ดูตัวอย่างจริง List of popes (graphical)) กล่าวสั้น ๆ คือ การระบุดังกล่าวเป็นความคิดที่ดีในกรณีส่วนใหญ่

barincrement
ปริมาณหน่วยเป็นพิกเซลที่ควรเพิ่มเข้าขนาดภาพเมื่อมีแท่งเพิ่มขึ้นทุก 1 แท่งตามที่ระบุ (บังคับใส่และอนุญาตเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับ width:auto หรือ height:auto)

ตัวอย่าง

ImageSize = width:800 height:600

ImageSize = width:800 height:auto barincrement:30

Legend

[แก้]

คำอธิบายสัญลักษณ์จะแสดงเฉพาะเมื่อมีคำสั่งงานนี้เท่านั้น มีวิธีนิยามลักษณะปรากฏและตำแหน่งของคำอธิบายสัญลักษณ์หลายวิธี ลักษณะประจำบางอย่างใช้ร่วมกันไม่ได้ (ดูด้านล่าง)

orientation (O)
ระบุเป็น hor[izontal] หรือ ver[tical] (ค่าโดยปริยาย)
ข้อจำกัด: การจัดะเรียง = 'horizontal' และตำแหน่ง = 'right' ใช้ร่วมกันไม่ได้
position (O)
นิยามการจัดวางคำอธิบายสัญลักษณ์เมื่อเทียบกับพื้นที่แผนภาพ ให้ระบุเป็น top, bottom (ค่าโดยปริยาย) หรือ right
ข้อจำกัด: การจัดะเรียง = 'horizontal' และตำแหน่ง = 'right' ใช้ร่วมกันไม่ได้
columns (O)
ระบุ 1, 2, 3 หรือ 4 เมื่อไม่ใส่ลักษณะประจำนี้ จำนวนสดมภ์จะมีการตัดสินดังนี้
  • orientation horizontal : สดมภ์ลักษณะประจำจะใช้ไม่ได้ที่นี่ หน่วยทั้งหมดจะอยู่ในบรรทัดเดียวกัน
  • orientation vertical :
    • position right : หน่วยทั้งหมดจะอยู่ในสดมภ์เดียวกัน
    • position top หรือ bottom : จำนวนสดมภ์ขึ้นอยู่กับจำนวนหน่วยที่ให้แสดง:
      1-5 หน่วย: 1 สดมภ์, 6-10 หน่วย: 2 สดมภ์, 11 หน่วยขึ้นไป: 3 สดมภ์

ทิป: คุณอาจพิจารณาไม่ใส่ตัวแปรเสริมต่อไปนี้ก่อน แล้วจึงเพิ่มเมื่อการตั้งค่าโดยปริยายไม่เป็นที่น่าพอใจ

columnwidth (O)
นิยามระยะห่างระหว่างสดมภ์ คุณสามารถระบุระยะทางสัมบูรณ์ หรือระยะทางสัมพัทธ์ก็ได้ (คือเป็นร้อยละของความกว้างหน้า)
ข้อจำกัด: จะละเลยตัวแปรเสริมนี้เมื่อนิยามหรือส่อความ columns = 1
left (O)
นิยามระยะทางระหว่างด้านซ้ายของคำอธิบายสัญลักษณ์และด้านซ้ายของหน้า คุณสามารถระบุระยะทางสัมบูรณ์ หรือระยะทางสัมพัทธ์ก็ได้ (คือเป็นร้อยละของความกว้างหน้า)
top (O)
นิยามระยะทางระหว่างด้านบนของคำอธิบายสัญลักษณ์และด้านล่างของหน้า คุณสามารถระบุระยะทางสัมบูรณ์ หรือระยะทางสัมพัทธ์ก็ได้ (คือเป็นร้อยละของความกว้างหน้า)

ตัวอย่าง

Legend = orientation:vertical position:bottom columns:3 columnwidth:140

Legend = orientation:horizontal position:bottom

Legend = left:100 top:120 columns:3

LineData

[แก้]

