ข้ามไปเนื้อหา

วิทยาสถานปัจเจกวิทยากัมพูชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาสถานปัจเจกวิทยากัมพูชา
វិទ្យាស្ថានបច្ចេកវិទ្យាកម្ពុជា
สถาปนาค.ศ. 1964
อธิการบดีมหาวิทยาลัยดร.รอมมี อม (Romny OM)[1]
ที่ตั้ง
86 ถนนสถานทูตรัสเซีย พนมเปญ
,
เครือข่ายGMSARN, AUN/SEED-net, AUF, CUD
เว็บไซต์www.itc.edu.kh

วิทยาสถานปัจเจกวิทยากัมพูชา (เขมร: វិទ្យាស្ថានបច្ចេកវិទ្យាកម្ពុជា วิทฺยาสฺถานบจฺเจกวิทฺยากมฺพุชา, ฝรั่งเศส: INSTITUT DE TECHNOLOGIE DU CAMBODGE [2], อังกฤษ: Institute of Technology of Cambodia; ITC) เป็นสถาบันอุดมศึกษาทางด้านเทคโนโลยีซึ่งตั้งในปี ค.ศ. 1964 ซึ่งเป็นผลจากความร่วมมือกันระหว่างกัมพูชาและสหภาพโซเวียต [3] ขณะนั้น ใช้ชื่อว่า วิทยาสถานปัจเจกเทศชั้นสูงมิตรภาพเขมรโซเวียต (เขมร: វិទ្យាស្ថានបច្ចេកទេសជាន់ខ្ពស់មិត្តភាពខ្មែរសូវៀត; ฝรั่งเศส: Institut Technique Suprieur de l' Amiti Khmero- Sovietique , อังกฤษ: Higher Technical Institute of Khmer Soviet Friendship) [4] จนถึงปัจจุบันผลิตบุคคลากรไปแล้วกว่าหนึ่งหมื่นคนแล้ว [3] ซึ่งโดยมากมักจะทำงานทางด้านเศรษฐกิจ และ โครงสร้างพื้นฐานทางสังคม

ในปี ค.ศ. 1993 หลังจากสหภาพโซเวียดล่มสลายแล้ว ทางสถาบันได้มีความร่วมมือกันกับรัฐบาลฝรั่งเศสแทนในการปรับปรุงสภาพของสถานบันใหม่ ทั้ง ระบบการบริหาร ระบบการเงิน การเรียนการสอน และการพัฒนาบุคคลกร ในปัจจุบันทางสถาบันได้มีความร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ดังนี้คือ

คณะ

[แก้]

วิทยาสถานปัจเจกวิทยากัมพูชามีคณะทั้งหมด 5 คณะ ได้แก่ [4]

  • วิศวกรรมโยธา (civil engineering)
  • วิศวกรรมเพื่อการพัฒนาชนบท (rural engineering)
  • วิศวกรรมเคมี และการเกษตร (chemical and agricultural food engineering)
  • วิศวกรรมไฟฟ้าและพลังงาน (electrical and energetic engineering)
  • วิศวกรรมอุสาหการและเหมืองแร่ (industrial and mine engineering)

การวิจัย

[แก้]

ปัจจุบันทางสถาบันมีบุคคลากรในระดับปริญญาเอกประมาณ 20 คน [5] และทำการวิจัยในสาขาต่าง ๆ ดังนี้ [5]

  • น้ำและการบำบัดน้ำเสีย (Water and Wastewater treatment)
  • การแปรรูปอาหาร (Food Processing)
  • การสำรวจข้อมูลทางโภชนาการของผักและผลไม้พื้นถิ่นของกัมพูชา (Inventory of nutritional facts of indigenous fruits and vegetables in Cambodia)
  • ประเด็นทางสิ่งแวดล้อมที่รวมทั้งอากาศ การจัดการแหล่งน้ำผิวดิน (Environmental issues including air and surface water management and monitoring)
  • การจัดการแหล่งน้ำเพื่อการชลประทาน (Water resource management for irrigation)
  • ภาษาเขมรในการประยุกต์ใช้กับกระบวนการอัตโนมัติ (Khmer language automatic processing application)
  • ไบโอดีเซลจากสบู่ดำ (Biodiesel from Jatropha)
  • การพัฒนาโครงสร้างด้านไฟฟ้าในชนบท (Rural electrification)
  • การสำรวจวัสดุก่อสร้าง (Survey of construction materials)
  • ปรับปรุงผลผลิตทางการเกษตรและการปรับปรุงสภาพของเสีย (Upgrading agricultural product and waste materials)
  • เทคโนโลยีการกำจัดสารหนูออกจากน้ำดื่ม (Arsenic removal technology from drinking water)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Message from the Director[ลิงก์เสีย]
  2. http://www.itc.edu.kh/itc/fr/images/stories/pdf/Consortium%202012-2013%20officiel.pdf เก็บถาวร 2013-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน RÉUNION DU CONSORTIUM INTERNATIONAL D’APPUI
  3. 3.0 3.1 "About ITC". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-29. สืบค้นเมื่อ 2013-04-24.
  4. 4.0 4.1 Cambodia Higher Education System[ลิงก์เสีย]
  5. 5.0 5.1 "activities ITC". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-02. สืบค้นเมื่อ 2013-04-24.