พบว่าบางเส้นเวลาขยายเกินช่วงเวลาที่แตกต่างกันแน่ชัดหลายช่วงเวลา การใช้เส้นแบ่งช่วงเวลาเหล่านี้อาจเป็นตัวช่วยการมองเห็นอย่างหนึ่ง

at
วาดเส้นตั้งฉากกับแกนเวลา (ค่าโดยปริยายมีความยาวสูงสุด ดูด้านล่างประกอบ)
ให้ระบุวันที่/ปีที่ควรวาดเส้นนี้ ให้เป็นไปตาม DateFormat ที่ระบุ
color
ระบุสีที่ควรวาดเส้น
หมายเหตุ: ควรนิยาม color id ที่ระบุก่อนด้วยคำสั่งงาน Colors
layer
ระบุด้านหน้าหรือหลัง (ค่าโดยปริยาย) กำหนดว่าเส้นควรปรากฏหน้าหรือหลังแท่งเซกเมนต์เวลาทั้งหมด
width
ระบุค่าระหว่าง 0.1 (บางมาก) ถึง 10 (หนามาก)

ลักษณะประจำต่อไปนี้มีความจำเป็นน้อยมากในการเพิ่มความยืดหยุ่นให้สูงสุด

ตัวเลือกการวางตำแหน่งขั้นสูง

คุณสามารถวาดเส้นในทิศทางใดก็ได้ มีตัวเลือกต่อไปนี้ให้ใช้

  • ตั้งฉากกับแกนเวลา โดยตั้งจุดเริ่มและสิ้นสุดได้ตามใจ: at:date frompos:position tillpos:position
  • ขนานกับแกนเวลา โดยตั้งจุดเริ่มและสิ้นสุดได้ตามใจ from:date till:date atpos:position
  • ในทิศทางใดก็ได้ โดยตั้งจุดเริ่มและสิ้นสุดได้ตามใจ: points:(x1,y1)(x2,y2)

ลักษณะประจำ at, from และ till คาดหมายวันที่หรือปี โดยเป็นไปตาม DateFormat ที่ระบุ
ลักษณะประจำ frompos, tillpos, atpos คาดหมายพิกัด (เช่น ค่าพิกเซล)

ตัวอย่าง

LineData =
  layer:front                                            # all lines in front of bars unless stated otherwise
  at:1                         color:yellow              # perpendicular to time axis full length
  at:2                         color:orange  layer:back  # perpendicular to time axis full length but behind bars
  at:4  frompos:50 tillpos:105 color:green               # perpendicular to time axis, with specified start and stop points
  from:5 till:8 atpos:50       color:red                 # parallel to time axis
  points:(100,20)(170,105)     color:blue    width:3     # from one arbitrary absolute position to another, extra thick  
สังเกตว่าในตัวอย่างข้างต้น มีการลงจุด "ตำแหน่งสัมบูรณ์" ในบริบทของ ImageSize = width:200 height:120 และ PlotArea = left:20 right:10 top:10 bottom:20

Period (บังคับ)

[แก้]

นิยามช่วงเวลาที่จะแสดงในแผนภาพ ตัวแปรเสริมทั้งสองเป็นตัวแปรเสริมบังคับ ระบุวันที่ให้สอดคล้องกับ DateFormat ที่ระบุ

from
จุดเริ่มต้นของเส้นเวลา ค่าที่ระบุสามารถอ้างอิงเป็น start ในคำสั่งงานอย่าง PlotData และ TextData
till
จุดสิ้นสุดของเส้นเวลา ค่าที่ระบุสามารถอ้างอิงเป็น end ในคำสั่งงาน

ตัวอย่าง

Period = from:01/09/1939 till:02/09/1945

PlotArea (บังคับ)

[แก้]
width
ระบุค่าเป็นการวัดสัมบูรณ์หรือสัมพัทธ์ (อย่าใช้อีก ดูด้านล่าง)
height
ระบุค่าเป็นการวัดสัมบูรณ์หรือสัมพัทธ์ (อย่าใช้อีก ดูด้านล่าง)
left
ขอบระหว่างด้านซ้ายของภาพและด้านซ้ายของพื้นที่ลงจุด ระบุค่าเป็นการวัดสัมบูรณ์หรือสัมพัทธ์
top
ขอบระหว่างด้านบนของภาพและด้านบนของพื้นที่ลงจุด ระบุค่าเป็นการวัดสัมบูรณ์หรือสัมพัทธ์
right
ขอบระหว่างด้านขวาของภาพและด้านขวาของพื้นที่ลงจุด ระบุค่าเป็นการวัดสัมบูรณ์หรือสัมพัทธ์
bottom
ขอบระหว่างด้านล่างของภาพและด้านล่างของพื้นที่ลงจุด. ระบุค่าเป็นการวัดสัมบูรณ์หรือสัมพัทธ์

ลักษณะประจำ width/height

ลักษณะประจำเหล่านี้สงวนไว้สำหรับความเข้ากันได้ทางลง ก่อนหน้านี้พื้นที่ลงจุดสามารถนิยามได้เฉพาะด้วย "ความกว้าง" และ "ความสูง" และขอบ "ซ้าย" และ "ขวา" ปัจจุบันคุณสามารถระบุขอบทั้งสี่ได้ และเป็นสิ่งที่แนะนำให้ทำด้วย อย่าใช้ลักษณะประจำ width และ height ข้อดีคือมีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น คือ เมื่อคุณเปลี่ยนแปลงขนาดภาพรวม คุณไปจำเป็นต้องปรับนิยามพื้นที่ลงจุดตามไปด้วย ซึ่งมีความสำคัญยิ่งขึ้นเมื่อขนาดภาพมีการคำนวณอัตโนมัติ ดู ImageSize)

ตัวอย่าง

# e.g. extra space to the left and below the plot area for axis labels and legend

PlotArea = left:40 bottom:60 top:10 right:10 

PlotData

[แก้]

ใช้นิยามแท่ง (เป็นสัญลักษณ์ของช่วงเวลา) และเพิ่มข้อความถัดจากแท่งเหล่านี้ในตำแหน่งจำเพาะ

สำหรับข้อความซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับช่วงเวลาหรือวันที่/ปีหนึ่ง ๆ หรือช่วงเวลาหรือเดือน/ปีนั้นต้องการการจัดรูปแบบอย่างกว้างขวาง ให้ใช้คำสั่งงาน TextData

ข้อความลักษณะประจำ at, from และ till จะใช้ได้เฉพาะกับบรรทัดที่ปรากฏเท่านั้น ลักษณะประจำอื่นทั้งหมด เมื่อไม่ได้ใช้ร่วมกับลักษณะประจำดังกล่าว จะใช้เป็นค่าโดยปริยายสำหรับบล็อกคำสั่งงานที่เหลือ หรือเมื่อระบุค่าโดยปริยายใหม่ และอาจมีการเขียนทับสำหรับบรรทัดหนึ่ง ๆ ได้ ดูสารสนเทศเพิ่มเติมและตัวอย่างที่ ตัวแปรเสริมกับไอเท็มข้อมูล

PlotData ยอมรับลักษณะประจำจำนวนมาก ซึ่งบางส่วนใช้ร่วมกันไม่ได้ ลักษณะประจำเหล่านี้สามารถจัดกลุ่มได้ดังนี้

  • ลักษณะประจำบอกตำแหน่ง
  • ลักษณะประจำที่เกี่ยวกับแท่ง
  • ลักษณะประจำข้อความ
  • ลักษณะประจำตัวทำเครื่องหมาย

ลักษณะประจำบอกตำแหน่ง

[แก้]
at
ระบุว่าข้อความควรจัดวางไว้ที่วันที่/ปีใด สามารถจัดข้อความให้เริ่มต้น สิ้นสุดหรือจัดกลาง ณ ตำแหน่งนี้ได้โดยขึ้นอยู่กับลักษณะประจำ align ใช้รูปแบบวันที่/ปีตามที่ระบุไว้ใน DateFormat หรือระบุ start หรือ end ซึ่งพาดพิงถึงกรอบเวลาที่นิยามโดยคำสั่งงาน Period
NB: ลักษณะประจำนี้ไม่สามารถใช้ร่วมกับลักษณะประจำ from หรือ till
from
ระบุว่าแท่งควรเริ่มที่วันที่/ปีใด ใช้รูปแบบวันที่/ปีตามที่ระบุใน DateFormat หรือระบุ start ซึ่งพาดพิงถึงกรอบเวลาที่นิยามด้วยคำสั่งงาน Period
NB: ลักษณะประจำนี้ควรใช้ร่วมกับลักษณะประจำ till และไม่สามารถใช้ร่วมกับลักษณะประจำ at
till
ระบุว่าแท่งควรสิ้นสุดที่วันที่/ปีใด ใช้รูปแบบวันที่/ปีตามที่ระบุใน DateFormat หรือระบุ end ซึ่งพาดพิงถึงกรอบเวลาที่นิยามด้วยคำสั่งงาน Period
NB: ลักษณะประจำนี้ควรใช้ร่วมกับลักษณะประจำ from และไม่สามารถใช้ร่วมกับลักษณะประจำ at
shift
ระบุการกระจัดแนวนอนและแนวตั้งในแง่การวัดสัมบูรณ์สำหรับข้อความ ทำให้
  • มีการเลื่อนข้อความเพื่อเลี่ยงการซ้อนทับ
  • วางข้อความอยู่ข้างแท่ง ไม่ใช่บนแท่ง

ตัวอย่าง

PlotData=
  bar:Japan from:start      till:19/02/1945 color:JT
  bar:Japan from:19/02/1945 till:14/03/1945 color:AI
  bar:Japan from:02/09/1945 till:end        color:AO

  at:07/12/1941 shift:(0,-15) text:"<-- WW2 reaches Asia"

ลักษณะประจำที่เกี่ยวกับแท่ง

[แก้]
bar
ระบุว่าลักษณะประจำอื่นทั้งหมดจะใช้กับแท่งใด
เมื่อไม่ใช้คำสั่งงาน BarData จะวาดแท่งในลำดับที่ปรากฏในบล็อกข้อมูล PlotData; id ที่ระบุตรงนี้จะเป็นข้อความที่นำเสนอตามแกนด้วย ถัดจากแท่ง
เมื่อใช้คำสั่งงาน BarData จะนำเสนอแท่งในลำดับที่ระบุไว้ตรงนี้ นอกจากนี้ bar id ที่ระบุตรงนี้จะมีการตรวจสอบความสมเหตุสมผลกับรายการนั้นด้วย เช่นเดียวกับข้อความที่นำเสนอตามแกนจะขึ้นอยู่กับการนิยามใน BarData
barset
ตั้งการแสดงผลแท่งใหม่ "จากบนสุด" ทำให้มีหลายแท่งปรากฏในบรรทัดเดียวกันได้ วากยสัมพันธ์เป็นดังนี้ barset:name
อาจเพิ่มบรรทัดว่างเพื่อข้ามบรรทัดที่คุณไม่ต้องการเพิ่มที่มีการตกแต่ง อย่างเช่น at:1234 โดยไม่มีลักษณะประจำเพิ่ม
color
ระบุสีที่ควรวาดแท่ง
ควรนิยาม color id ก่อนด้วยคำสั่งงาน Colors
width
ระบุความกว้างของแท่งในการวัดสัมบูรณ์หรือสัมพัทธ์

ตัวอย่าง

BarData=
  bar:US text:United States
  bar:SB text:Sea Battles

Colors=
  id:US value:blue legend:United_States
  id:SB value:rgb(0.8,0,0.7) legend:Sea_Battles

PlotData=
  width:0.3                                                            # see note 1
  bar:SB     from:07/08/1942 till:09/02/1943 text:Guadalcanal color:SB # see note 2
  bar:US     from:start      till:end color:US                         # see note 3
  bar:Midway from:start      till:end color:US                         # see note 4
  bar:US     at:07/12/1941   text:7/12 Pearl Harbour                   # see note 5

หมายเหตุ:

  1. บรรทัดนี้ตั้งความกว้างแท่งโดยปริยายสำหรับบล็อกข้อมูลที่เหลือ
  2. บรรทัดนี้เจาะจงให้วาดแท่ง ให้วางข้อความบนแท่งไปพร้อมกัน
  3. จะมีการวาดแท่ง US ก่อนแท่ง SB แม้เมื่อระบุไว้หลังแท่ง US ทั้งนี้ เพราะคำสั่งงาน BarData ตัดสินลำดับที่ปรากฏ
  4. จะปฏิเสธแท่ง Midway เพราะไม่มีการประกาศด้วยคำสั่งงาน BarData
  5. บรรทัดสุดท้ายจะไม่ส่งผลให้มีการลงจุดแท่ง เพียงแต่ระบุว่าข้อความควรวางไว้บนแท่งใดเท่านั้น

ลักษณะประจำข้อความ

[แก้]
text
นิยามข้อความหนึ่งว่าควรลงจุดไว้บนหรือใกล้แท่ง สามารถนิยามตำแหน่งหลักยึดได้ไม่ว่าโดยชัดเจนด้วยลักษณะประจำ "at" หรือโดยอ้อมด้วยลักษณะประจำ "from" และ "till" ก็ได้
ซึ่งในกรณีหลัง ข้อความจะวางตำแหน่งอยู่กึ่งกลางของส่วนแท่งที่นิยาม ดูกฎที่ Text Input
ข้อความอาจรวมลิงก์ฝังตัว (ดู หมายเหตุ 1 และ 2) สำหรับการใช้ในแผนที่คลิกได้
textcolor (O)
นิยามสีของข้อความ id สีที่ระบุควรนิยามก่อนด้วยคำสั่งงาน Colors เมื่อไม่ระบุจะสันนิษฐานสีดำ
fontsize (O)
ระบุขนาดเป็นหน่วยระหว่าง 6 และ 30 หรือ (ที่แนะนำมากกว่า) ใช้ป้ายระบุหนึ่งจากตัวเลือกต่อไปนี้ XS, S (ค่าโดยปริยาย), M, L หรือ XL. ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ Font Support
align (O)
ระบุเป็น center (ค่าโดยปริยาย), left หรือ right
link (O)
ระบุลิงก์เว็บ (ดู หมายเหตุ 1) (ยูอาร์แอล) สำหรับใช้ในแผนที่คลิกได้ ข้อความจะแสดงเป็นลิงก์คลิกได้สีน้ำเงิน

หมายเหตุ

  1. ใช้ลิงก์แสดงที่มา หรือลิงก์ฝังตัวในข้อความแสดงที่มาอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้คู่กันไม่ได้
  2. ในภาพพีเอ็นจี จะแสดงลิงก์คลิกได้ลิงก์เดียวต่อส่วนข้อความ (ข้อความที่มีการแบ่งบรรทัด (~) จะมีหลายส่วน)


ตัวอย่าง

PlotData=
   bar:US at:07/12/1941 align:left textcolor:black fontsize:XS text:7/12 [[Pearl Harbour]]

จะได้ผลเหมือนกับ

PlotData=
   bar:US at:07/12/1941 align:left textcolor:black fontsize:XS text:"7/12 Pearl Harbour" link:http://www.wikipedia.org/wiki/Pearl_Harbour

ลักษณะประจำตัวทำเครื่องหมาย

[แก้]
mark
วางตัวทำเครื่องหมายในแท่ง ณ ตำแหน่งที่ระบุ ระบุเป็น mark:(symbol, color) ค่าสำหรับ symbol ที่รองรับอย่างเดียวจนถึงปัจจุบันคือ line; id สี ที่ระบุควรนิยามก่อนด้วยคำสั่งงาน Colors เมื่อไม่ระบุ จะสันนิษฐานสีดำ

ตัวอย่าง

PlotData=
  bar:test width:15 color:red
  from:1900 till:2000
  at:1990 mark:(line,white)

จะแสดงเป็น

ScaleMajor

[แก้]

คำสั่งงานนี้แบ่งเส้นเวลาออกเป็นช่วงเวลาขนาดเล็ก ๆ โดยอาจ

  • แบ่งทางกราฟิก ผ่านเส้นตั้งหรือนอนบาง ๆ ในแผนภาพ
  • แบ่งทางตัวบท ผ่านโครงในแกนเวลา ใต้หรือด้านซ้ายของแผนภาพ
  • ทั้งทางกราฟิกและตัวบท

หมายเหตุ: การบอกทิศทางของบรรทัด และ/หรือ การวางโครงขึ้นอยู่กับทิศทางของ TimeAxis

gridcolor (O)
นิยามสีสำหรับเส้นกริด เมื่อไม่ใช้ลักษณะประจำนี้จะไม่วาดเส้นกริด
หมายเหตุ: ควรนิยาม id สีที่ระบุก่อนด้วยคำสั่งงาน Colors
unit (O)
ระบุหน่วยที่การเว้นช่วงกริดเพิ่มขึ้น ระบุเป็น day, month หรือ year (ค่าโดยปริยาย)
หมายเหตุ: เมื่อระบุ DateFormat เป็น yyyy จะอนุญาตเฉพาะหน่วย year เท่านั้น
increment (O)
ระบุจำนวนหน่วยที่การเว้นช่วงกริดเพิ่ม ค่าโดยปริยายเป็น 1
start (O)
ระบุว่าควรแสดงเส้นกริด และ/หรือ โครงแรกที่ใด ค่าโดยปริยายคือจุดเริ่มต้นของ Period ที่นิยาม

ตัวอย่าง

ScaleMajor = gridcolor:red start:1940

ScaleMajor = gridcolor:red unit:month increment:3 start:01/09/1939

ScaleMinor

[แก้]

คำสั่งงานนี้นิยามการแบ่งมาตราเวลาย่อยลงไป ดูวากยสัมพันธ์ที่ ScaleMajor

ตัวอย่าง

ScaleMajor = grid:red  unit:year  increment:1 start:01/01/1940
ScaleMinor = grid:blue unit:month increment:3 start:01/10/1939

TextData

[แก้]

ใช้เพื่อนิยามบล็อกข้ัอความที่สามารถจัดตำแหน่งที่ใดก็ได้ในแผนภาพ

text
ข้อความจริง ดูกฎที่ Text Input ข้อความอาจรวมลิงก์ฝังตัว (ดู หมายเหตุ 1 และ 2)
pos
นิยามมุมซ้ายบนของบล็อกข้อความในการวัดสัมบูรณ์หรือสัมพัทธ์ นิยามเป็น pos:(x,y)
link (O)
ระบุลิงก์เว็บ (ดู หมายเหตุ 1) (ยูอาร์แอล) สำหรับใช้ในแผนที่คลิกได้ ป้ายตามแกนจะแสดงเป็นลิงก์คลิกได้สีน้ำเงิน
textcolor (O)
นิยามสีของข้อความ id สีที่ระบุควรนิยามก่อนโดยใช้ Colors เมื่อไม่ระบุจะเป็นสีดำ
fontsize (O)
ระบุขนาดหน่วยเป็นจุดระหว่าง 6 ถึง 30 หรือ (แนะนำมากกว่า) ให้ใช้ป้ายะระบุหนึ่งจากตัวเลือกต่อไปนี้ XS, S (ค่าโดยปริยาย), M, L or XL (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ Font Support)
tabs (O)
นิยามตำแหน่งและการปรับแนวของอักขระแถบได้แก่ ^ (caret) ระบุการตั้งค่าแถบหลายค่าเป็นแถบ ดังนี้ (x1-a1,x2-a2,x3-a3, etc..) โดยที่
  • xn เป็นการกระจัดแนวนอนในการวัดสัมบูรณ์จากฝั่งซ้ายของข้อความ
  • an เป็นการปรับแนวของส่วนข้อความ (ระบุเป็น center, left หรือ right)
lineheight (O)
นิยามการจัดช่องว่างระหว่างบรรทัดติดกันในการวัดสัมบูรณ์ ระบุค่าสูงสุด 40 พิกเซลหรือ 0.4in เมื่อไม่ระบุ lineheight โดยปริยายจะยึดตามขนาดอักษรที่กำลังใช้อยู่

หมายเหตุ:

  1. ใช้ลักษณะประจำ link หรือลิงก์ฝังตัในลักษณะประจำ text อย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ด้วยกันไม่ได้
  2. ในภาพพีเอ็นจี จะแสดงลิงก์คลิกได้ลิงก์เดียวต่อส่วนข้อความ (ข้อความที่มีแถบ (^) มีหลายส่วน)

ตัวอย่าง

TextData =
  pos:(20,67) textcolor:black fontsize:S
  tabs:(10-right,14-left,50-left,90-left,230-left)
  text:^1^1940^27/9^Germany,Italy and Japan sign [[Tripartite Pact]]
  text:^10^1944^1-22/7^Bretton Woods 44 nations establish
  text:^^^^^IMF and World Bank

จะแสดงเป็น

Tripartite Pact

TimeAxis

[แก้]

นิยามทิศทางของแกนเวลา และการนำเสนอเค้าโครงของโครงตามแกนนั้น

format (O)
ระบุว่าวันที่ควรนำเสนอในรูปแบบใดตามแกนเวลา
ปัจจุบันรองรับเฉพาะ yyyy (ค่าโดยปริยาย)
orientation (O)
ระบุเป็น hor[izontal] (ค่าโดยปริยาย) หรือ ver[tical]
order (O)
ระบุ reverse เป็นตัวเลือกสำหรับกลับการไหลของเวลา

ตัวอย่าง

TimeAxis = orientation:horizontal format:yyyy

การตั้งล่วงหน้า

[แก้]

ปัจจุบันมีการตั้งล่วงหน้าสองแบบ ได้แก่

  • Preset = TimeVertical_OneBar_UnitYear ซึ่งขยายเป็น
PlotArea = left:45 right:10 top:10 bottom:10
TimeAxis = orientation:vertical format:yyyy
DateFormat = yyyy ;
AlignBars = early
ScaleMajor = unit:year
ScaleMinor = unit:year
PlotData =
mark:(line,white) align:left fontsize:S width:20 shift:(20,0)
  • Preset = TimeHorizontal_AutoPlaceBars_UnitYear ซึ่งขยายเป็น
ImageSize = height:auto barincrement:20
PlotArea = left:25 right:25 top:15 bottom:30
TimeAxis = orientation:horizontal format:yyyy
Colors =
id:canvas value:gray(0.7)
id:grid1 value:gray(0.4)
id:grid2 value:gray(0.2)
BackgroundColors = canvas:canvas
DateFormat = yyyy ;
AlignBars = justify
ScaleMajor = unit:year grid:grid1
ScaleMinor = unit:year
Legend = orientation:vertical left:35 top:130
PlotData =
align:left anchor:from fontsize:M width:15 shift:(4,-6) textcolor:black

กฎการป้อนเข้า

[แก้]

มาตราสำหรับขนาดและตำแหน่ง

[แก้]

อาจใช้ การวัดสัมบูรณ์ เพื่อระบุขนาด ตำแหน่งและการเปลี่ยนตำแหน่งได้ โดยวัดหน่วยเป็นพิกเซล

ตัวอย่าง

PlotArea = width:800 height:600 left:50 bottom:50

การวัดสัมพัทธ์อาจใช้ระบุขนาดและตำแหน่ง ระบุจำนวนระหว่าง 0 ถึง 100 แล้วตามด้วยเครื่องหมาย % (ร้อยละ) ทันที โดยห้ามเว้นวรรค สำหรับการวัดแนวนอน ร้อยละจะสัมพันธ์กับความกว้างของภาพ การวัดแนวตั้งสัมพันธ์กับความสูงของภาพ

พิกัดแรกเป็นการวัดแนวนอนจากซ้ายไปขวา พิกัดที่สองเป็นการวัดแนวนอนจากล่างขึ้นบน

ตัวอย่าง

PlotArea = width:80% height:80% left:10% bottom:5%

ข้อความรับเข้า

[แก้]

ข้อความรับเข้ามีกฎดังนี้

1. อนุญาตเฉพาะบางส่วนของยูนิโค้ดสำหรับการเรนเดอร์ชุดแบบอักษร แต่ยูนิโค้ดในลิงก์ควรใช้การได้สำหรับอักขระทุกตัว ดูที่ font support

2. เมื่อข้อความควรมีช่องว่าง ให้ระบุโดยใช้อันเดอร์สกอร์หรือวางข้อความระหว่างอัญประกาศคู่

ข้อยกเว้น: เมื่อลักษณะประจำเป็นลักษณะประจำสุดท้ายบนบรรทัด อนุญาตให้ทีช่องว่างได้ (จะไม่เกิดความสับสนเมื่อข้อความหยุดแล้วเริ่มลักษณะประจำถัดไป กล่าวคือ ไม่มีทวิภาคในข้อความ)

ตัวอย่าง: (ต่อไปนี้เทียบเท่ากันหมด)

BarData =
  text:Japanese_mandate_since_1914 bar:Marshalls

BarData =
  text:"Japanese mandate since 1914" bar:Marshalls

BarData =
  bar:Marshalls text:Japanese mandate since 1914

3. ในบรรทัดข้อมูลถัดจากคำสั่งงาน TextData มีอักขระหนึ่งที่มีความหมายพิเศษ

^ (caret) หมายถึง "แถบ"

ตัวอย่างที่แสดงแถบ

TextData =
  tabs:(4-right,12-right,14-left,34-left)
  text:^1^1940^27/9^Berlin Ger,It,Jap sign Tripartite Pact
  text:^10^1944^1-22/7^Bretton Woods 44 nations establish
  text:^^^^^IMF and World Bank

# will be shown as:
#
#      1    27/9 Berlin Ger,It,Jap sign Tripartite Pact
#     10  1-22/7 Bretton Woods 44 nations establish
#                                    IMF and World Bank

แผนที่คลิกได้

[แก้]

รูปแบบออกที่มีทั้งสองอย่างในมีเดียวิกิ คือ พีเอ็นจีและเอสวีจี สามารถบรรจุลิงก์คลิกได้ ข้อความที่แสดงด้วยสีน้ำเงินและแท่ง สามารถคลิกได้ เพื่อไปยังหน้าเว็บอื่น

สามารถระบุลิงก์ได้ด้วยคำสั่งงาน BarData, PlotData และ TextData, ไม่ว่าโดยใช้ลักษณะประจำ link หรือเป็นลิงก์ฝังตัว โดยทางลักษณะประจำ text

คุณสามารถลิงก์ได้ลิงก์เดียวต่อส่วนข้อความหนึ่ง

ลิงก์ฝังตัว

[แก้]

ลิงก์ฝังตัวเป็นลิงก์ที่เป็นส่วนหนึ่งของข้อความแสดงผลได้ ระบุด้วย ลักษณะประจำ text ส่วนลิงก์ชัดเจน (เฉพาะยูอาร์แอล) นิยามด้วยลักษณะประจำ link

สามารถระบุลิงก์ทั้งสองประเภทได้ด้วยคำสั่งงาน BarData, PlotData และ TextData และใช้สำหรับ แผนที่คลิกได้

ในลิงก์ฝังตัว ลีลาลิงก์ภายในเป็นปกติ ลีลาลิงก์ข้ามโครงการจะไม่ทำงาน ลีลาลิงก์ภายนอกเป็นปกติโดยใช้วงเล็บเดี่ยว แต่ที่นี่ใช้ไพป์แทนช่องว่าง

ตัวอย่าง

  text:example [[Help:Link]] internal link

จะแสดงผลเป็น

Help:Link
  text:[[Help:Link|Link]]

จะแสดงผลเป็น

Help:Link
  text:[http://en.wikipedia.org/wiki/Rembrandt|Rembrandt van Rijn] paints Night Watch

จะแสดงผลเป็น

en.wikipedia.org/..

เมื่อพยายามใช้ลีลาลิงก์ข้ามโครงการ

  text:[[Main_Page]]
พร้อมกับ nl: และ m: จะได้
Main Page
m:Main Page

ลิงก์ที่สามไปยังเมทาวิกิพีเดียทำงานได้เหมาะสม ยกเว้นจากเมทาเอง ลิงก์อื่นทำงานเหมือนกับหน้าหลัก (หน้าภายใน ไม่ใส่คำนำหน้า) หรือเช่น //th.wikipedia.org/w/Main_Page (จะได้ว่า "ไม่พบไฟล์" ) โดยขึ้นอยู่กับยูอาร์แอลของหน้าที่โยงมา (เช่น ต่างกันสำหรับหน้าดูตัวอย่างและหน้าผลต่าง)

อักขระพิเศษ:

ช่องว่างและอันเดอร์สกอร์ในยูอาร์แอลควรเขียนเป็น %20

อักขระ tilde (~) ปกติตีความเป็นการแบ่งบรรทัด เมื่อ tilde เป็นส่วนหนึ่งของยูอาร์แอล ให้เขียนว่ามี tilde 2 ตัว
ตัวอย่างลิงก์ไป www.site.com/~mysite ให้เขียนเป็น

  text:[www.site.com/~~mysite|My site]

เครื่องหมายนัมเบอร์ (#) ปกติตีความเป็นจุดเริ่มต้นความเห็น ถ้าเครื่องหมายนัมเบอร์เป็นส่วนหนึ่งของยูอาร์แอลให้แน่ใจว่าข้อความฝังตัวในอัญประกาศคู่ ดังนี้

  text:"More at [www.site.com/~~mysite#section2|My site]"

อันที่จริงการใส่ข้อความในอัญประกาศคู่เสมออาจเป็นความคิดที่ดี

การรองรับชุดอบบอักษร

[แก้]

Timeline มีการรองรับยูนิโค้ดค่อนข้างจำกัด คือใช้ชุดแบบอักษร FreeSans.ttf ซึ่งรองรับกลิฟ (glyph) บางส่วน ไม่มีชุดแบบอักษรในขณะนี้

ตัวอย่าง

ImageSize = width:180 height:90
PlotArea  = width:180 height:90 left:0 bottom:0
TimeAxis  = orientation:vertical #dummy
Colors    =
  id:gray  value:gray(0.95)
Backgroundcolors = canvas:gray
Period   = from:1 till:2 # dummy
TextData=
  pos:(10,90) fontsize:L text:"维基百科"
  pos:(10,70) fontsize:L text:"Zażółć gęślą jaźń"
  pos:(10,50) fontsize:L text:"ウィキペディア"

จะแสดงเป็น

เนื่องจากเป็นมรดกของการใช้ชุดแบบอักษรบิตแมพ จึงมีป้ายระบุชุดแบบอักษรนิยามล่วงหน้าเพียงห้าชุด จะเรนเดอร์ที่ขนาดต่างกันเล็กน้อยในภาพพีเอ็นจีและเอสวีจีเพื่อผลิตความน่าอ่านเหมาะที่สุดสำหรับแพลตฟอร์มทั้งสอง แนะนำให้ใช้ป้ายระบุเหล่านี้แทนจำนวนทุกเมื่อที่เป็นไปได้ ได้แก่ XS=เล็กมาก, S=เล็ก (ค่าโดยปริยาย), M=กลาง, L=ใหญ่, XL=ใหญ่มาก

นี่เป็นรุ่นที่แปลงเป็นวิกิของ เอกสารประกอบ EasyTimeline ดั้งเดิม